วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai <p>ISSN 2822-1303 (Online)</p> <p>วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (Journal of Technology and Agricultural Innovation)เป็นวารสารผลงานวิจัย และผลงานวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์เกษตรและชีวภาพ (Agricultural and Biological Sciences) ของบุคลากร นักวิจัย นิสิต นักศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณ<br /><br /></p> คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ th-TH วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร 2822-1303 เคล.....พืชอีกชนิดที่น่าสนใจของตลาดไทย https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/1035 สรพงค์ เบญจศรี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-02 2025-01-02 2 2 10.55164/jtai.v2i2.1035 การสำรวจพืชสมุนไพรท้องถิ่นภาคใต้ตอนบนเพื่อการใช้ประโยชน์ทางยา https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/170 <p>การสำรวจพืชสมุนไพรท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนเพื่อการใช้ประโยชน์ทางยา ดำเนินการระหว่างปี 2563 - 2564 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสำรวจชนิด สรรพคุณทางยา ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในพื้นที่ ด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิต ผู้ใช้ประโยชน์ และผู้ให้บริการ จำนวน 120 ราย และ 2. เพื่อตรวจสอบสารสำคัญ และลำดับนิวคลีโอไทด์เบื้องต้นของพืชสมุนไพรท้องถิ่นบางชนิด พบว่า พื้นที่ภาคใต้ตอนบนมีการใช้พืชสมุนไพรเป็นยาสำหรับสุขภาพภายใน 40 ชนิด ภายนอก 1 ชนิด และทั้งภายในภายนอก 11 ชนิด พบสารสำคัญ 11 ชนิด คือ total triterpenoids (หนุมานประสานกาย), total flavonoids (ชาพระ), total phenolics (ว่านหอมแดง), andrographolide (ฟ้าทะลายโจร), total curcuminoid (ขมิ้นด้วง), β-sitosterol (กระบือเจ็ดตัว), myristicin (จันทน์เทศ), terpinene-4-ol (เปราะหอม), total glucan, β-glucan และ α-glucan (เห็ดแครง) พบว่าคู่เบสของลำดับนิวคลีโอไทด์พืชสมุนไพรสามารถตรวจสอบได้ด้วยไพรเมอร์ยีน ITS และ <em>rpoC1</em> และมีขนาดเท่ากับ 500-700 และ 500 ตามลำดับ สำหรับข้อจำกัดของการผลิตและการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรในพื้นที่ 3 ลำดับต้น คือ วัตถุดิบหายาก (39.17%) ด้านความสะอาดและการปนเปื้อน (34.17%) และข้อมูลผลข้างเคียงกับร่างกาย (32.00%) ส่วนข้อเสนอแนะเสนอให้มีการศึกษาพร้อมประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางการแพทย์เพิ่มขึ้น สูงถึง 52.50% ตามด้วยเพิ่มช่องทางการตลาดและตลาดรับซื้อประจำ (40.83%) เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูลการวิจัยนี้สามารถใช้สำหรับการพัฒนานวัตกรรมการผลิตและการใช้ประโยชน์ได้ เป็นข้อมูลทางเลือกสำหรับการรักษาสุขภาพและเพิ่มรายได้ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการหวงแหนและอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรในพื้นที่ได้ต่อไป</p> สุธีรา ถาวรรัตน์ จินตนาพร โครตสมบัติ อรุโณทัย ซาววา สมคิด ดำน้อย อัญชลี ม่านทอง อุดมพร เสือมาก สุพินยา จันทร์มี อาพร คงอิสโร บรรเจิด พูลศิลป์ ภาวินี คามวุฒิ หทัยกาญจน์ สิทธา นิภาภรณ์ ชูสีนวน อัจฉรา ทองสวัสดิ์ สุภาพร ขุนเสถียร เพ็ญติมาส กระมุท อรสิริ ดำน้อย สังวาล จันทาสี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 2 10.55164/jtai.v2i2.170 ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของมะม่วงพันธุ์ไทย พันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม ในศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/179 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะม่วงพันธุ์ไทย พันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์ลูกผสม 24 พันธุ์/สายพันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ จำนวน 50 ไพรเมอร์ สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ 48 ไพรเมอร์ พบแถบดีเอ็นเอที่ให้ความแตกต่าง 185 แถบ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาค่า similarity coefficient แล้วสร้างเดนโดรแกรมด้วยโปรแกรม NTSYS pc 2.1 เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และศึกษาโครงสร้างภายในของลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆ ด้วยโปรแกรม Structure v.2.3 สามารถจัดกลุ่มมะม่วงเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย น้ำดอกไม้ ศก.0072 ออสเตรเลีย น้ำดอกไม้สีทอง และออนซอน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย Aroomanis ศก.0083 อกร่องตาเปรื่อง น้ำดอกไม้ตาเลี๊ยบ ศก.0080 ศก.0005A ศก.0005B ศก.0082 ศก.0095 และ Sensation กลุ่มที่ 3 คือ India เล็ก และ Keitte กลุ่มที่ 4 คือ Salam กลม Kensington และ R2E2 กลุ่มที่ 5 คือ Kent และ Lippen กลุ่มที่ 6 และ กลุ่มที่ 7 มีเพียงพันธุ์เดียว คือ Salam ยาว และ India ใหญ่ ตามลำดับ โดยพบว่า มะม่วงลูกผสมเป็นลูกผสมในกลุ่มน้ำดอกไม้ทั้งหมด </p> รัชนี ศิริยาน สมพงษ์ สุขเขตต์ ธวชัชัย นิ่มกิ่งรรัตน์ ศจิรัตน์ สงวนรังศิริกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 2 10.55164/jtai.v2i2.179 ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบของกัญชา สายพันธุ์ต่างประเทศ (Cluster Bomb) และสายพันธุ์ไทย (Thai Stick) https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/743 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารสกัดกัญชาจากสองสายพันธุ์ คือ Thai Stick และ Cluster Bomb โดยใช้วิธีการสกัดด้วยสารสกัดตัวทำละลายไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) และวัดความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระ (DPPH assay) และกิจกรรมต้านออกซิเดชันทางการตอบสนองชีวภาพ (FRAP assay) รวมถึงการยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ของสารสกัดที่ได้จากช่อดอกใบและลำต้นทั้งสองสายพันธุ์ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากดอกของ Cluster Bomb มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและยับยั้งอนุมูลอิสระได้มากกว่า Thai Stick ในทั้ง DPPH assay และ FRAP assay อย่างไรก็ตาม สารสกัดจากใบของ Thai Stick กลับมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและยับยั้งอนุมูลอิสระได้มากกว่า Cluster Bomb ใน FRAP assay โดยสารสกัดจากลำต้นไม่แสดงผลต่างจากสารสกัดจากใบและดอก ดังนั้นการเลือกใช้ส่วนของพืชที่มีสารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและยับยั้งอนุมูลอิสระสูงสุด เช่น ดอกหรือใบและสายพันธุ์ที่สอดคล้องกับสภาวะอากาศจึงเหมาะสมกับการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารหรือเครื่องสำอางหรือยาต่างๆได้ตามที่ต้องการ</p> สาธิต เอี่ยมจงจันทร์ อริสา โรจนเบญจกุล ภัทรวดี ฉิมเล็ก ญณภัทร วรัทธนาฉัตร คุณพัทธ์ ลามาติพานนท์ ศิรกาญจน์ บูรณวิทยานนท์ บัณฑิตา ปรังประโคน Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 2 2 10.55164/jtai.v2i2.743 ผลของวัสดุปลูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตทางด้าน ลำต้นและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/848 <p>กัญชาสายพันธุ์หางกระรอกเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจและมีแนวโน้มที่สำคัญทางเศรษฐกิจในการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในอนาคต การเลือกใช้วัสดุปลูกในท้องถิ่นที่สามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมจึงเป็นวิธีการผลิตกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกให้มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง การทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของวัสดุปลูกร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก ดำเนินงานทดลอง ณ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2565 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ทรีตเมนต์ ทรีตเมนต์ละ 4 ซ้ำ โดยใช้วัสดุปลูกประกอบด้วย หน้าดิน : มูลวัว : แกลบเผา : ขุยมะพร้าว อัตราส่วนโดยปริมาตร 2 : 1 : 0.5 : 0.5 ร่วมกับการจัดการปุ๋ยจำนวน 4 ทรีตเมนต์ คือ ทรีตเมนต์ที่ 1 ไม่มีการใส่ปุ๋ย (Control) ทรีตเมนต์ที่ 2 ใส่มูลวัว อัตรา 3,000 กก./ไร่ ทรีตเมนต์ที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมี (15-15-15) อัตรา 25 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย (CF+Urea) (46-0-0) อัตรา 25 กก./ไร่ ทรีตเมนต์ที่ 4 ใส่มูลวัว อัตรา 1,500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี (15-15-15) อัตรา 12.50 กก./ไร่ และปุ๋ยยูเรีย (CM+CF+Urea) (46-0-0) อัตรา 12.50 กก./ไร่ ผลการศึกษาพบว่าในสัปดาห์ที่ 8 ทรีตเมนต์ที่ 1 มีการเจริญเติบโตสูงสุดทั้งความสูงต้น 265.75 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.14 เซนติเมตร จำนวนข้อ 41.50 ข้อ สูงกว่าทุกทรีตเมนต์และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อขนาดทรงพุ่ม 2.26 ตารางเมตร น้ำหนักสดรวม 1,027.28 กรัมต่อต้น และน้ำหนักแห้งรวม 447.47 กรัมต่อต้น สูงกว่าทุกทรีตเมนต์แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่พบว่าทรีตเมนต์ที่ 3 ส่งผลต่อพื้นที่ใบสูงสุด 121.13 ตารางเซนติเมตร สูงกว่าทุกทรีตเมนต์ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้นการปลูกกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกโดยใช้วัสดุปลูกที่ประกอบด้วย หน้าดิน : มูลวัว : แกลบเผา : ขุยมะพร้าว อัตราส่วนโดยปริมาตร 2 : 1 : 0.5 : 0.5 และไม่มีการใส่ปุ๋ยตลอดอายุการเก็บเกี่ยวสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกที่มีคุณภาพสูงสุด มีความคุ้มค่า และปลอดภัยจากสารพิษตกค้างสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> จตุพร ไกรถาวร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-24 2024-12-24 2 2 10.55164/jtai.v2i2.848