https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/issue/feed วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management 2024-03-03T13:43:56+07:00 Chonnatcha Tonthong,ชลณัฐชา ตันทอง chonnatcha.tob@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>กำหนดการออกเผยแพร่</strong><strong> : </strong></p> <p>วารสารกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ และตีพิมพ์ทุก ๆ 4 เดือน/ปี </p> <p>ตีพิมพ์ฉบับละไม่น้อยกว่า 7 บทความต่อฉบับ ไม่เกิน 13 บทความต่อฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความทางด้านเกษตรศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่</p> <p> 1. สาขาพืชไร่นา</p> <p>2.สาขาพืชสวน</p> <p>3.สาขาปฐพีวิทยา</p> <p>4.สาขาโรคพืช</p> <p>5.สาขากีฎวิทยา</p> <p>6.สาขาสัตวศาสตร์</p> <p>7.สาขาเกษตรกลวิธาน</p> <p>8.สาขาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร</p> <p>9.สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p>โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> <p><strong>การตอบรับบทความ</strong></p> <p>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการต้องผ่านการประเมินจาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน</strong> <strong>แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</strong> และเมื่อผ่านการประเมินแล้ว กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่ส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร</p> <p>*กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ</p> <p>*The Editorial Board Claims a right to review and correct all articles submitted for publishing</p> <p>กองบรรณาธิการวารสาร <strong>ไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าทำเนียมการตีพิมพ์บทความในทุกขั้นตอน (Processing fees and/or Article Page) จากผู้นิพนธ์บทความ</strong></p> https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/494 บทบาทนักส่งเสริมการเกษตรในการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาด: กรณีศึกษาจังหวัดลพบุรี 2023-03-02T14:47:59+07:00 พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง agrpcp@ku.ac.th คนึงรัตน์ คำมณี agrpcp@ku.ac.th จิรัฐินาฏ ถังเงิน agrpcp@ku.ac.th ดนชิดา วาทินพุฒิพร agrpcp@ku.ac.th <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทนักส่งเสริมการเกษตรในการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาดในจังหวัดลพบุรี ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักวิชาการส่งเสริมเกษตร ในจังหวัดลพบุรี จำนวน 51 คน ในปี 2562 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ผลการวิจัยพบว่า มีนักส่งเสริมการเกษตรเพียงบางส่วนที่เคยทำงานเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาด โดยนักส่งเสริมการเกษตรปัจจุบันมีบทบาทเป็นผู้ประสานงาน และมีความคิดเห็นว่าบทบาทที่ควรปฏิบัติในการเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาด ได้แก่ การเป็นผู้ประสานงาน และสนับสนุนกลุ่มทางการตลาด ขณะที่บทบาทสำคัญที่นักส่งเสริมการเกษตรไม่แน่ใจว่าควรปฏิบัติ แต่เห็นควรให้มีการพัฒนาทักษะดังกล่าว ได้แก่ ช่วยปรับทักษะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการทำธุรกิจให้แก่เกษตรกร การพัฒนากลุ่มททางการตลาด และการสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่าภายในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นหากต้องการให้บทบาทของนักส่งเสริมการเกษตรสามารถเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับตลาดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องพัฒนาทักษะ ปรับมุมมองการทำงาน และเพิ่มการบูรณาการการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตรกับองค์กรอื่นด้านการค้า หรือการตลาด โดยกำหนดกรอบการทำงาน และบทบาทการทำงานที่ชัดเจน</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/498 การคัดพันธุ์ข้าวบาร์เลย์เป็นอาหารฟังก์ชัน 2023-02-24T10:42:27+07:00 สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย beer_sippawit@hotmail.com จารุวี อันเซตา sippawit.p@rice.mail.go.th ภัทรธีรา อินพลับ sippawit.p@rice.mail.go.th เนตรนภา อินสลุด sippawit.p@rice.mail.go.th สุรพล ใจวงศ์ษา sippawit.p@rice.mail.go.th วรรณพร คลังเพชร sippawit.p@rice.mail.go.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี ดำเนินการศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิต ตั้งแต่ฤดูปลูกปี 2563-2565 ณ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง พบว่า จากการศึกษาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ จำนวน 34 สายพันธุ์ มี BCMU36-24-SMG-14, BCMU96-9-SMG-36, FNBL8306, FNBL#140, SMGBL94027 และ SMGBL90001-1-1-1 ที่แนวโน้มให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง จึงคัดเลือกสายพันธุ์ดังกล่าว ดำเนินการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี พบว่า ข้าวบาร์เลย์แต่ละสายพันธุ์มีค่าการเจริญเติบโต องค์ประกอบของผลผลิต ผลผลิต และคุณค่าทางโภชนาการมีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยสายพันธุ์ BCMU36-24-SMG-14 และ BCMU96-9-SMG-26 มีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันได้ดีกว่าสายพันธุ์/พันธุ์อื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของผลผลิต 491 และ 492 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ปริมาณเบต้ากลูแคน 5.6 และ 5.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คาร์โบไฮเดรต 68.7 และ 69.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โปรตีน 11.6 และ 11.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ไขมัน 1.7 และ 1.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เยื่อใย 3.8 และ 4.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเถ้า 2.2 และ 2.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/438 การประเมินปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อ และเปลือกมะม่วงสุก 2023-03-13T08:48:51+07:00 ดรุณี ถาวรเจริญ fagrdnth@ku.ac.th พูนพิภพ เกษมทรัพย์ fagrdnth@ku.ac.th กัลยาณี สุวิทวัส fagrdnth@ku.ac.th ขวัญหทัย ทนงจิตร fagrdnth@ku.ac.th พิมพ์นิภา เพ็งช่าง fagrdnth@ku.ac.th เจนจิรา ชุมภูคำ fagrdnth@ku.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อ และเปลือก มะม่วงผลสุกจำนวน 9 พันธุ์ (มหาชนก น้ำดอกไม้ น้ำดอกไม้เบอร์ 4 น้ำดอกไม้สีทอง อกร่องทอง กะล่อนทอง ทองดำ หนังกลางวัน และนาทับ) พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระระหว่างพันธุ์ในเนื้อ และเปลือกมะม่วงผลสุกทั้งหมด มีความแตกต่างกันทางสถิติ (<em>P</em>&lt;0.01) โดยพบว่าปริมาณวิตามินซีในเนื้อมะม่วงพันธุ์ทองดำมีค่ามากที่สุด 105 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนในเปลือก มหาชนกมีค่ามากที่สุด 86.22 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดกะล่อนทอง มีแนวโน้มค่าค่อนข้างสูง 85.85 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนในเปลือกมหาชนกมีค่ามากที่สุด 4,644 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ปริมาณฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกะล่อนทองมีแนวโน้มค่าค่อนข้างสูง 5.66 ไมโครโมลต่อกรัมน้ำหนักสด ส่วนในเปลือกน้ำดอกไม้เบอร์ 4 มีค่ามากที่สุด 490.56 ไมโครโมลต่อกรัมน้ำหนักสด และปริมาณเบต้าแคโรทีนทองดำมีค่ามากที่สุด 17.20 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนในเปลือกน้ำดอกไม้สีทองมีค่ามากที่สุด 11.31 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด จากผลการทดลองในเปลือกมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าในเนื้อมะม่วง ดังนั้นสามารถเลือกนำพันธุ์มะม่วง ไปรับประทานสดพร้อมเปลือกตั้งแต่ผลเล็ก หรือนำไปพัฒนาในการถนอมอาหารที่กินได้ทั้งเปลือก หรือนำเปลือกไปอบแห้งเพื่อบริโภคต่อไป โดยข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้แปรรูปมะม่วง และผู้สนใจในการเลือกใช้พันธุ์มะม่วง</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/403 ผลของพีเอชต่อกิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสในสับปะรดผง ที่ผลิตจากกระบวนการทำแห้งเยือกแข็ง 2023-02-21T16:17:19+07:00 ครองศักดา ภัคธนกนก krongsakda@gmail.com วรรณรัตน์ เฉลิมแสนยากร wkasisintanon@yahoo.com รพีพรรณ กองตูม rapeepan2555@gmail.com รินรำไพ พุทธิพันธ์ totty.rp@gmail.com ศศิธร สายแก้ว suntoby19@hotmail.com ศิริชดา เปล่งพานิช sipornpoem@yahoo.com <p>สับปะรดมีเอนไซม์โปรติเอสชนิดหนึ่งผสมอยู่ชื่อเอนไซม์โบรมิเลน มีการผลิตเอนไซม์โบรมิเลนและนำไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง และยา กิจกรรมเอนไซม์และเสถียรภาพของเอนไซม์ โปรติเอสขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างรวมไปถึงค่า pH งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ pH ต่อคุณสมบัติทางกายภาพของสับปะรดผง และค่ากิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอสในผลิตภัณฑ์สับปะรดผงที่ผลิตจากกระบวนการทำแห้งเยือกแข็ง ทำการผลิตสับปะรดผงด้วยสารละลายนอร์มอลซาไลน์โซลูชัน (NSS) และสารละลายบัฟเฟอร์ วิเคราะห์เปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพของสับปะรดผงด้านปริมาณน้ำอิสระ (a<sub>w</sub>) ปริมาณความชื้น ค่ากิจกรรมและเสถียรภาพของเอนไซม์โปรติเอสในช่วงเวลา 120 วัน ผลการทดลองพบว่าสารละลายโซเดียมฟอสเฟตบัฟเฟอร์ความเข้มข้น 40 มิลลิโมลาร์ สามารถปรับค่า pH ของน้ำสับปะรดจากกรดอ่อนให้เปลี่ยนเป็นกลางและเบสอ่อนได้ดี สับปะรดผงที่ผลิตจากสารละลาย NSS มีค่า a<sub>w</sub> สูง โดยมีค่าเท่ากับ 0.57 และมีปริมาณความชื้นสูงโดยมีค่าเท่ากับร้อยละ 11 ส่วนกิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอสในสับปะรดผงที่ผลิตจาก NSS เสื่อมประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว โดยในวันที่ 120 มีค่ากิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสเหลือร้อยละ 36.65 สับปะรดผงที่ผลิตจากสารละลายบัฟเฟอร์ pH 6.5, 7.0 และ 7.5 มีค่า a<sub>w</sub> เท่ากับ 0.4, 0.3 และ 0.3 ตามลำดับ และมีปริมาณความชื้นร้อยละ 8 โดยสับปะรดผงที่ผลิตจากบัฟเฟอร์ทั้งสามชนิดมี a<sub>w</sub> และปริมาณความชื้นต่ำกว่าของสับปะรดที่ผลิตจาก NSS จึงส่งผลกระทบให้กิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอสมีเสถียรภาพที่ดีเป็นเวลานาน 120 วัน โดยมีค่ากิจกรรมเอนไซม์โปรติเอสมากกว่าร้อยละ 80 เมื่อสิ้นสุดการทดลอง</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/407 การเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นอ่อนข้าวสาลีที่ใช้ผักตบชวาแห้งเป็นวัสดุเพาะ 2023-02-06T10:24:27+07:00 ชมดาว ขำจริง chomdao2526@gmail.com <p>ผักตบชวาจัดเป็นพืชต่างถิ่นรุกรานที่เป็นปัญหาระดับประเทศ แต่เมื่อนำมาทำให้แห้งสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุเพาะต้นอ่อนได้ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ผักตบชวาแห้งต่อการผลิตต้นอ่อนข้าวสาลี วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 สิ่งทดลอง คือ 1) แกลบดำ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1:1 2) แกลบดำ : ผักตบชวาแห้ง อัตรา 1:1 3) ขุยมะพร้าว : ผักตบชวาแห้ง อัตรา 1:1 และ 4) ผักตบชวาแห้ง ผลการทดลอง พบว่า ต้นอ่อนข้าวสาลีที่เพาะด้วย แกลบดำ : ผักตบชวาแห้ง อัตรา 1:1 มีเปอร์เซ็นต์การงอก (74.00 เปอร์เซ็นต์) ดัชนีความเร็วในการงอก (14.63) จำนวนวันที่เมล็ดสามารถงอกได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (5 วัน) และน้ำหนักสด (4.28 กรัมต่อ 100 เมล็ด) ดีที่สุด ส่วนต้นอ่อนข้าวสาลีที่เพาะด้วยแกลบดำ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1:1 มีความสูง (5.54 เซนติเมตร) มากที่สุด และจำนวนวันที่เมล็ดสามารถงอกได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (5 วัน)</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/529 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอลิก และความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อเครื่องดื่มสมุนไพรย่านางแดง (Bauhinia strychinifolia Craib.) แบบสเตอริไลซ์ 2023-03-29T11:06:59+07:00 อัญชนา รอดรังนก annie_g007@hotmail.com พันทิพา ลิ้มสงวน Ard@staff.tu.ac.th <p>ย่านางแดง (<em>Bauhinia strychinifolia</em> Craib.) เป็นพืชสมุนไพรที่มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา รวมถึงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย และส่งผลดีต่อร่างกายมนุษย์ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพรย่านางแดงบรรจุขวดแบบสเตอริไลซ์ และทดสอบคุณสมบัติทางชีวภาพ สารประกอบฟีนอลิกรวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องดื่ม ได้ปรับรสชาติเครื่องดื่มสมุนไพรดังกล่าวด้วยหญ้าหวานชนิดผงแบ่งออกเป็น 3 สูตร ดังนี้คือ รสธรรมชาติ รสหวานน้อย และรสหวาน โดยทดสอบคุณสมบัติทางชีวภาพและทางเคมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องดื่ม ผลการศึกษาพบว่าเครื่องดื่มสมุนไพรย่านางแดงทั้ง 3 สูตร มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมต่อมิลลิลิตรตัวอย่างเท่ากับ 1.61, 1.52 และ 1.39 มิลลิกรัมแกลลิคต่อมิลลิลิตร และเมื่อพิจารณาต่อ 1 หน่วยบริโภค (180 มิลลิลิตร) พบว่ามีค่าเท่ากับ 289.8, 273.6 และ 250.2 มิลลิกรัมแกล ลิคต่อหน่อยบริโภค ตามลำดับ อีกทั้งยังมีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระต่อ 1 หน่วยบริโภค เท่ากับ 13,950, 16,972 และ 18,819 ไมโครโมลาร์โทร ล๊อกซ์ต่อหน่อยบริโภค จากการทดสอบการชิมใช้สเกลแบบ 7 ระดับคะแนนในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 60 คน พบว่าผู้เข้าร่วมทดสอบมีความพึงพอใจเครื่องดื่มรสธรรมชาติมากที่สุด รองลงมาคือ รสหวานน้อย และ รสหวาน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 5.68, 5.11 และ 4.81 ตามลำดับ </p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/444 อัตราและเวลาที่เหมาะสมของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 2023-02-14T10:02:37+07:00 จารุวรรณ จินดาวงศ์ jaruwan.jin@ku.th วิภาวรรณ ท้ายเมือง agrwwt@ku.ac.th <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในชุดดินกำแพงแสน ที่ ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โดยวางแผนการทดลองแบบ 4x2 Factorial in randomized complete block จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 อัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 4 อัตรา (12 , 18 , 24 และ 30 กิโลกรัมไนโตรเจน/ไร่) และปัจจัยที่ 2 เวลาใส่ปุ๋ย 2 แบบ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ทุกๆ 2 สัปดาห์ (ใส่ปุ๋ยหลังตัดต้นแม่ ก่อนพักต้น และใส่เมื่อเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต) ผลการศึกษา พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ หลังตัดต้นแม่ ให้ผลผลิตรวมสูงสุด 1,002 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งเป็นผลผลิตเกรด A 307 กิโลกรัม/ไร่ และผลผลิตเกรด B 334 กิโลกรัม/ไร่ และได้จำนวนหน่อเกรด A และ B เท่ากับ 14,045 และ 28,267 หน่อ/ไร่ ตามลำดับ ทำให้ได้จำนวนหน่อและผลผลิตเกรด A และ B สูงกว่าและแตกต่างจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และนอกจากนี้ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 30 กิโลกรัมไนโตรเจน/ไร่ หลังตัดต้นแม่ให้ผลตอบแทนรายได้สูงสุด ดังนั้น อัตราการใส่ปุ๋ยดังกล่าวจึงเหมาะสมสำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในชุดดินกำแพงแสน</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/479 ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์แตงกวาร่วมกับ captan และ metalaxyl ต่อคุณภาพเมล็ด และการควบคุมโรคเน่าคอดินในระดับห้องปฏิบัติการ 2023-02-07T14:12:16+07:00 สุกัญญา เบ้ามีศรี jakkrapong_ks@mju.ac.th กฤษฏิ์ติบัญชา อ่อนมาก jakkrapong_ks@mju.ac.th จักริน ปินตา jakkrapong_ks@mju.ac.th อรัญญา สิงโสภา jakkrapong_ks@mju.ac.th นรารัตน์ ทาวงค์ jakkrapong_ks@mju.ac.th ดาวิกา รพีบุญญานนท์ jakkrapong_ks@mju.ac.th ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว jakkrapong_ks@mju.ac.th อนุพงษ์ สุวะจันทร์ jakkrapong_ks@mju.ac.th จักรพงษ์ กางโสภา jakkrapong_ks@mju.ac.th <p>เมล็ดพันธุ์แตงกวามักประสบปัญหาความงอก ความแข็งแรงต่ำ และต้นกล้าหลังการงอกไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งต้นกล้าแตงกวาที่ได้มักถูกเข้าทำลายจากโรคเน่าคอดินได้ง่าย โดยมีสาเหตุมากจากเชื้อรา <em>Pythium</em> spp. เป็นส่วนมาก จึงแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อราเพื่อยกระดับการใช้เมล็ดพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 พบว่า การพอกเมล็ดพันธุ์ด้วย metalaxyl ความเข้มข้น 0.3, 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ และ captan 0.1 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ ทำให้ความงอกสูงแต่ไม่แตกต่างกับเมล็ดที่ไม่ได้พอกทั้งก่อนและหลังการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ ส่วนการพอกเมล็ดร่วมกับ metalaxyl 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ ทำให้มีความยาวลำต้นสูงมากกว่าและแตกต่างกันกับเมล็ดที่ไม่ได้พอก เมื่อตรวจสอบหลังการเร่งอายุ พบว่า การพอกเมล็ดร่วมกับ metalaxyl 0.3 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ มีความยาวลำต้นยาวกว่าวิธีการอื่น ๆ ดังนั้นการพอกเมล็ดด้วย metalaxyl 0.3 และ 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ จึงมีผลดีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์แตงกวามากที่สุด จึงนำทั้ง 2 สูตรไปใช้ทดสอบการป้องกันโรคในการทดลองที่ 2 ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่า การพอกเมล็ดด้วย metalaxyl ที่ระดับความเข้มข้น 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ มีการเข้าทำลายของเชื้อรา 26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้อยกว่าทุกกรรมวิธีทดลอง ดังนั้นการพอกเมล็ดด้วย metalaxyl ที่ความเข้มข้น 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ จึงเป็นชนิดและความเข้มข้นแนะนำสำหรับใช้พอกร่วมกับเมล็ดพันธุ์แตงกวาสำหรับใช้ป้องการกันการเข้าทำลายของเชื้อรา <em>Pythium </em>spp. ทั้งก่อนและหลังเมล็ดงอก</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/516 เครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับลักษณะการพักตัวของเมล็ดในถั่วซอมบี้ [Vigna vexillata (L.) A. Rich] 2023-04-07T15:18:56+07:00 พิชชามนูญ์ ใจแสน agrpks@ku.ac.th กิติยา อ่ำกุล agrpks@ku.ac.th กุหลาบ เหล่าสาธิต agrpks@ku.ac.th ประกิจ สมท่า agrpks@ku.ac.th <p>การลดลงหรือการสูญเสียการพักตัวของเมล็ดเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นจากปลูกเลี้ยงพืชในกลุ่มธัญพืชและพืชวงศ์ถั่ว การสูญเสียการพักตัวของเมล็ดทำให้การงอกมีความสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปลูกพืช แม้การพักตัวของเมล็ดจะส่งผลกระทบต่อการปลูกพืช แต่ก็อาจมีประโยชน์สำหรับใช้แก้ปัญหาการงอกของเมล็ดก่อนการเก็บเกี่ยวเนื่องจากฝนตกและความชื้นที่มีมากเกินไป ถั่วซอมบี้ (zombi; <em>Vigna vexillata</em> (L.) A. Rich) เป็นพืชที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมได้ดี แต่มีการศึกษาวิจัยน้อย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาเครื่องหมายดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับลักษณะการพักตัวของเมล็ดในถั่วซอมบี้ ดำเนินการโดยใช้ประชากรชั่วรุ่นที่ 2 (F<sub>2</sub>) จำนวน 94 ต้น ของคู่ผสม TVNu240 (พันธุ์ปลูก) ´ TVNu1623 (พันธุ์ป่า) พบว่า ค่าอัตราพันธุกรรมแบบกว้างของการพักตัวของเมล็ดมีค่าเท่ากับ 62.99 % การวิเคราะห์ bulk segregant analysis พบว่า เครื่องหมายเอสเอสอาร์ VvSSR-39 VvSSR-48 และ VvSSR-71 สัมพันธ์กับลักษณะการพักตัวของเมล็ด การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเดี่ยวในประชากร F<sub>2</sub>พบว่า เครื่องหมายเหล่านี้อธิบายความแปรปรวนของลักษณะการพักตัวของเมล็ดได้ 15.15 % 13.06 % และ 11.49 % ตามลำดับ การสร้างแผนที่พันธุกรรมและการวิเคราะห์ QTL ในประชากร F<sub>2</sub> พบ QTL ที่ควบคุมการพักตัวของเมล็ดจำนวน 1 ตำแหน่ง วางตัวอยู่ระหว่างเครื่องหมาย VvSSR-39 และ VvSSR-71 และอธิบายความแปรปรวนของลักษณะการพักตัวของเมล็ดได้ 18.29 % ผลของการศึกษานี้เป็นประโยชน์ในการค้นหายีนที่ควบคุมการพักตัวของเมล็ดในถั่วซอมบี้ต่อไป</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/475 การใช้ประโยชน์จากลำต้นปาล์มน้ำมันผุเป็นวัสดุเพาะเมล็ดพันธุ์กัญชา 2023-02-03T14:36:51+07:00 ชมดาว ขำจริง chomdao2526@gmail.com อภิรักษ์ ตะโจคง Chomdao2526@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากลำต้นปาล์มน้ำมันผุเป็นวัสดุเพาะต้นกล้ากัญชา วางแผนการทดลองแบบ Completely randomized design (CRD) ประกอบด้วย 6 ทรีทเมนต์ คือ 1) พีทมอส 2) ลำต้นปาล์มน้ำมันผุ 3) ขุยมะพร้าว : พีทมอส อัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาตร 4) ลำต้นปาล์มน้ำมันผุ : พีทมอส อัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาตร 5) ขุยมะพร้าว : ลำต้นปาล์มน้ำมันผุ อัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาตร และ 6) ลำต้นปาล์มน้ำมันผุ : พีทมอส อัตราส่วน 2 : 1 โดยปริมาตร ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ณ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พบว่า เมล็ดกัญชาที่เพาะด้วยพีทมอส และลำต้นปาล์มน้ำมันผุ : พีทมอส อัตราส่วน 1 : 1 โดยปริมาตร มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงที่สุด 66.50 และ 59.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จำนวนวันที่เมล็ดสามารถงอกได้ 50 เปอร์เซ็นต์เท่ากัน 4.25 วัน ดัชนีการงอก 14.73 และ 13.24 ตามลำดับ และมีความสูงของต้นกล้าเฉลี่ยเท่ากับ 6.48 และ 6.63 เซนติเมตร ตามลำดับ</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/527 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 2023-03-27T16:26:57+07:00 เฉลิมพงศ์ พันธุ์ทอง chalermpong_boyboy@hotmail.com บำเพ็ญ เขียวหวาน Chalermpong_boyboy@hotmail.com พลสราญ สราญรมย์ Chalermpong_boyboy@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจ และการผลิตมะม่วง 2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงคุณภาพ 3) ความคิดเห็นในการผลิตมะม่วงคุณภาพ 4) การใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพ 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพ และ6) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตมะม่วงคุณภาพของเกษตรกร ประชากร คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงกับสำนักงานเกษตรอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 368 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.06 ได้จำนวน 159 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 58.59 ปี พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 4.35 ไร่ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1,431.77 กิโลกรัม/ไร่ ราคาเฉลี่ย 7.23 บาท/กิโลกรัม 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมะม่วงคุณภาพ ในภาพรวมเกษตรกรมีความรู้อยู่ในระดับมาก (=11.96) โดยได้รับความรู้จากสื่อบุคคล มากกว่าแหล่งอื่น ๆ 3) ความคิดเห็นในการผลิตมะม่วงคุณภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.68) โดยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านความอุดมสมบูรณ์ของต้นมากที่สุด รองลงมา คือ การลดต้นทุน ด้านการลดความเสี่ยง 4) เกษตรกรทั้งหมดมีการเลือกพื้นที่ปลูกเหมาะสม ดินมีการระบายน้ำดี และพื้นที่ลุ่มจัดการให้มีการระบายน้ำอย่างดี เป็นระบบร่องยกแปลงปลูกหรือพื้นที่ดอนปรับสภาพให้เรียบ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตมะม่วงคุณภาพของเกษตรกร ได้แก่ อายุ จำนวนแรงงานในครัวเรือน พื้นที่ปลูกมะม่วง ราคาเฉลี่ย และผลผลิตเฉลี่ย 6) ปัญหาของเกษตรกร ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และข้อเสนอแนะอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะการผลิตและการตลาด</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/518 การประเมินปริมาณสารพฤกษเคมีของเชื้อพันธุกรรมกะเพรา 2 ฤดูกาลและสภาพการขาดน้ำระยะสั้น 2023-05-24T11:47:32+07:00 อรสา กาญจนเจริญนนท์ orasa.kan@ku.th สุกัญญา อัปกาญจน์ agrana@ku.ac.th ณัฐริกา เหลาคำ agrana@ku.ac.th อัครชัย โสมกุล agrana@ku.ac.th จักรพงศ์ ภิญโญ agrana@ku.ac.th อัญมณี อาวุชานนท์ agrana@ku.ac.th <p>กะเพราเป็นพืชผักที่นิยมของผู้บริโภคจึงมีการเพาะปลูกตลอดทั้งปี กะเพราในประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งสายพันธุ์เหล่านี้ได้รับการเก็บรวบรวมไว้โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน และยังไม่มีการศึกษาสารพฤกษเคมีของเชื้อพันธุกรรมเหล่านั้น ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงปลูกเชื้อพันธุกรรมกะเพรา 14 หมายเลข และพันธุ์การค้า 5 พันธุ์ ในสภาพแปลง เพื่อประเมินสารพฤกษเคมีใน 2 ฤดูกาล พบว่ามีอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมต่อสารพฤกษเคมี แต่มีกะเพราสองหมายเลข ที่มีปริมาณสารเบต้า-แคโรทีน และคลอโรฟิลล์ทั้งหมด ไม่แตกต่างกันทั้งสองฤดูกาลคือ กะเพราเขียว OC-063 และ กะเพราแดง OC-194 กะเพราที่มีปริมาณฟีนอลิกสูงทั้งสองฤดูกาลประกอบด้วยกะเพราใบเขียว OC-024, OC-057, OC-063, OC-195 และ ใบสีแดง OC-194 นอกจากนี้ ยังประเมินสารพฤกษเคมีในสภาพขาดน้ำระยะสั้นเป็นเวลา 3, 6 และ 9 วัน พบว่า กะเพรามีการปรับตัวเมื่อได้รับความเครียดจากการขาดน้ำระยะสั้นไม่ขึ้นกับสีใบของกะเพรา โดยกะเพราส่วนใหญ่การขาดน้ำไม่มีผลต่อปริมาณสารเบต้า-แคโรทีน ส่วนกะเพราที่ตอบสนองต่อการขาดน้ำ มีปริมาณสารเบต้า-แคโรทีนเพิ่มขึ้น และปริมาณคลอโรฟิลล์ เอและคลอโรฟิลล์ บีลดลง ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในใบกะเพราส่วนใหญ่ลดลงเมื่อขาดน้ำ 3 วัน แต่เมื่ออยู่ในสภาพขาดน้ำระยะเวลา 9 วัน สารประกอบฟีนอลิกเพิ่มขึ้น</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/531 การจัดจำแนกและวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการทางชีวโมเลกุลของ ไอโซเลตเชื้อราเมตาไรเซียมที่มีศักยภาพก่อโรคกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2023-04-03T11:26:48+07:00 อารยา บุญศักดิ์ arayab60@nu.ac.th วิภา หอมหวล w_homhaul@hotmail.com วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ agrana@ku.ac.th สุพรรณิกา อินต๊ะนนท์ agrana@ku.ac.th <p>เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (<em>Nilaparvata lugens</em> (Stål)) จัดเป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญทางเศรษฐกิจในเอเชีย เชื้อราเมตาไรเซียมเป็นเชื้อราก่อโรคกับแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จากการคัดแยกเชื้อราเมตาไรเซียมจากดินป่าในจังหวัดเพชรบูรณ์ พบเชื้อราจำนวน 15 ไอโซเลต มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ดี ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกชนิดและสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการด้วยข้อมูลทางสัณฐานวิทยาของโคโลนีและโคนิเดียของเชื้อที่พบร่วมกับข้อมูลจากชิ้นส่วนสายพันธุกรรมของ ITS จาก 18S rDNA ทำการวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาของโคโลนีและโคนิเดียด้วย cluster analysis และสร้างแผนผังความสัมพันธ์ร่วมกับเชื้อรา<em> M. anisopliae</em> (PB-75), <em>M. anisopliae,</em> <em>M. album</em>, <em>M. majus</em> และ <em>M. granulomatis</em> ส่วนการจัดจำแนกทางชีวโมเลกุลนั้นได้จากการเทียบเคียงสายพันธุกรรมของ ITS จาก 18S rDNA กับข้อมูลใน GenBank ด้วยโปรแกรม BLAST และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการร่วมกับข้อมูลเชื้อรา <em>Metarhizium</em> spp. ใกล้ชิด จากฐานข้อมูล GenBank ด้วยวิธีการ neighbor-joining โดยมี <em>M</em>.<em> frigidum </em>และ <em>M. minus </em>เป็น outgroups ผลการวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยา พบว่า เชื้อราเมตาไรเซียมทุกไอโซเลต มีแนวโน้มจัดเป็นเชื้อรา <em>Metarhizium anisopliae </em>เนื่องจากมีความยาวของโคนิเดียน้อยกว่า 9 ไมโครเมตร และผลการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ได้จัดทุกไอโซเลตรวมกลุ่มใกล้ชิดกับ <em>M. anisopliae</em> ในขณะที่ ผลการค้นหาด้วย BLAST พบว่าสายพันธุกรรมของ ITS จาก 18S rDNA ของเชื้อราเมตาไรเซียมทุกไอโซเลตมีความใกล้ชิดหรือเหมือนตรงกับข้อมูลของเชื้อรา <em>M. anisopliae</em> ด้วยสัดส่วนที่สูงกว่า 99% ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการพบว่าเชื้อราเมตาไรเซียมทั้ง 15 ไอโซเลตรวมกลุ่มใกล้ชิดกับเชื้อรา <em>M. anisopliae </em>แยกออกจากกลุ่ม outgroup อย่างชัดเจน</p> 2024-03-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management