https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/issue/feed วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร 2025-01-02T15:53:08+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.สรพงค์ เบญจศรี (บรรณาธิการวารสาร) sorapong@tsu.ac.th Open Journal Systems <p>ISSN 2822-1303 (Online)</p> <p>วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (Journal of Technology and Agricultural Innovation)เป็นวารสารผลงานวิจัย และผลงานวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์เกษตรและชีวภาพ (Agricultural and Biological Sciences) ของบุคลากร นักวิจัย นิสิต นักศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณ<br /><br /></p> https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/1035 เคล.....พืชอีกชนิดที่น่าสนใจของตลาดไทย 2025-01-02T15:53:08+07:00 สรพงค์ เบญจศรี sorapong@tsu.ac.th 2025-01-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/170 การสำรวจพืชสมุนไพรท้องถิ่นภาคใต้ตอนบนเพื่อการใช้ประโยชน์ทางยา 2023-07-03T15:59:12+07:00 สุธีรา ถาวรรัตน์ suteera2123@gmail.com จินตนาพร โครตสมบัติ suteera2123@gmail.com อรุโณทัย ซาววา suteera2123@gmail.com สมคิด ดำน้อย suteera2123@gmail.com อัญชลี ม่านทอง suteera2123@gmail.com อุดมพร เสือมาก suteera2123@gmail.com สุพินยา จันทร์มี suteera2123@gmail.com อาพร คงอิสโร suteera2123@gmail.com บรรเจิด พูลศิลป์ suteera2123@gmail.com ภาวินี คามวุฒิ suteera2123@gmail.com หทัยกาญจน์ สิทธา suteera2123@gmail.com นิภาภรณ์ ชูสีนวน suteera2123@gmail.com อัจฉรา ทองสวัสดิ์ suteera2123@gmail.com สุภาพร ขุนเสถียร suteera2123@gmail.com เพ็ญติมาส กระมุท suteera2123@gmail.com อรสิริ ดำน้อย suteera2123@gmail.com สังวาล จันทาสี suteera2123@gmail.com <p>การสำรวจพืชสมุนไพรท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนเพื่อการใช้ประโยชน์ทางยา ดำเนินการระหว่างปี 2563 - 2564 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสำรวจชนิด สรรพคุณทางยา ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในพื้นที่ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิต ผู้ใช้ประโยชน์ และผู้ให้บริการ จำนวน 120 ราย และ 2. เพื่อตรวจสอบสารสำคัญ และลำดับนิวคลีโอไทด์เบื้องต้นของพืชสมุนไพรท้องถิ่นบางชนิด พบว่า พื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีการใช้พืชสมุนไพรเป็นยาสำหรับสุขภาพภายใน 40 ชนิด ภายนอก 1 ชนิด และทั้งภายในภายนอก 11 ชนิด พบสารสำคัญ 11 ชนิด คือ total triterpenoids (หนุมานประสานกาย), total flavonoids (ชาพระ), total phenolics (ว่านหอมแดง), andrographolide (ฟ้าทะลายโจร), total curcuminoid (ขมิ้นด้วง), β-sitosterol (กระบือเจ็ดตัว), myristicin (จันทน์เทศ), terpinene-4-ol (เปราะหอม), total glucan, β-glucan และ α-glucan (เห็ดแครง) พบว่าคู่เบสของลำดับนิวคลีโอไทด์พืชสมุนไพรสามารถตรวจสอบได้ด้วยไพรเมอร์ยีน ITS และ <em>rpoC1</em> และมีขนาดเท่ากับ 500-700 และ 500 ตามลำดับ สำหรับข้อจำกัดของการผลิตและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในพื้นที่ 3 ลำดับต้น คือ วัตถุดิบหายาก (39.17%) ด้านความสะอาดและการปนเปื้อน (34.17%) และข้อมูลผลข้างเคียงกับร่างกาย (32.00%) ส่วนข้อเสนอแนะเสนอให้มีการศึกษาพร้อมประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางการแพทย์เพิ่มขึ้น สูงถึง 52.50% ตามด้วยเพิ่มช่องทางการตลาดและตลาดรับซื้อประจำ (40.83%) เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูลการวิจัยนี้สามารถใช้สำหรับการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการใช้ประโยชน์ได้ เป็นข้อมูลทางเลือกสำหรับการรักษาสุขภาพและเพิ่มรายได้ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการหวงแหนและอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรในพื้นที่ได้ต่อไป</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/179 ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของมะม่วงพันธุ์ไทย พันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม ในศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ 2023-01-30T10:15:25+07:00 รัชนี ศิริยาน noy_siriyan@hotmail.com สมพงษ์ สุขเขตต์ sompong.sk26@gmail.com ธวชัชัย นิ่มกิ่งรรัตน์ siriyannoy@yahoo.com ศจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล suchirat1@yahoo.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะม่วงพันธุ์ไทย พันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม 24 พันธุ์/สายพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ จำนวน 50 ไพรเมอร์ สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ 48 ไพรเมอร์ พบแถบดีเอ็นเอที่ให้ความแตกต่าง 185 แถบ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาค่า similarity coefficient แล้วสร้างเดนโดรแกรมด้วยโปรแกรม NTSYS pc 2.1 เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และศึกษาโครงสร้างภายในของลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆ ด้วยโปรแกรม Structure v.2.3 สามารถจัดกลุ่มมะม่วงเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย น้ำดอกไม้ ศก.0072 ออสเตรเลีย น้ำดอกไม้สีทอง และออนซอน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย Aroomanis ศก.0083 อกร่องตาเปรื่อง น้ำดอกไม้ตาเลี๊ยบ ศก.0080 ศก.0005A ศก.0005B ศก.0082 ศก.0095 และ Sensation กลุ่มที่ 3 คือ India เล็ก และ Keitte กลุ่มที่ 4 คือ Salam กลม Kensington และ R2E2 กลุ่มที่ 5 คือ Kent และ Lippen กลุ่มที่ 6 และ กลุ่มที่ 7 มีเพียงพันธุ์เดียว คือ Salam ยาว และ India ใหญ่ ตามลำดับ โดยพบว่า มะม่วงลูกผสมเป็นลูกผสมในกลุ่มน้ำดอกไม้ทั้งหมด </p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/743 ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบของกัญชา สายพันธุ์ต่างประเทศ (Cluster Bomb) และสายพันธุ์ไทย (Thai Stick) 2024-07-07T11:21:11+07:00 สาธิต เอี่ยมจงจันทร์ sathid.a@ptu.ac.th อริสา โรจนเบญจกุล sathid.a@ptu.ac.th ภัทรวดี ฉิมเล็ก sathid.a@ptu.ac.th ญณภัทร วรัทธนาฉัตร sathid.a@ptu.ac.th คุณพัทธ์ ลามาติพานนท์ sathid.a@ptu.ac.th ศิรกาญจน์ บูรณวิทยานนท์ sathid.a@ptu.ac.th บัณฑิตา ปรังประโคน sathid.a@ptu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารสกัดกัญชาจากสองสายพันธุ์ คือ Thai Stick และ Cluster Bomb โดยใช้วิธีการสกัดด้วยสารสกัดตัวทำละลายไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) และวัดความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระ (DPPH assay) และกิจกรรมต้านออกซิเดชันทางการตอบสนองชีวภาพ (FRAP assay) รวมถึงการยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ของสารสกัดที่ได้จากช่อดอกใบและลำต้นทั้งสองสายพันธุ์ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากดอกของ Cluster Bomb มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและยับยั้งอนุมูลอิสระได้มากกว่า Thai Stick ในทั้ง DPPH assay และ FRAP assay อย่างไรก็ตาม สารสกัดจากใบของ Thai Stick กลับมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและยับยั้งอนุมูลอิสระได้มากกว่า Cluster Bomb ใน FRAP assay โดยสารสกัดจากลำต้นไม่แสดงผลต่างจากสารสกัดจากใบและดอก ดังนั้นการเลือกใช้ส่วนของพืชที่มีสารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและยับยั้งอนุมูลอิสระสูงสุด เช่น ดอกหรือใบและสายพันธุ์ที่สอดคล้องกับสภาวะอากาศจึงเหมาะสมกับการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารหรือเครื่องสำอางหรือยาต่างๆได้ตามที่ต้องการ</p> 2024-12-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/848 ผลของวัสดุปลูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตทางด้าน ลำต้นและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก 2024-07-12T17:02:21+07:00 จตุพร ไกรถาวร jathuporn@tsu.ac.th <p>กัญชาสายพันธุ์หางกระรอกเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจและมีแนวโน้มที่สำคัญทางเศรษฐกิจในการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในอนาคต การเลือกใช้วัสดุปลูกในท้องถิ่นที่สามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมจึงเป็นวิธีการผลิตกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกให้มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง การทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของวัสดุปลูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก ดำเนินงานทดลอง ณ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2565 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ทรีตเมนต์ ทรีตเมนต์ละ 4 ซ้ำ โดยใช้วัสดุปลูกประกอบด้วย หน้าดิน : มูลวัว : แกลบเผา : ขุยมะพร้าว อัตราส่วนโดยปริมาตร 2 : 1 : 0.5 : 0.5 ร่วมกับการจัดการปุ๋ยจำนวน 4 ทรีตเมนต์ คือ ทรีตเมนต์ที่ 1 ไม่มีการใส่ปุ๋ย (Control) ทรีตเมนต์ที่ 2 ใส่มูลวัว อัตรา 3,000 กก./ไร่ ทรีตเมนต์ที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี (15-15-15) อัตรา 25 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย (CF+Urea) (46-0-0) อัตรา 25 กก./ไร่ ทรีตเมนต์ที่ 4 ใส่มูลวัว อัตรา 1,500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี (15-15-15) อัตรา 12.50 กก./ไร่ และปุ๋ยยูเรีย (CM+CF+Urea) (46-0-0) อัตรา 12.50 กก./ไร่ ผลการศึกษาพบว่าในสัปดาห์ที่ 8 ทรีตเมนต์ที่ 1 มีการเจริญเติบโตสูงสุดทั้งความสูงต้น 265.75 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.14 เซนติเมตร จำนวนข้อ 41.50 ข้อ สูงกว่าทุกทรีตเมนต์และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อขนาดทรงพุ่ม 2.26 ตารางเมตร น้ำหนักสดรวม 1,027.28 กรัมต่อต้น และน้ำหนักแห้งรวม 447.47 กรัมต่อต้น สูงกว่าทุกทรีตเมนต์แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่พบว่าทรีตเมนต์ที่ 3 ส่งผลต่อพื้นที่ใบสูงสุด 121.13 ตารางเซนติเมตร สูงกว่าทุกทรีตเมนต์ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นการปลูกกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกโดยใช้วัสดุปลูกที่ประกอบด้วย หน้าดิน : มูลวัว : แกลบเผา : ขุยมะพร้าว อัตราส่วนโดยปริมาตร 2 : 1 : 0.5 : 0.5 และไม่มีการใส่ปุ๋ยตลอดอายุการเก็บเกี่ยวสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกที่มีคุณภาพสูงสุด มีความคุ้มค่า และปลอดภัยจากสารพิษตกค้างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