วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM
<p><strong>กำหนดการออกเผยแพร่</strong><strong> : </strong></p> <p>วารสารกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ และตีพิมพ์ทุก ๆ 4 เดือน/ปี </p> <p>ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความทางด้านเกษตรศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่</p> <p> 1. สาขาพืชไร่นา</p> <p>2.สาขาพืชสวน</p> <p>3.สาขาปฐพีวิทยา</p> <p>4.สาขาโรคพืช</p> <p>5.สาขากีฎวิทยา</p> <p>6.สาขาสัตวศาสตร์</p> <p>7.สาขาเกษตรกลวิธาน</p> <p>8.สาขาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร</p> <p>9.สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> <p>โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบัน</p> <h4><strong>วัตถุประสงค์ </strong></h4> <p><strong><span style="font-size: 0.875rem;">เพื่อส่งเสริม พัฒนา และยกระดับการผลิตผลงานวิจัย ตลอดจนเพิ่มทางเลือกให้กับบุคลากรวิจัยและนิสิตในการพิจารณาส่งผลงานวิจัยลงตีพิมพ์/ เผยแพร่</span></strong></p> <p><strong>การตอบรับบทความ</strong></p> <p>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการต้องผ่านการประเมินจาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน</strong> <strong>แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</strong> และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตอบรับการตีพิมพ์จำนวน 2 ท่านจากจำนวน 3 ท่าน เมื่อผ่านการประเมินแล้ว กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่ส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสารฯ</p> <p>*กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ</p> <p>*The Editorial Board Claims a right to review and correct all articles submitted for publishing</p> <p>กองบรรณาธิการวารสาร <strong>ไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าทำเนียมการตีพิมพ์บทความในทุกขั้นตอน (Processing fees and/or Article Page) จากผู้นิพนธ์บทความ</strong></p>
คณะเกษตร กำแพงแสน (Faculty of Agriculture, Kamphaeng Saen, Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus)
th-TH
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2586-9655
-
ความต้องการการส่งเสริมการผลิตกาแฟโรบัสต้าของเกษตรกรในอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/646
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการส่งเสริมการผลิตกาแฟ โรบัสต้าของเกษตร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้า ในอำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เก็บข้อมูลจากประชากรที่ผลิตกาแฟโรบัสต้า ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2564/65 จำนวน 130 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรต้องการได้รับความรู้ด้านการผลิตกาแฟโรบัสต้า ในระดับมาก ในประเด็นมาตรฐานคุณภาพการผลิตกาแฟโรบัสต้า (ค่าเฉลี่ย4.35) การแปรรูปผลผลิตกาแฟโรบัสต้า (ค่าเฉลี่ย 4.26) และการให้ปุ๋ย (ค่าเฉลี่ย 4.01) ในส่วนวิธีการส่งเสริมเกษตรกรต้องการได้รับการส่งเสริมในรูปแแบบกลุ่ม (ค่าเฉลี่ย 3.59) การทัศนศึกษา/ดูงาน (ค่าเฉลี่ย 3.84) ดังนั้น เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างกระบวนการการเรียนรู้ โดยมีการจัดทำเอกสารความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพกาแฟโรบัสต้า การแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้า เกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่อเจ้าหน้าที่ในประเด็นเจ้าหน้าที่ควรมีการนำเกษตรกรไปศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์การผลิตกาแฟโรบัสต้า และเจ้าหน้าที่ควรลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนเกษตรกรรายบุคคลเพื่อรับฟังและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการผลิตกาแฟโรบัสต้า</p>
นงลักษณ์ เงารัตนพันธิกุล
นารีรัตน์ สีระสาร
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
5
12
-
ความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/660
