https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/issue/feed
วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
2024-08-21T00:00:00+07:00
Asst. Prof. Dr. Rungnapa Tagun (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งนภา ทากัน)
research_journal@g.cmru.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน </strong><strong>(Science and Technology to Community</strong><strong>)</strong></p> <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มีเป้าหมายและขอบเขต (Aim and Scope) ที่รับตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนได้แก่<br />1) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ <br /> - ชีววิทยา - จุลชีววิทยา <br /> - ชีวเคมี - เทคโนโลยีการอาหาร <br /> - พืชศาสตร์ - สัตวศาสตร์ <br /> - ปฐพีวิทยา - โรคพืช <br /> - กีฏวิทยา - วาริชศาสตร์<br /> - การส่งเสริมการเกษตร - เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และสิ่งแวดล้อม<br />2) วิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ <br /> - เคมี - ฟิสิกส์ - ดาราศาสตร์ <br /> - วัสดุศาสตร์ - คณิตศาสตร์ - เทคโนโลยีสารสนเทศ<br /> - วิศวกรรมศาสตร์ - เทคโนโลยีอุตสาหกรรม <br /> - วิทยาศาสตร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม <br />3) วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ <br /> - การสร้างเสริมสุขภาพ - การพัฒนาสุขภาพชุมชน<br /> - อนามัยสิ่งแวดล้อม - อาชีวอนามัยและความปลอดภัย <br /> - สารสนเทศทางสุขภาพ - วิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น</p> <p>ISSN 2822-132X (Print)<br />ISSN 2822-1338 (Online)</p> <p><strong>รูปแบบของวารสาร<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. กำหนดออก ปีละ 6 ฉบับ ฉบับละ 5 บทความ<br /></span> ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br /> ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน<br /> ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br /> ฉบับที่ 5 กันยายน– ตุลาคม<br /> ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. บทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ บทความละ 3 ท่านต่อเรื่อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind Peer Review) <br /><br />3. นโยบายด้านค่าธรรมเนียม <strong>ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งบทความ</strong> (เนื่องจากได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)<br /></span></p> <p><strong>การเตรียมต้นฉบับบทความ </strong><strong>มีรายละเอียดดังนี้<br /><br /><a title="Download Format ของวารสาร " href="https://docs.google.com/document/d/1UtDFjEvgpnTSk4y_jz83W6-hO7qDa2PV/edit?usp=sharing&ouid=116414079090104673383&rtpof=true&sd=true">Download Format ของวารสาร </a> </strong></p> <p><strong>รูปแบบการพิมพ์</strong></p> <ol> <li><strong> ตัวอักษร</strong> : ใช้ตัวอักษร <strong>Th Sarabun PSK</strong> </li> </ol> <p><strong>ชื่อบทความภาษาไทยใช้อักษรตัวหนา ขนาด 20 </strong><strong>pt</strong> ชิดซ้าย</p> <p>ชื่อบทความภาษาอังกฤษอักษรธรรมดาขนาด ขนาด 20 pt ชิดซ้าย</p> <p><strong>ชื่อผู้เขียน (ทั้งไทยและอังกฤษ)</strong> <strong>ใช้อักษรตัวหนา ขนาด 18 </strong><strong>pt</strong> ชิดขวา</p> <p>หน่วยงานผู้เขียน (ทั้งไทยและอังกฤษ) ใช้อักษรธรรมดา ขนาด 16 pt ชิดขวา</p> <p>E-Mail และเบอร์โทร ใช้อักษรธรรมดา ขนาด 16 pt ชิดขวา</p> <p><strong>หัวข้อหลักใช้อักษรตัวหนา ขนาด 18 </strong><strong>pt</strong> </p> <p>เนื้อเรื่องใช้อักษรตัวปกติ ขนาด 16 pt </p> <ol start="2"> <li><strong> การตั้งค่าหน้ากระดาษ</strong> : บนและซ้าย ขนาด 1 นิ้ว ล่างและขวาง ขนาด 1 นิ้ว</li> <li><strong> ความยาวของเนื้อหา</strong> : ไม่เกิน 15 หน้า รวมตารางรูปภาพ และเอกสารอ้างอิง</li> <li><strong>รูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษในเนื้อเรื่องภาษาไทย</strong> :</li> </ol> <ul> <li>ชื่อวิทยาศาสตร์ คำขึ้นต้นให้ใช้อักษรตัวใหญ่ และใช้ตัวอักษรเอียง เช่น <em>Uglena acus </em></li> <li>ชื่อเฉพาะให้ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ทุกคำ เช่น Berdmann, Lemmermann</li> <li>ภาษาอังกฤษทั้งในและนอกวงเล็บให้ใช้ตัวเล็ก เช่น Random complete block design</li> <li>ตัวย่อให้ใช้อักษรตัวใหญ่ทั้งหมด และควรมีคำเต็มบอกไว้ในการใช้ครั้งแรก เช่น (Random complete block design: RCBD)</li> </ul> <p><strong>การเรียงลำดับเนื้อหา </strong></p> <ol> <li><strong> ชื่อเรื่อง </strong><strong>(Title)</strong> : ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษเฉพาะตัวอักษรแรกของชื่อเรื่องเท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letter) นอกนั้นใช้ตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะ</li> <li><strong> ชื่อผู้วิจัย</strong> : ระบุชื่อ สกุล ของผู้วิจัยหลักและผู้ร่วมวิจัย โดยระบุสถานที่ทำงานหรือหน่วยงานที่สังกัดและอีเมล ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเบอร์โทรศัพท์</li> <li><strong> บทคัดย่อ (</strong><strong>Abstract)</strong> : (ภาษาไทยก่อนและตามด้วยภาษาอังกฤษ, กรณีเป็นบทความภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย) เป็นการสรุปสาระสำคัญ ประเภทวิจัย วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัยที่กระชับและชัดเจน และองค์ความรู้ใหม่ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งสิ่งที่จะส่งผลต่อสังคม ชุมชนท้องถิ่น ระบุตัวเลขสถิติที่สำคัญ ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์และเป็นร้อยแก้ว ไม่แบ่งเป็นข้อๆ โดยบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษขนาด A4 และให้ระบุคำสำคัญ (Keywords) ไว้ท้ายบทคัดย่อในแต่ละภาษา</li> <li><strong> บทนำ </strong><strong>(Introduction)</strong> : ให้เขียนอธิบายความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่ได้รับ</li> <li><strong>ระเบียบวิธีวิจัย </strong><strong>(Methodology)</strong> : อธิบายถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองและอธิบายวิธีการศึกษาทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล</li> <li><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>(Results)</strong> : การเขียนเสนอผลการศึกษาควรกระชับและแสดงการวิจัยถึงผลที่ชัดเจน หากมีตาราง กราฟ หรือรูปภาพให้มีเนื้อหาหรือวิธีการอธิบายประกอบ</li> <li><strong> การอภิปรายผล (Discussions)</strong> : การเขียนอภิปรายผลการศึกษา เป็นการชี้แจงผลการวิจัยว่าตรงตามวัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่ อย่างไร ด้วยเหตุผลใด เปรียบเทียบหรือตีความเพื่อเน้นความสำคัญของงานและสรุปให้เข้าใจง่ายที่สุด</li> <li><strong> บทสรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>(Conclusion and Suggestions) </strong>: ให้เขียนสรุปสาระสำคัญของผลงานวิจัยว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยเน้นถึงปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญ ตลอดจนข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์</li> <li><strong> องค์ความรู้ใหม่และผลที่เกิดต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่น </strong><strong>(New knowledge and the effects on society local and communities) </strong>: ให้เขียนสรุปองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นและผลที่เกิดต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่น</li> <li><strong>กิตติกรรมประกาศหรือคำขอบคุณ</strong> <strong>(Acknowledgement)</strong> : อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ โดยเป็นการแสดงความขอบคุณผู้ช่วยเหลือในงานวิจัยแต่ไม่ได้เป็นผู้ร่วมในงานวิจัย</li> <li><strong> เอกสารอ้างอิง </strong>ควรมีไม่ต่ำกว่า 10 รายการ และควรเป็นปัจจุบันให้มากที่สุด</li> </ol> <p>การอ้างอิงแบบแทรกปนไปกับเนื้อหา : เนื้อหาบทความใช้ระบบการอ้างอิงแบบนามปี (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) ตัวอย่างเช่น ....ลมุล รัตตากร (2529) ได้กำหนดคุณสมบัติของ………</p> <p> </p> <p><strong>รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง</strong></p> <p>การเขียนเอกสารอ้างอิงให้เรียงเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการที่อ้างอิง โดยเรียงลำดับแบบพจนานุกรม และให้เรียงภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ มีรูปแบบการเขียนแบบ APA 6 (American Psychological Association) ดังนี้</p> <ol> <li><strong> หนังสือ </strong></li> </ol> <p>ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). <em>ชื่อหนังสือ.</em> (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.</p> <p>สีลาภรณ์ บัวสาย. (2549). <em>เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล.</em> (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.</p> <p>Courtney, T. K. (1965). <em>Physical Fitness and Dynamic Health</em>. New York: McGrew-Hill Inc.</p> <ol start="2"> <li><strong> วารสาร </strong>(อางอิงวารสารที่มีความทันสมัย/เปนปจจุบันมากที่สุด)</li> </ol> <p>ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. <em>ชื่อวารสาร</em>, <em>ปีที่</em> (ฉบับที่), เลขหน้าเริ่มต้น-เลขหน้าสิ้นสุด.</p> <p>ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2531). การปฏิรูปหลักสูตรมหาวิทยาลัยในประเทศที่กำลังพัฒนา. <em>อุดมศึกษา,</em> <em>13</em> (34), 14-20.</p> <p>Elmastas, M., O. lsildak, I. Turkekal and N. Temar. (2007). Determination of antioxidant activity and antioxidant compounds inwild edible mashroom. <em>Food Composition and analysis</em>, <em>20</em>(1), 337-345<strong>.</strong></p> <ol start="3"> <li><strong> วิทยานิพนธ์ </strong>(หากเรื่องนั้นมีบทความในวารสารให้ใช้การอ้างอิงจากวารสาร)</li> </ol> <p>ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). <em>ชื่อวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าแบบอิสระ.</em><strong> (</strong>ระดับวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าแบบอิสระ คณะ). สถาบันการศึกษา. จังหวัด.</p> <p>ยุรีพรรณ แสนใจยา. (2545). <em>แนวทางการพัฒนาไร่ชาสุวิฬุห์ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงรายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร</em>. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.</p> <ol start="4"> <li><strong> เอกสารวิชาการอื่นๆ</strong></li> </ol> <p>ชื่อ สกุล ผู้เขียนหรือหน่วยงาน. (ปีที่พิมพ์). <em>ชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ.</em> ประเภทของเอกสาร. สถาบันหรือหน่วยงานที่จัดพิมพ์. สถานที่พิมพ์.</p> <p>คณะกรรมการอำนวยการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย. (2549). <em>คู่มือคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์</em>. สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร.</p> <ol start="5"> <li><strong> สื่ออิเล็กทรอนิกส</strong>์ (อางอิงเฉพาะขอมูลที่ทันสมัย/เปนปจจุบัน เชน สถิติจํานวนประชากร เปนตน)</li> </ol> <p>ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). <em>ชื่อเรื่อง.</em> สืบค้นจาก ชื่อ website </p> <p>สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร 2562. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>การส่งต้นฉบับ</strong></p> <p>จัดส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสาร</p> <p>ที่เว็บไซต์ https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/index</p> <p> </p> <p><strong>การประเมินบทความต้นฉบับ</strong> </p> <p>ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสังกัดของเข้าของบทความ และจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านต่อเรื่อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind peer review) สถาบันวิจัยและพัฒนาจะเป็นผู้สรรหา เพื่อรับการประเมิน กรณีมีการแก้ไขสถาบันวิจัยและพัฒนาจะส่งผลการอ่านประเมินคืนผู้เขียนให้เพิ่มเติม แก้ไข หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี</p> <p> </p> <p><strong>หมายเหตุ</strong></p> <ol> <li>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่</li> <li>เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</li> <li><strong>การส่งบทความไม่มีค่าใช้จ่าย</strong></li> </ol>
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/796
ผลประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการแข่งขันในอาเซียน
2024-05-18T22:59:00+07:00
ปภากร สุทธิภาศิลป์
Ratchaneeporn_sut@cmru.ac.th
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) พืชอาหาร เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกลุ่มเกษตรกรตามปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP พืชอาหาร) ดังข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร : GAP พืช (มกษ. 9001 2556) จำนวน 4 ตำบล 4 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการตรวจประเมิน GAP ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี 2) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง 3) เกษตรกรม่อนปิ่น ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง และ4) เกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโดบ้านปง ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จากการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP พืชอาหารมีความสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร สามารถยื่นขอรับการรับรองตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหารได้ โดยมีข้อแนะนำในการปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ต้องปรับปรุงแก้ไขสถานที่จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ชีวภัณฑ์ และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ให้เป็นหมวดหมู่พร้อมทั้งมีป้ายบ่งชี้ 2) ปลูกพืชดูดซับบริเวณห้องน้ำ เช่น หญ้าแฝก 3) ต้องอบรม GAP พืชอาหาร 4) ต้องอบรม GAP โรงคัดบรรจุผักและผลไม้ และ 5) ต้องบันทึกข้อมูลทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงาน</p>
2024-08-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/800
การพยากรณ์ค่าเฉลี่ยรายเดือนฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยวิธีแยกส่วนประกอบแบบดั้งเดิม
2024-05-27T09:01:44+07:00
วัฒนา ชยธวัช
vadhana.j@ptu.ac.th
<p>การพยากรณ์อนุกรมเวลาด้วยวิธีแยกส่วนประกอบแบบดั้งเดิมสามารถพยากรณ์ล่วงหน้า 12 เดือน จึงเลือกมาใช้กับการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยรายเดือนฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM<sub>2.5</sub>) ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดถาวรจังหวัดเชียงใหม่ในเขตอำเภอเมือง ศาลากลางเมือง อำเภอเมือง (35T) ปี พ.ศ. 2563, 2564, 2565 และ 2566 (มกราคม ถึง เดือนมิถุนายน) วิธีแยกส่วนประกอบ 4 วิธี คือ วิธีตัวแบบการบวก วิธีตัวแบบการคูณ 3 วิธี ประกอบด้วย วิธีค่าเฉลี่ยอย่างง่าย วิธีอัตราส่วนต่อค่าแนวโน้ม และ วิธีอัตราส่วนต่อค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถูกนำมาใช้กับข้อมูล PM<sub>2.5 </sub>ผลปรากฏว่า เมื่อใช้ข้อมูลค่าเฉลี่ยรายเดือนปี พ.ศ. 2563, 2564 และ 2565 พัฒนาตัวแบบ ความแม่นยำของตัวแบบการบวกเมื่อเทียบค่าสังเกต 36 เดือนมีค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (MAPE) ต่ำสุดเท่ากับ 7.06 อยู่ในเกณฑ์สามารถใช้พยากรณ์ได้แม่นยำสูง แต่เมื่อนำค่าพยากรณ์รายเดือนปี พ.ศ. 2566 เปรียบเทียบกับค่าสังเกต เดือนมกราคมถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 ซึ่งมีเหตุการณ์ค่าเฉลี่ยรายเดือนสูงผิดปกติในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายนแล้ว ตัวแบบตัวแบบการคูณ วิธีค่าเฉลี่ยอย่างง่ายมีค่า MAPE ต่ำสุดเท่ากับ 28.72 จึงใช้เป็นตัวแบบในการพยากรณ์ ค่าพยากรณ์ของเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมมีค่าเฉลี่ยรายเดือน PM<sub>2.5</sub> อยู่ระหว่าง 17 ถึง 26 มค.ก./ลบ.ม.</p>
