วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC <p><strong>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน </strong><strong>(Science and Technology to Community</strong><strong>)</strong></p> <p>วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มีเป้าหมายและขอบเขต (Aim and Scope) ที่รับตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนได้แก่<br />1) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ <br /> - ชีววิทยา - จุลชีววิทยา <br /> - ชีวเคมี - เทคโนโลยีการอาหาร <br /> - พืชศาสตร์ - สัตวศาสตร์ <br /> - ปฐพีวิทยา - โรคพืช <br /> - การส่งเสริมการเกษตร - เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และสิ่งแวดล้อม<br />2) วิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ <br /> - เคมี - ฟิสิกส์ - วัสดุศาสตร์ <br /> - คณิตศาสตร์ - เทคโนโลยีสารสนเทศ<br /> - วิศวกรรมศาสตร์ - เทคโนโลยีอุตสาหกรรม <br /> - วิทยาศาสตร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม <br />3) วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ <br /> - สร้างเสริมพัฒนาสุขภาพชุมชน - อนามัยสิ่งแวดล้อม - อาชีวอนามัย - สารสนเทศทางสุขภาพ </p> <p>ISSN 2822-132X (Print)<br />ISSN 2822-1338 (Online)</p> <p><strong>รูปแบบของวารสาร<br /></strong><span style="font-size: 0.875rem;">1. กำหนดออก ปีละ 6 ฉบับ ฉบับละ 5 บทความ<br /></span> ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br /> ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน<br /> ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br /> ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br /> ฉบับที่ 5 กันยายน– ตุลาคม<br /> ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. บทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ บทความละ 3 ท่านต่อเรื่อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind Peer Review) <br /><br />3. นโยบายด้านค่าธรรมเนียม <strong>ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งบทความ</strong> (เนื่องจากได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)<br /></span></p> <p><strong>การเตรียมต้นฉบับบทความ </strong><strong>มีรายละเอียดดังนี้<br /><br /><a title="Download Format ของวารสาร " href="https://docs.google.com/document/d/1UtDFjEvgpnTSk4y_jz83W6-hO7qDa2PV/edit?usp=sharing&amp;ouid=116414079090104673383&amp;rtpof=true&amp;sd=true">Download Format ของวารสาร </a> </strong></p> <p><strong>รูปแบบการพิมพ์</strong></p> <ol> <li><strong> ตัวอักษร</strong> : ใช้ตัวอักษร <strong>Th Sarabun PSK</strong> </li> </ol> <p><strong>ชื่อบทความภาษาไทยใช้อักษรตัวหนา ขนาด 20 </strong><strong>pt</strong> ชิดซ้าย</p> <p>ชื่อบทความภาษาอังกฤษอักษรธรรมดาขนาด ขนาด 20 pt ชิดซ้าย</p> <p><strong>ชื่อผู้เขียน (ทั้งไทยและอังกฤษ)</strong> <strong>ใช้อักษรตัวหนา ขนาด 18 </strong><strong>pt</strong> ชิดขวา</p> <p>หน่วยงานผู้เขียน (ทั้งไทยและอังกฤษ) ใช้อักษรธรรมดา ขนาด 16 pt ชิดขวา</p> <p>E-Mail และเบอร์โทร ใช้อักษรธรรมดา ขนาด 16 pt ชิดขวา</p> <p><strong>หัวข้อหลักใช้อักษรตัวหนา ขนาด 18 </strong><strong>pt</strong> </p> <p>เนื้อเรื่องใช้อักษรตัวปกติ ขนาด 16 pt </p> <ol start="2"> <li><strong> การตั้งค่าหน้ากระดาษ</strong> : บนและซ้าย ขนาด 1 นิ้ว ล่างและขวาง ขนาด 1 นิ้ว</li> <li><strong> ความยาวของเนื้อหา</strong> : ไม่เกิน 15 หน้า รวมตารางรูปภาพ และเอกสารอ้างอิง</li> <li><strong>รูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษในเนื้อเรื่องภาษาไทย</strong> :</li> </ol> <ul> <li>ชื่อวิทยาศาสตร์ คำขึ้นต้นให้ใช้อักษรตัวใหญ่ และใช้ตัวอักษรเอียง เช่น <em>Uglena acus </em></li> <li>ชื่อเฉพาะให้ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ทุกคำ เช่น Berdmann, Lemmermann</li> <li>ภาษาอังกฤษทั้งในและนอกวงเล็บให้ใช้ตัวเล็ก เช่น Random complete block design</li> <li>ตัวย่อให้ใช้อักษรตัวใหญ่ทั้งหมด และควรมีคำเต็มบอกไว้ในการใช้ครั้งแรก เช่น (Random complete block design: RCBD)</li> </ul> <p><strong>การเรียงลำดับเนื้อหา </strong></p> <ol> <li><strong> ชื่อเรื่อง </strong><strong>(Title)</strong> : ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษเฉพาะตัวอักษรแรกของชื่อเรื่องเท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letter) นอกนั้นใช้ตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะ</li> <li><strong> ชื่อผู้วิจัย</strong> : ระบุชื่อ สกุล ของผู้วิจัยหลักและผู้ร่วมวิจัย โดยระบุสถานที่ทำงานหรือหน่วยงานที่สังกัดและอีเมล ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเบอร์โทรศัพท์</li> <li><strong> บทคัดย่อ (</strong><strong>Abstract)</strong> : (ภาษาไทยก่อนและตามด้วยภาษาอังกฤษ, กรณีเป็นบทความภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย) เป็นการสรุปสาระสำคัญ ประเภทวิจัย วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัยที่กระชับและชัดเจน และองค์ความรู้ใหม่ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งสิ่งที่จะส่งผลต่อสังคม ชุมชนท้องถิ่น ระบุตัวเลขสถิติที่สำคัญ ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์และเป็นร้อยแก้ว ไม่แบ่งเป็นข้อๆ โดยบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษขนาด A4 และให้ระบุคำสำคัญ (Keywords) ไว้ท้ายบทคัดย่อในแต่ละภาษา</li> <li><strong> บทนำ </strong><strong>(Introduction)</strong> : ให้เขียนอธิบายความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่ได้รับ</li> <li><strong>ระเบียบวิธีวิจัย </strong><strong>(Methodology)</strong> : อธิบายถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองและอธิบายวิธีการศึกษาทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล</li> <li><strong>ผลการวิจัย </strong><strong>(Results)</strong> : การเขียนเสนอผลการศึกษาควรกระชับและแสดงการวิจัยถึงผลที่ชัดเจน หากมีตาราง กราฟ หรือรูปภาพให้มีเนื้อหาหรือวิธีการอธิบายประกอบ</li> <li><strong> การอภิปรายผล (Discussions)</strong> : การเขียนอภิปรายผลการศึกษา เป็นการชี้แจงผลการวิจัยว่าตรงตามวัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่ อย่างไร ด้วยเหตุผลใด เปรียบเทียบหรือตีความเพื่อเน้นความสำคัญของงานและสรุปให้เข้าใจง่ายที่สุด</li> <li><strong> บทสรุปและข้อเสนอแนะ </strong><strong>(Conclusion and Suggestions) </strong>: ให้เขียนสรุปสาระสำคัญของผลงานวิจัยว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยเน้นถึงปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญ ตลอดจนข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์</li> <li><strong> องค์ความรู้ใหม่และผลที่เกิดต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่น </strong><strong>(New knowledge and the effects on society local and communities) </strong>: ให้เขียนสรุปองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นและผลที่เกิดต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่น</li> <li><strong>กิตติกรรมประกาศหรือคำขอบคุณ</strong> <strong>(Acknowledgement)</strong> : อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ โดยเป็นการแสดงความขอบคุณผู้ช่วยเหลือในงานวิจัยแต่ไม่ได้เป็นผู้ร่วมในงานวิจัย</li> <li><strong> เอกสารอ้างอิง </strong>ควรมีไม่ต่ำกว่า 10 รายการ และควรเป็นปัจจุบันให้มากที่สุด</li> </ol> <p>การอ้างอิงแบบแทรกปนไปกับเนื้อหา : เนื้อหาบทความใช้ระบบการอ้างอิงแบบนามปี (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) ตัวอย่างเช่น ....ลมุล รัตตากร (2529) ได้กำหนดคุณสมบัติของ………</p> <p> </p> <p><strong>รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง</strong></p> <p>การเขียนเอกสารอ้างอิงให้เรียงเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการที่อ้างอิง โดยเรียงลำดับแบบพจนานุกรม และให้เรียงภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ มีรูปแบบการเขียนแบบ APA 6 (American Psychological Association) ดังนี้</p> <ol> <li><strong> หนังสือ </strong></li> </ol> <p>ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). <em>ชื่อหนังสือ.</em> (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.</p> <p>สีลาภรณ์ บัวสาย. (2549). <em>เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล.</em> (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.</p> <p>Courtney, T. K. (1965). <em>Physical Fitness and Dynamic Health</em>. New York: McGrew-Hill Inc.</p> <ol start="2"> <li><strong> วารสาร </strong>(อางอิงวารสารที่มีความทันสมัย/เปนปจจุบันมากที่สุด)</li> </ol> <p>ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. <em>ชื่อวารสาร</em>, <em>ปีที่</em> (ฉบับที่), เลขหน้าเริ่มต้น-เลขหน้าสิ้นสุด.</p> <p>ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2531). การปฏิรูปหลักสูตรมหาวิทยาลัยในประเทศที่กำลังพัฒนา. <em>อุดมศึกษา,</em> <em>13</em> (34), 14-20.</p> <p>Elmastas, M., O. lsildak, I. Turkekal and N. Temar. (2007). Determination of antioxidant activity and antioxidant compounds inwild edible mashroom. <em>Food Composition and analysis</em>, <em>20</em>(1), 337-345<strong>.</strong></p> <ol start="3"> <li><strong> วิทยานิพนธ์ </strong>(หากเรื่องนั้นมีบทความในวารสารให้ใช้การอ้างอิงจากวารสาร)</li> </ol> <p>ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). <em>ชื่อวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าแบบอิสระ.</em><strong> (</strong>ระดับวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าแบบอิสระ คณะ). สถาบันการศึกษา. จังหวัด.</p> <p>ยุรีพรรณ แสนใจยา. (2545). <em>แนวทางการพัฒนาไร่ชาสุวิฬุห์ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงรายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร</em>. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.</p> <ol start="4"> <li><strong> เอกสารวิชาการอื่นๆ</strong></li> </ol> <p>ชื่อ สกุล ผู้เขียนหรือหน่วยงาน. (ปีที่พิมพ์). <em>ชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ.</em> ประเภทของเอกสาร. สถาบันหรือหน่วยงานที่จัดพิมพ์. สถานที่พิมพ์.</p> <p>คณะกรรมการอำนวยการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย. (2549). <em>คู่มือคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์</em>. สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร.</p> <ol start="5"> <li><strong> สื่ออิเล็กทรอนิกส</strong>์ (อางอิงเฉพาะขอมูลที่ทันสมัย/เปนปจจุบัน เชน สถิติจํานวนประชากร เปนตน)</li> </ol> <p>ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). <em>ชื่อเรื่อง.</em> สืบค้นจาก ชื่อ website </p> <p>สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร 2562. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>การส่งต้นฉบับ</strong></p> <p>จัดส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสาร</p> <p>ที่เว็บไซต์ https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/index</p> <p> </p> <p><strong>การประเมินบทความต้นฉบับ</strong> </p> <p>ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสังกัดของเข้าของบทความ และจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านต่อเรื่อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind peer review) สถาบันวิจัยและพัฒนาจะเป็นผู้สรรหา เพื่อรับการประเมิน กรณีมีการแก้ไขสถาบันวิจัยและพัฒนาจะส่งผลการอ่านประเมินคืนผู้เขียนให้เพิ่มเติม แก้ไข หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี</p> <p> </p> <p><strong>หมายเหตุ</strong></p> <ol> <li>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่</li> <li>เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</li> <li><strong>การส่งบทความไม่มีค่าใช้จ่าย</strong></li> </ol> th-TH <p>1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ <br />2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</p> research_journal@g.cmru.ac.th (Asst. Prof. Dr. ‪Rungnapa Tagun‬ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งนภา ทากัน)) khonta_1@hotmail.com (Dr.Khontaros Chaiyasut (ดร.ฆนธรส ไชยสุต กองบรรณาธิการวารสาร)) Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/960 <p>การวิจัยเชิงประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2567 ตามรูปแบบการประเมินโครงการของ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่เข้าร่วมโครงการรณรงค์ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ จำนวน 200 ราย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 50-59 ปี และจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านบริบท ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่หลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; .001) และระดับความพึงพอใจของโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคควรมีการอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มระยะเวลาในการจัดโครงการ เพิ่มนิทรรศการให้มีความหลากหลายขึ้น รวมถึงสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ในชุมชนได้ต่อไป</p> สุชาญวัชร สมสอน Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/960 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการนวดไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนและการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/943 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการนวดไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนและการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง จำนวน 70 คน จากการคำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*power version 3.1.9.7 แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการนวดไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตน จำนวน 35 คน และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพร จำนวน 35 คน ประเมินอาการปวดก่อนและหลังการรักษา จำนวน 2 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินอาการปวดเป็นระยะเวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Paired Sample t-test และค่า Independent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการนวดไทยร่วมกับออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนและกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรช่วยลดอาการปวดในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p &lt; .05) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความความเจ็บปวดระหว่างกลุ่ม พบว่า การนวดไทยร่วมกับออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง ได้มากกว่าการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p &lt; .05) ดังนั้นควรส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เพื่อช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ช่วยให้สุขภาพดีและป้องกันอาการปวดได้ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนร่วมกับการนวดไทยจะช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ยาแก้ปวด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน</p> อรุณี สิงห์รอ, ธีรยา วรปาณิ, ภรภัทร ดอกไม้, ปรายดาว เทพลำลึก Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/943 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/928 <p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและเปรียบเทียบความรู้และทักษะการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 79 ราย โดยใช้แบบสอบถามความรู้และทักษะการปฏิบัติตามแบบประเมิน SOS Score ในการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ SOS Score ของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test <br />ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลภายหลังการพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด พบผู้ป่วยมีภาวะช็อกลดลงเป็นร้อยละ 9.09 จากเดิม ร้อยละ 22.86 และไม่พบอัตราการเสียชีวิต พยาบาลวิชาชีพมีผลของคะแนนความรู้ก่อนและหลังการพัฒนาความรู้ในการใช้ SOS Score เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงร้อยละ 7.75 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>=.003) พยาบาลวิชาชีพมีทักษะการปฏิบัติตามแบบประเมิน SOS Score ในการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 83.52 สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em> p</em>= .001) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากร้อยละ 80.95 ต่อการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วย ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้</p> ยองใย นนท์มหา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/928 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 สมบัติทางกายภาพและเคมีของแผ่นฟิล์มชีวภาพจากแป้งมันฝรั่ง: ผลของการเติมซอร์บิทอล https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/802 <p>การผลิตแผ่นฟิล์มจากแป้งมันฝรั่งและศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ดำเนินการโดยละลายแป้งมันฝรั่ง 10 กรัม และพลาสติกไซเซอร์ คือ ซอร์บิทอล 0, 1, 3, และ 5 กรัม ในน้ำกลั่น 200 มิลลิลิตร กวนพร้อมให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ขึ้นรูปโดยการเทสารละลาย 100 กรัมลงในแม่พิมพ์แผ่นอะคริลิคขนาด 12 x 8 ตารางเซนติเมตร อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง จากนั้นนำแผ่นฟิล์มไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ได้แก่ ลักษณะเนื้อสัมผัส ความหนา ค่าความต้านทานแรงดึง เปอร์เซ็นต์การยืดและค่าการละลายน้ำ ผลการทดลอง พบว่า ลักษณะของแผ่นฟิล์มมีลักษณะโปร่งใสโดยแผ่นฟิล์มที่มีการเติมพลาสติกไซเซอร์ มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ไม่เปราะ ขยำแล้วไม่แตก แผ่นฟิล์มที่ไม่ใส่พลาสติไซเซอร์มีความเปราะสูง ขยำแล้วแตก ไม่มีความยืดหยุ่น โดยแป้งมันฝรั่งที่มีอัตราส่วนของซอร์บิทอล 0, 1, 3 และ5 กรัม ส่งผลให้แผ่นฟิล์มมีค่าความหนาเฉลี่ย 51.00, 60.30, 96.00 และ 74.30 ไมโครเมตร ตามลำดับ และมีค่าการยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณของซอร์บิทอลเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 8.44, 10.67, 18.92 และ 38.26 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีค่าต้านทานแรงดึงลดลง เฉลี่ย 43.72, 31.67, 9.02 และ 4.61 Mpa ตามลำดับ ผลทดสอบค่าการละลายน้ำ พบว่า แผ่นฟิล์มสามารถละลายน้ำได้ดีขึ้น เมื่อเติมซอร์บิทอล มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์การละลายน้ำเท่ากับ 26.63, 46.08, 47.67 และ 78.88 ตามลำดับ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า แป้งมันฝรั่งผสมซอร์บิทอลสามารถผลิตแผ่นฟิล์มชีวภาพได้</p> จิรวรรณ กัณฑ์ธรรม , วิมลรัตน์ พจน์ไตรทิพย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/802 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/828 <p>การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคคลทั่วไปวัยกลางคน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ 1) การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาการพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีขั้นตอนการพัฒนาโดย ใช้หลักการ 3P ในพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันซึ่งประกอบไปด้วย Pre-production (ขั้นตอนก่อนการผลิต) Production (ขั้นตอนการผลิต) Post-production (ขั้นตอนหลังการผลิต) ทำให้ได้การ์ตูนความยาว 7 นาที มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์และผลความพึงพอใจซึ่งอยู่ในระดับความรู้ความเข้าใจในระดับดี โดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48</p> อภิวัฒน์ ชัยกลาง , พิมพ์ชนก สุวรรณศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/828 Tue, 29 Oct 2024 00:00:00 +0700