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความต้องการ การส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในอำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปีการผลิต 2565 จำนวน 360 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 190 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 66.30 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.75 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 10.27 ปี มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 21.94 ไร่ มีลักษณะการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง มีแรงงานในการทำการเกษตรเฉลี่ย 3 คน มีผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 2.90 ตันต่อไร่ต่อปี มีรายได้จากการผลิตปาล์มน้ำมันในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 474,002.63 บาทต่อปี มีต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 151,485.89 บาท/ปี 2) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในด้านวิชาการและการปฏิบัติเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยและการให้น้ำ และต้องการวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม โดยจัดให้มีการรวมกลุ่มและการฝึกปฏิบัติ 3) เกษตรกรพบปัญหาในการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน ประเด็นการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ และ มีข้อเสนอแนะประเด็นหน่วยงานรัฐควรมีการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มีการสนับสนุนแหล่งเงินทุน</p>
อดิศักดิ์ ภูกิตติกุล
นารีรัตน์ สีระสาร
บำเพ็ญ เขียวหวาน
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
13
20
-
การขยายพันธุ์อโกลนีมาซุปเปอร์เรดจากตาข้างในสภาพปลอดเชื้อ
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/688
<p>อโกลนีมาเป็นไม้ใบที่ได้รับความนิยมและตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง แต่มักพบปัญหาเกี่ยวกับเชื้อราเมื่อขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ N6-Benzyladenine (BA) ต่อการเกิดยอดและการขยายพันธุ์ของอโกลนีมาในสภาพปลอดเชื้อ โดยนำตาข้างมาเพาะเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0, 1.0, 3.0 และ 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงภายใต้ความเข้มแสง 50 ไมโครโมล ต่อตารางเมตรต่อวินาที ให้แสงเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) ทรีทเมนต์ละ 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ชิ้น พบว่า BA มีผลต่อการเกิดยอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดเฉลี่ยมากที่สุด 1.33±0.15 ยอด รองลงมาเป็นอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เกิดยอด 1.00±0.15 ยอด ขณะที่สูตรอาหารที่ไม่เติม BA เกิดยอดเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.67±0.15 ยอด เพาะเลี้ยงยอดที่ได้บนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ที่ไม่เติมฮอร์โมนเพื่อให้เกิดรากและการพัฒนาของต้น ต้นอโกลนีมามีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลูกในสภาพธรรมชาติด้วยพีทมอสและขุยมะพร้าว</p>
พันทิพา ลิ้มสงวน
นิสสรณ์ ดีพานทอง
ภัททิยา ศิริวัฒโก
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
21
27
-
การยอมรับการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกร ในอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/654
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ 2) การยอมรับมาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดี และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของเกษตรกรอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดที่ขึ้นทะเบียน กับกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2564/65 จำนวน 204 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับ ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.07 ปี มีแรงงานเกษตรเฉลี่ย 2.25 คน เกษตรกรมีประสบการณ์ปลูกมังคุดเฉลี่ย 20.10 ปี ได้รับการฝึกอบรมมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เฉลี่ย 1.58 ครั้ง ใน 5 ปี มีพื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 6.37 ไร่ มีต้นทุนในการผลิตมังคุดเฉลี่ย 3,550.00 บาทต่อไร่ต่อปี มีรายได้ปลูกมังคุดเฉลี่ย 14,658.14 บาทต่อไร่ต่อปี 2) เกษตรกรมีการยอมรับการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมาก ในประเด็นการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และเกษตรกรมีการยอมรับระดับปานกลางในประเด็นการบันทึกข้อมูล 3) เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดีระดับมากที่สุด ด้านการตลาด ราคาผลผลิตไม่แน่นอน และข้อเสนอแนะในการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลายและเกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มในการผลิตมังคุดตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี</p>