2024-08-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/797
การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน ePub 3 เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2024-04-10T14:05:43+07:00
ศรันย์ วรรณภิรมย์
63141011@g.cmru.ac.th
พนัชพรรณ วัฒนพันธ์
63141041@g.cmru.ac.th
ศิริกรณ์ กันขัติ์
sirikorn@g.cmru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน ePub 3 เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการสอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการใช้สื่อการสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน ePub 3 เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อการสอนของผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจจากการใช้สื่อการสอน วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ 1) สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน ePub 3 เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถนำมาใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพสื่อการสอนอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.31 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.79</p>
2024-08-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/830
การพัฒนารูปแบบการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
2024-05-19T00:15:49+07:00
ชลธิดา แดงสะอาด
chonthidadangsaard@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 259 คน และเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างรูปแบบการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนผู้สูงอายุ 10 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 5 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 5 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน และนักวิชาการสาธารณสุข 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบสมมติฐานไคสแควส์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา <br />ผลการศึกษา พบว่า จากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการออกมาเป็นการสร้างสัญลักษณ์ในการแจ้งเตือนพื้นต่างระดับและการทำอุปกรณ์เคาะเรียกเวลาหกล้มขึ้น การประเมินการใช้แนวทางการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ จากการสร้างแนวทางการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ โดยมีผลจากการตรวจสอบความคิดเห็นความเหมาะสมของสัญลักษณ์ป้องกันการหกล้มในบ้าน มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 18 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความเหมาะสมของแนวทางการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ พบว่า มีระดับความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด การสร้างสัญลักษณ์หรือสร้างอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการป้องกันการหกล้มสามารถนำไปเป็นแนวทางให้กับชุมชนอื่นได้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานสามารถทำได้ทุกครัวเรือน</p>
2024-08-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/886
ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการหกล้มซ้ำและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
2024-06-18T11:24:01+07:00
วารุณี โยธาวงค์
mamyothawong@gmail.com
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการหกล้มซ้ำและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง กลุ่มละ 30 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการหกล้มซ้ำและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง และแบบบันทึกผลการวัดความสามารถในการทรงตัว การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t- test<br />ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวคะแนนความสามารถของผู้ดูแลในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) และคะแนนการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) สรุปผลการวิจัยโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัว ที่ประกอบด้วยการเสริมศักยภาพผู้ดูแลด้วยความรู้ในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ การจัดการสิ่งแวดล้อม และทักษะการออกกำลังกายสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการหกล้ม มุ่งเน้นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ความไว้วางใจ และการทำงานร่วมกันของผู้ดูแลในครอบครัวและพยาบาลวิชาชีพ สามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้</p>
2024-09-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน