วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน (Science and Technology to Community) มีเป้าหมายและขอบเขต ที่รับตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ด้าน 1) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม 2) วิทยาศาสตร์กายภาพ 3) วิทยาศาสตร์สุขภาพ ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วารสารเผยแพร่เป็นปีที่ 3 <br />Journal Abbreviation: Sci Tech Com<br />ISSN 2822-132X (Print)<br />ISSN 2822-1338 (Online)<br />วารสารเริ่มต้น : ปี 2566<br />ภาษา : ไทย และ อังกฤษ<br />กำหนดออก : ปีละ 6 ฉบับ ฉบับละ 5 บทความ (ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์, ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน, ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน, ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม, ฉบับที่ 5 กันยายน– ตุลาคม, ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม)</p> สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (Institute of Research and Development, Chiang Mai Rajabhat University) th-TH วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน 2822-132X <p>1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ <br />2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกร ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/1004 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มเกษตรกรในตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ได้จำนวนเกษตรกร 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางใช้สถิติโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation)<br />ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 55.10 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 2.32 ความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร พบว่า อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 53 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 9.65 ผลการวิเคราะห์แผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ความรุนแรง อยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมี พบว่า การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (r=0.117*) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และการรับรู้โอกาสเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (r = .253**) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01</p> นัฏกร สุขเสริม Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-16 2025-01-16 3 2 1 13 10.57260/stc.2025.1004 สภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูป ของเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากกาบหมาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/941 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากกาบหมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากกาบหมาก ศึกษาระยะเวลาและระยะห่างในการเคลื่อนที่ของโมลด์ที่มีผลต่อการบีบอัด ศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูปภาชนะ ศึกษาความหนาของกาบหมากที่มีผลต่อการขึ้นรูปภาชนะ และศึกษาภาชนะที่ช่วยลดปัญหาขยะจากขยะพลาสติก โดยคณะผู้วิจัยได้สร้างเครื่อง 12 VDC 44 รอบต่อนาที สเตอร์ 18 ฟัน ลูกปืนตุ๊กตา 1.50 นิ้ว เพลาสตัดเกลียวตลอด 1 นิ้ว โมลด์แม่พิมพ์ขนาด 3 กิโลกรัม พื้นที่หน้าตัด 200 มิลลิเมตร วัสดุจากธรรมชาติที่ใช้คือกาบหมาก ขณะเครื่องทำงานควบคุมอุณหภูมิที่ 120 องศาเซลเซียส โดยใช้การควบคุมสั่งการผ่านโปรมแกรม Arduino UNO รุ่น R3 แบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ ผลการทดลองที่ 1 ศึกษาระยะเวลาและระยะห่างในการเคลื่อนที่ของโมลด์ที่มีผลต่อการบีบอัด โดยการทดลองเปลี่ยนระยะเวลาเป็น 11, 12, 13, 14 วินาที ทำให้ค่าเฉลี่ยระยะห่างของโมลด์มีค่า เท่ากับ 6.87, 3.41, 1.70, 0.85 เซนติเมตร จะได้ค่าความเค้นเท่ากับ 0.134, 0.190, 0.214, 0.224 N/m<sup>2 </sup> ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ศึกษาระยะเวลาในการขึ้นรูปภาชนะ โดยการทดลองระยะเวลาในการขึ้นรูปภาชนะโดยมีระยะเวลาเป็น 0, 30, 60, 90, 120 วินาที พบว่า ที่ระยะเวลาในการขึ้นรูป 120 วินาที ลักษณะของภาชนะมีรูปทรงตามที่ต้องการ บริเวณขอบภาชนะมีลักษณะบิดเบี้ยวเล็กน้อย มีความโค้งงอของภาชนะเล็กน้อย การทดลองที่ 3 ศึกษาความหนาของวัสดุธรรมชาติที่มีผลต่อการขึ้นรูป ที่ความหนาของกาบหมากเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 0.5 – 0.9, 1.0 – 1.4, 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร พบว่าความหนา 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร ลักษณะของกาบหมากมีรูปทรงคงรูปตามมาตราฐาน จากการทดลองทั้ง 3 การทดลอง ในการกำหนดเงื่อนไขของเครื่องขึ้นรูปภาชนะ ได้ดังนี้ ระยะเวลาในการเคลื่อนที่ของโมลด์ที่มีผลต่อการบีบอัดที่เหมาะสมที่สุดคือ 14 วินาที ระยะเวลาในการขึ้นรูปภาชนะ 120 วินาที ความหนาของวัสดุจากธรรมชาติที่ 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร นำมาขึ้นรูปได้รูปทรงสวยตามต้องการ สามารถทำให้เราได้ภาชนะตามที่ต้องการ มีรูปทรงสวย พร้อมนำไปใช้ประโยชน์</p> ชาญณรงค์ เรืองขจร อภิชาติ เถื่อนพรม ภูวสิษฎ์ เสียมสกุล Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-16 2025-01-16 3 2 14 24 10.57260/stc.2025.941 การพัฒนาสื่อการสอน แอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แอ่วเขลางค์นครลำปางบ้านเฮา https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/809 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการสอนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง สื่อการ์ตูนแอนิเมชันแอ่ว เขลางค์นครลำปางบ้านเฮา 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการสอน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจจากการใช้สื่อการสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ครั้งนี้คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการสอนแอนิเมชัน 2 มิติ 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อของผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจจากการใช้สื่อการสอน วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ 1) สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ สื่อการ์ตูนแอนิเมชันแอ่วเขลางค์นครลำปางบ้านเฮา สำหรับ ประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถนำมาใช้เป็นสื่อ ประกอบการสอนในสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ รายวิชาประวัติศาสตร์ได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.54 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.54</p> ทศพร ศรีล้อม กีรติ ไชยญา ศิริกรณ์ กันขัติ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-16 2025-01-16 3 2 25 39 10.57260/stc.2025.809 การคัดกรองไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกในชุมชนพื้นที่จังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/997 <p>การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคัดกรองไวรัสตับอักเสบ บี และซี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกในชุมชนด้วยชุดตรวจ Rapid test ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี จำนวน 717 คน โดยใช้แบบฟอร์มการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ของศูนย์สาธิตเวชศาสตร์ป้องกัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมโรค การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.46 มีสัญชาติไทย ร้อยละ 100 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 39.61 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 26.92 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 62.34 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 54.95 ไม่เคยตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 90.10 ไม่เคยตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 93.44 ไม่เคยได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 97.63 มีความเสี่ยงเกิดก่อนปี 2535 ร้อยละ 91.91 ผลการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg) เป็นบวก ร้อยละ 2.09 และผลการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (Anti-HCV) เป็นบวก ร้อยละ 0.42 ดังนั้นในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี ควรมีการส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างหน่วยบริการสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเร่งรัดการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน และจัดบริการส่งต่อให้ผู้ที่มีผลบวกได้เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว</p> สุชาญวัชร สมสอน Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-16 2025-01-16 3 2 40 52 10.57260/stc.2025.997 การพัฒนาระบบการดูแลแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ สารเสพติด โรงพยาบาลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/1005 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วม โรงพยาบาลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร การวิจัยใช้วิธีการแบบ R&amp;D (Research and Development) โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล 2) การพัฒนาระบบการดูแลโดยใช้กระบวนการ A-I-C (Appreciation, Influence, Control) และ 3) การประเมินผลระบบที่พัฒนาขึ้น ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวชจากสารเสพติดในระดับสูง (58.40%) ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่และเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี เช่น VDO Call และแอปพลิเคชันช่วยเพิ่มความสะดวกในการติดตามและลดการเดินทางของผู้ป่วย การประเมินผลแสดงให้เห็นว่าระบบสามารถลดอาการกำเริบของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ สร้างความยั่งยืนและความพึงพอใจในชุมชน</p> อารีฌา มูลพรม Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-16 2025-01-16 3 2 53 68 10.57260/stc.2025.1005