สันต์ฤทัย จันทองโชติ
นารีรัตน์ สีระสาร
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
28
35
-
การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวสาลีในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนประเทศไทย
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/625
<p>จากสถิติการนำเข้าข้าวสาลีในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้เป็นโอกาสในการเพิ่มผลผลิตและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร จึงต้องการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวสาลีที่มีการปลูกในปัจจุบัน โดยทำการศึกษาระหว่างเดือน มี.ค. 2566 – เม.ย. 2566 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตข้าวสาลีให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยวิธีการวิเคราะห์แบบซ้อนทับข้อมูล (overlay analysis) ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย ปัจจัยความสูงระดับทะเล ความลาดชัน เนื้อดิน ค่าปฏิกิริยาของดิน อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ความลึกของดิน การระบายน้ำของดิน ความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดิน อัตราร้อยละความอิ่มตัวของเบส และปริมาณเกลือที่สะสม พบว่า พื้นที่มีความเหมาะสมมาก (S1) อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จำนวน 8,112 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.01 พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 25,140 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.05 พื้นที่เหมาะสมน้อย (S3) จำนวน 3,951,318 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.19 และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) จำนวน 50,945,108 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92.75</p>
สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย
จารุวี อันเซตา
ภัทรธีรา อินพลับ
เนตรนภา อินสลุด
เทวินทร์ แก้วเมืองมูล
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
36
50
-
ความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตข้าวของเกษตรกร ในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/683
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตข้าว และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตข้าว จากเกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2565/66 จำนวน 120 ราย ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.92 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.19 คน มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 8.37 ไร่ มีประสบการณ์ปลูกข้าวเฉลี่ย 20.18 ปี มีต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 2,400.20 บาท/ไร่ และมีรายได้เฉลี่ย 3,483.77 บาท/ไร่ 2) เกษตรกร ร้อยละ 51.67 มีระดับความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 14.89 คะแนน จากคะแนนเต็ม 21 คะแนน ซึ่งมีความรู้ในประเด็น เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถช่วยควบคุมโรคพืชมากที่สุด ร้อยละ 85.00 และมีความรู้ในประเด็น เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถใช้ในการป้องกันโรคพืชได้ในพืชอื่น ๆ น้อยที่สุด ร้อยละ 25.00 และ 3) เกษตรกรมีปัญหาในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตข้าวระดับปานกลาง ในประเด็นต้องใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาหลายครั้ง อย่างสม่ำเสมอ (ค่าเฉลี่ย 3.20) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ควรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาอย่างต่อเนื่องและเข้าใจง่าย เพื่อให้เกษตรกรมีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพิ่มมากขึ้น</p>
พฤกจิกา กันทาแจ่ม
นารีรัตน์ สีระสาร
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
59
69
-
ผลของการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อนสายพันธุ์คูนามิที่ปลูกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/687
<p>ศึกษาผลของการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อนสายพันธุ์คูนามิที่ปลูกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design; CRD แบ่งออกเป็น 3 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 25 ต้น โดยแช่เมล็ดเมล่อนในกรรมวิธีต่าง ๆ เป็นเวลา 30 นาทีก่อนนำเมล็ดไปเพาะ ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ควบคุม (แช่เมล็ดด้วยน้ำเปล่า) กรรมวิธีที่ 2 แช่เมล็ดและพ่นต้นเมล่อนด้วย <em>Trichoderma asperellum </em>(ความเข้มข้น 1×10<sup>8 </sup>cfu/ml) และกรรมวิธีที่ 3 แช่เมล็ดและพ่นต้นเมล่อนด้วย <em>Bacillus subtilis</em> (ความเข้มข้น 1×10<sup>8 </sup>cfu/ml) จากการทดลอง พบว่า กรรมวิธีที่ใช้<em> B. subtillus</em> ต้นเมล่อนมีความสูงมากที่สุด 198.27 เซนติเมตร กรรมวิธีที่ใช้ <em>T.asperellum</em> ต้นเมล่อนมีความกว้างใบและความยาวใบมากที่สุดคือ 23.40 และ 27.10 เซนติเมตร คุณภาพผลผลิตของเมล่อนหลังการเก็บเกี่ยว พบว่ากรรมวิธีที่ใช้ <em>T.asperellum</em> เมล่อนมีเส้นรอบวงผลมากที่สุด 45.40 เซนติเมตร และมีความหนาเนื้อมากที่สุด 27.12 มิลลิเมตร กรรมวิธีที่ใช้ <em>B. subtillus</em> มีน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด 2.05 กิโลกรัม มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้สูงที่สุด 12.20 องศาบริกซ์และความแน่นเนื้อมากที่สุด 1.89 นิวตัน ตัน เมื่อประเมินการเกิดโรคเหี่ยวเหลืองของเมล่อนสายพันธุ์คูนามิพบว่า กรรมวิธีควบคุมมีระดับการเกิดโรคสูงที่สุดที่ระดับ 3.8 ดัชนีการเกิดโรค 95 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีที่ใช้ <em>T. asperellum</em> และ <em>B. subtillus</em> มีระดับการเกิดโรคเหี่ยวที่ระดับ 3.2 ดัชนีการเกิดโรค 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทุกกรรมวิธีมีระดับการเกิดโรคเหี่ยวไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม</p>
ศิริพร อ่ำทอง
ชิติ ศรีตนทิพย์
กิตติพันธ์ เพ็ญศรี
เมทินี นาคดี
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
70
77
-
การประเมินคุณภาพผลและปริมาณวิตามินซีในฝรั่งชนิดรับประทานผลสดเนื้อสีแดง 8 พันธุ์
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/681
<p>ข้อมูลคุณภาพผลของฝรั่งรับประทานผลสดสีแดงมีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์ โดยเฉพาะขั้นตอนการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมที่มีคุณภาพผลเพิ่มขึ้น จึงได้ประเมินคุณภาพผลฝรั่งจำนวน 8 พันธุ์ ได้แก่ หงเป่าสือ หงจ้วนสือ แตงโม หงซินปาล่า เฟินหงมี่ ชมพูพันทิพ ไข่มุกแดง และสามสีกรอบ พบว่า น้ำหนักผล น้ำหนักไส้ เปอร์เซ็นต์ปริมาณเนื้อที่รับประทานได้ ความหนาเนื้อ ความแน่นเนื้อ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด และปริมาณวิตามินซี มีความแตกต่างทางสถิติ (<em>P </em>< 0.05) ฝรั่งพันธุ์หงเป่าสือมีปริมาณเนื้อที่สามารถรับประทานได้มากที่สุดถึง 76.87 เปอร์เซ็นต์ ชมพูพันทิพมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้มากที่สุด 13.82 องศาบริกซ์ และเฟินหงมี่มีปริมาณวิตามินซีมากที่สุด 213.05 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (<em>P > </em>0.05 ) โดยข้อมูลนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเกษตรกรด้วย</p>
ดรุณี ถาวรเจริญ
เรืองศักดิ์ กมขุนทด
กัลยาณี สุวิทวัส
ขวัญหทัย ทะนงจิตร
พิมพ์นิภา เพ็งช่าง
วิมลวรรณ ชอบสอาด
พัชรียา บุญกอแก้ว
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
78
85
-
อิทธิพลของปุ๋ยมูลค้างคาวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแรดิชที่ปลูกในวัสดุปลูก
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/662
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณของปุ๋ยมูลค้างคาวที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแรดิชที่ปลูกในวัสดุปลูก วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ ซึ่งประกอบด้วย 5 ทรีทเมนต์ คือ ตำรับทดลองที่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย (ชุดควบคุม) ตำรับทดลองที่ 2) ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 48 กิโลกรัมต่อไร่ (0.99 กรัมต่อต้น) ตำรับทดลองที่ 3) ปุ๋ยมูลค้างคาว 1,350 กิโลกรัมต่อไร่ (28 กรัมต่อต้น) ตำรับทดลองที่ 4) ปุ๋ยมูลค้างคาว 2,700 กิโลกรัมต่อไร่ (56 กรัมต่อต้น) และ ตำรับทดลองที่ 5) ปุ๋ยมูลค้างคาว 4050 กิโลกรัมต่อไร่ (84 กรัมต่อต้น) ผลการวิจัยพบว่า แรดิชที่ได้รับปุ๋ยมูลค้างคาว 2,700 กิโลกรัมต่อไร่ (56 กรัมต่อต้น) มีความสูงเฉลี่ยของต้น (19.08 เซนติเมตร) ความกว้างเฉลี่ยของทรงพุ่ม (38.06 เซนติเมตร) ค่าความเขียวเฉลี่ยของใบ (38.84 SPAD UNIT) จำนวนใบเฉลี่ย (8.80 ใบ) และความยาวเฉลี่ยของหัวแรดิช (41.88 มิลลิเมตร) ที่ดี ขณะที่แรดิชที่ได้รับปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 48 กิโลกรัมต่อไร่ (0.99 กรัมต่อต้น) มีความกว้างเฉลี่ย (51.99 มิลลิเมตร) และน้ำหนักสดเฉลี่ยของหัวแรดิช (57.89 กรัม) มากที่สุด การใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวที่อัตรา 2700 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นอัตราที่เหมาะสม เนื่องจากส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของแรดิชที่ปลูกในวัสดุปลูก สูงใกล้เคียงกับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยจากองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน</p>
ชมดาว ขำจริง
กนกวรรณ ใจเพชร
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
86
94
-
เส้นตอบสนองต่อแสงของกะเพราภายใต้ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์หลายระดับ
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/679
<p>ระดับความเข้มแสงและความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ (C<sub>a</sub>) มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความต้องการแสงและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้ใบกะเพรามีอัตราสังเคราะห์แสงสูงสุด และศึกษาอิทธิพลของระดับ C<sub>a</sub> ที่เพิ่มขึ้นต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง โดยใช้กะเพราพันธุ์ OC059 เป็นพืชทดลอง ศึกษากระบวนการสังเคราะห์แสงภายใต้ความเข้มแสงหลายระดับในช่วง 0–2500 mmolPPF m<sup>-2</sup> s<sup>-1</sup> และความเข้มข้นของ C<sub>a</sub> หลายระดับในช่วง 400–1600 mmolCO<sub>2</sub> mol<sup>-1</sup> ผลการศึกษาพบว่า ที่ระดับ C<sub>a</sub> ของอากาศปกติที่ 400 mmolCO<sub>2</sub> mol<sup>-1</sup> ใบกะเพรามีอัตราสังเคราะห์แสงสูงสุด (A<sub>max</sub>) เท่ากับ 35.0 mmolCO<sub>2</sub> m<sup>-2</sup> s<sup>-1</sup> มีค่าความเข้มแสงอิ่มตัว (I<sub>s</sub>) ซึ่งเป็นระดับความเข้มแสงที่ทำให้อัตราสังเคราะห์แสงสุทธิ (A) เพิ่มขึ้นสูงสุด เท่ากับ 918.1 mmolPPF m<sup>-2</sup> s<sup>-1 </sup>และมีค่าจุดชดเชยแสง (I<sub>c</sub>) เท่ากับ 64.6 mmolPPF m<sup>-2</sup> s<sup>-1</sup> การเพิ่มขึ้นของระดับ C<sub>a</sub> ชักนำให้ปากใบของกะเพราปิดแคบลงมากขึ้น โดยค่านำไหลปากใบ (g<sub>s</sub>) ลดลงตามระดับ C<sub>a</sub> ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่า A<sub>max</sub> และ I<sub>s</sub> มีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าประสิทธิภาพการใช้แสง (a) และอัตราหายใจในความมืด (R<sub>d</sub>) มีระดับลดลง เมื่อค่า C<sub>a</sub> เพิ่มขึ้น โดยระดับ C<sub>a</sub> ที่เหมาะสมต่อการชักนำให้กะเพรามีอัตราสังเคราะห์แสงสูงสุด คือ 1000 mmolCO<sub>2</sub> mol<sup>-1</sup></p>
วสันต์ ปานนิ่ม
วินัย อุดขาว
อนุชา วงศ์ปราณีกุล
รสริน มังกะโรทัย
วันณิสา พูลเดช
จุฑามณี เวียงวีระชาติ
สรวิศ สิทธิธรรม
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
95
104
-
การเจริญเติบโตของผักกาดหอมที่ถูกกระตุ้นด้วยสารอินโดล-3-แอซีติกแอซิด จากไซยาโนแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากดินแปลงนา
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/670
<p>ไซยาโนแบคทีเรียที่มีความสามารถสูงในการผลิต indole-3-acetic acid (IAA) สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการคัดแยกและจัดจำแนกไซยาโนแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมน IAA รวมทั้งศึกษาผลของไซยาโนแบคทีเรียที่มีต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอม การศึกษาเริ่มจาก 1) คัดแยกไซยาโนแบคทีเรียจากดินแปลงนาจำนวน 5 แปลง ในจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรีและสุพรรณบุรี โดยใช้อาหาร blue-green algae nitrogen-free medium (BGA) 2) ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและจัดจำแนกชนิดไซยาโนแบคทีเรีย ด้วยวิธีทางชีวโมเลกุลโดยใช้ยีน 16S rRNA และการทำแผนภูมิต้นไม้ 3) ทดสอบประสิทธิภาพการผลิต IAA ในอาหาร BGA ที่มีการเติมและไม่เติมกรดอะมิโนทริปโตเฟน เป็นระยะเวลา 7, 14, 21 และ 28 วัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยเชื้อไซยาโนแบคทีเรีย 10 ไอโซเลต 4) ทดสอบประสิทธิภาพของไซยาโนแบคทีเรียในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักกาดหอม ประสิทธิภาพการผลิต IAA ที่สูง ถูกคัดเลือกมาทดสอบในกระถาง มีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 4 ตำรับการทดลอง จำนวน 5 ซ้ำ คือ ตำรับที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย (control), ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ ตำรับที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ และไซยาโนแบคทีเรีย และตำรับที่ 4 ใส่เฉพาะไซยาโนแบคทีเรีย ผลการทดลองพบว่าสามารถคัดแยกไซยาโนแบคทีเรีย ได้ทั้งหมด 10 ไอโซเลต แต่ละไอโซเลตสามารถผลิต IAA ได้แตกต่างกัน (0.57 - 1.55 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) โดย <em>Nostoc</em> sp. มีการผลิต IAA สูงสุดเท่ากับ 1.55 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ 21 วัน เมื่อเลี้ยงในอาหาร BGA ที่ใส่กรดอะมิโนทริปโตเฟน การใส่ปุ๋ยเคมี 50 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับไซยาโนแบคทีเรีย <em>Nostoc</em> sp. (TL02) ไม่มีผลทำให้ความสูงต้น น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้น ในผักกาดหอมทั้ง 3 สายพันธุ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ ความยาวรากของสายพันธุ์กรีนคอสมีค่าสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (11.00 เซนติเมตร) ขณะที่ น้ำหนักแห้งของรากกรีนโอ๊ค กรีนคอส และบัตเตอร์เฮดมีค่าสูงที่สุดเช่นกัน (3.44, 10.64 และ 3.84 กรัม ตามลำดับ) ดังนั้น <em>Nostoc</em> sp. (TL02) ที่คัดแยกได้มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้รากผักสลัดเจริญเติบโตได้ดีขึ้นโดยกลไกของการผลิตฮอร์โมนพืชและอาจพัฒนาเป็นปุ๋ยชีวภาพทางเลือกร่วมกับปุ๋ยเคมีได้</p>
วิภาพร ยงสุวัฒนะ
สิรินภา ช่วงโอภาส
เดือนรัตน์ ชลอุดมกุล
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
105
115
-
การรับรู้และการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JASM/article/view/730
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 98 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น และมีปริมาณน้ำฝนที่ลดลง เกษตรกรมีความสามารถในการปรับตัวต่อความเสี่ยงจากวิกฤติภูมิอากาศที่เกิดขึ้น เมื่อเผชิญกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในการเกษตร เกษตรกรได้แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่แตกต่างกันในช่วงก่อนความเสี่ยง (pre-risk) ได้แก่ การใช้พันธุ์ทนแล้งหรือทนน้ำท่วม และปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเพาะปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนระหว่างความเสี่ยง (during risk) เกษตรกรใช้การสังเกตพืชมากขึ้นทั้งโรคและอันตรายใหม่ที่อาจเกิดขึ้น และช่วงหลังความเสี่ยง (post-risk) เกษตรกรส่วนใหญ่เปลี่ยนระบบการปลูกพืชเป็นปลูกพืชปีละ 1 ครั้งแทน และใช้เทคโนโลยีและพันธุ์ใหม่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเกษตรกรรับรู้และมีการปรับตัวในฟาร์มและนอกฟาร์มที่หลากหลายแตกต่างกัน และในระยะยาวเกษตรกรยังคงต้องการการสนับสนุนจากภายนอก และการลงทุนมากขึ้นในเทคโนโลยีเกษตรใหม่ๆ รวมทั้งกลไกการเผยแพร่ข้อมูลและเทคโนโลยีที่เหมาะสมระดับพื้นที่เพื่อเตรียมการรับความเสี่ยง</p>
พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง
คนึงรัตน์ คำมณี
จิรัฐินาฏ ถังเงิน
ศวิตา ตั้งวงศ์กิจ
โชตนา ลิ่มสอน
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ Journal of Agricultural Science and Management
2025-03-28
2025-03-28
8 1
116
124