วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai <p>ISSN 2822-1303 (Online)</p> <p>วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (Journal of Technology and Agricultural Innovation)เป็นวารสารผลงานวิจัย และผลงานวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์เกษตรและชีวภาพ (Agricultural and Biological Sciences) ของบุคลากร นักวิจัย นิสิต นักศึกษาภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณ<br /><br /></p> th-TH sorapong@tsu.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร.สรพงค์ เบญจศรี (บรรณาธิการวารสาร)) journaltai65@gmail.com (นางสาวปนัดดา อินทร์ดำ (กองจัดการวารสาร)) Mon, 05 Aug 2024 10:29:33 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ประสิทธิภาพของพรรณไม้น้ำสวยงามต่อการบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มกบ Efficiency of Various Ornamental Aquatic Plants for Frog Farming Effluent Treatment https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/176 <p>ศึกษาการบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงกบด้วยพรรณไม้น้ำสวยงาม ได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก สาหร่าย คาบอมบา สันตะวาใบข้าว และสาหร่ายดาวกระจาย เป็นเวลา 15 วัน ซึ่งนอกจากเป็นการบำบัดน้ำเสีย จากการ เลี้ยงสัตว์น้ำ แล้วยังเกิดการใช้ประโยชน์น้ำเสียเพื่อเพาะปลูกพรรณไม้น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ น้ำเสียเริ่มต้นมีปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท และออร์โธฟอสเฟต 23.06, 0.01, 11.76 และ 1.05 mg/L ตามลำดับ พบว่า สาหร่ายคาบอมบา ลดปริมาณแอมโมเนีย และไนเตรทได้ 100.00±0.00% และ 54.79±13.57% ในเวลา 6 วัน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าชุดการทดลองอื่นๆ (p&lt;0.05) ขณะที่สันตะวาใบข้าวลดปริมาณไนไตรท์ได้มากที่สุดในเวลา 6 วัน (26.95±5.01%) สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายคาบอมบา และสาหร่ายดาวกระจายมีประสิทธิภาพในการลดออร์โธฟอสเฟตใน เวลา 9 วัน โดยมีค่า 66.12±10.33%, 53.51±4.77% และ 42.05±6.16% ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ระยะเวลา 15 วัน พบว่า สันตะวาใบข้าวไม่สามารถเจริญได้ โดยที่มวลชีวภาพของสาหร่ายคาบอมบา และสาหร่ายดาวกระจาย ลดลง กว่ามวลชีวภาพ เริ่มต้น แต่สาหร่ายหางกระรอกมีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้น การทดลองสรุปว่าสาหร่ายคาบอมบา มีศักยภาพเป็นพรรณ ไม้น้ำสวยงามสำหรับบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงกบได้ในระยะเวลา 6-9 วัน แต่ในระยะเวลาที่นานกว่านี้ ทำให้พืชมีการเจริญลดลง</p> อานุช คีรีรัฐนิคม, แสงมณี หวานเสนาะ, สุภฏา คีรีรัฐนิคม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/176 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii (Ehrenberg) Ascheron https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/183 <p>การศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหญ้าชะเงาเต่า <em>Thalassia hemprichii</em> (Ehrenberg) Ascherson ศึกษา&nbsp;&nbsp; การฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนเนื้อเยื่อของหญ้าทะเลที่เหมาะสม จากการศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ ในสูตร&nbsp; ที่ 1-4 เป็นการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ ที่ระดับความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 5,10,15 และ 20 นาที และสูตรที่ 5-7 เป็นการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ ครั้งที่ 1 ที่ระดับความเข้มข้น 8, 10 และ12 เปอร์เซ็นต์ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;เป็นเวลา 10 นาที และครั้งที่ 2 ที่ระดับความเข้มข้น 4, 5 และ 6 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 15 นาที พบว่าการฟอกฆ่าเชื้อ &nbsp;&nbsp;&nbsp;วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือวิธีที่ 3 คือการฟอกฆ่าเชื้อด้วยไฮเตอร์ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 15 นาที มีการรอดชีวิตชิ้นส่วนของใบ 26.67 เปอร์เซ็นต์ (8.00±0.41) ชิ้นส่วนโคนใบ 23.33 เปอร์เซ็นต์ (7.00±0.44) และชิ้นส่วนลำต้นใต้ดิน 21.10 เปอร์เซ็นต์ (6.33±0.50) พบว่าการฟอกฆ่าเชื้อด้วยไฮเตอร์ ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 15 นาที เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือมีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ต่ำที่สุด และจากการศึกษาสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มี&nbsp;&nbsp; ความเหมาะสมต่อการพัฒนาเนื้อเยื่อหญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii) (Ehrenberg) Ascherson ที่ระดับ&nbsp;&nbsp; ความเข้มข้นต่างๆของ BA (6-Benzyl aminopurine) ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 2.0 และ 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA (Naphthalene acetic acid) ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 2.0 และ 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายในระยะเวลา &nbsp;2 เดือน พบว่าเปอร์เซ็นต์ การรอดชีวิตชิ้นส่วนของใบ ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆของ BA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละ 0.77 (0.23±0.40) เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตชิ้นส่วนของโคนใบ ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆของ BA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละ 0.80 (0.24±0.31) และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตชิ้นส่วนของลำต้นใต้ดิน ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆของ BA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละ 0.87 (0.26±0.33)&nbsp; และมีการเจริญเป็นต้นใหม่จำนวน 1 ต้น&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;<sup>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</sup></p> สุรินทร บุญรอด, สมภพ ยี่สุ่น, สุภาวดี กลับใหม่ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/183 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 ผลของตำแหน่งทรงพุ่มต่อการติดผลและคุณภาพ ผลผลิตส้มโอพันธุ์มณีอีสาน https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/184 <p>การศึกษาตำแหน่งของทรงพุ่มที่มีผลต่อการติดผลและลักษณะคุณภาพผลของส้มโอ (Citrus grandis (L.) Osbeck) พันธุ์ มณีอีสาน ในสภาพแปลงปลูก ของเกษตรกร ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ วัตถุประสงค์ของ การศึกษาเพื่อทราบถึงลักษณะของการติดผล การจัดชั้นคุณภาพของผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตส้มโอในตำแหน่งทรงพุ่มที่ต่างกัน 3 ตำแหน่ง ตำแหน่งของผลบนต้น ประกอบด้วย ส่วนบนของทรงพุ่ม ส่วนกลางของทรงพุ่ม และส่วนล่าง<br />ของทรงพุ่ม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งกึ่งกลางของทรงพุ่มมีจำนวนการติดผลมากที่สุด (43.7%) รวมทั้งมีผลผลิตที่มีเกรด A มากที่สุดด้วย ในขณะที่ตำแหน่งส่วนบนของทรงพุ่มมีจำนวนการติดผลน้อยที่สุด (20.8%) ผลที่ติด ในตำแหน่งส่วนล่างของทรงพุ่ม และส่วนกลางของทรงพุ่ม มีน้ำหนักผลที่มากกว่าผลในตำแหน่งส่วนบนของทรงพุ่มอย่างไรก็ตามตำแหน่งของทรงพุ่มที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผลต่อปริมาตรของผล ขนาดผล ความหนาเนื้อ ความแน่นเนื้อปริมาณ ของแข็งที่ละลายในน้ำได้ และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้</p> สมยศ มีทา, สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อิศรางกูร ณ อยุธยา, ศุภัชญา นามพิลา, สังคม เตชะวงค์เสถียร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/184 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 การควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita โดยสปอร์แขวนลอยของเชื้อรา Trichoderma spp. https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/188 <p>โรครากปมจัดเป็นสาเหตุโรคที่สำคัญต่อการผลิตพืชอย่างมาก เนื่องจากไส้เดือนฝอยดังกล่าวมีพืชอาศัยที่กว้างและเพิ่ม ปริมาณได้อย่างรวดเร็วทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยาก การใช้เชื้อรา Trichoderma spp. ที่แยกได้ จากธรรมชาติ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะควบคุมโรครากปมเพราะเชื้อรานี้สามารถเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพสปอร์แขวนลอยของเชื้อรา Trichoderma spp. ต่อการเข้าทำลายไส้เดือนฝอยรากปม<br />(Meloidogyne sp.) ในระดับห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง โดยสุ่มเก็บตัวอย่างดินจากแหล่งปลูกนาข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 50 ไอโซเลท การทดสอบ พบว่ามีเชื้อรา Trichoderma spp. จำนวน 9 ไอโซเลท ได้แก่ Sp1, Sp4, Sp6.3/2, Ay10.1, DR 3.1/1, DR3.2, KU1.1/1, KU1.1/2 และ SPB04 ที่มีประสิทธิภาพในการ เข้าทำลายตัวอ่อนระยะที่ 2 และไข่ของไส้เดือนฝอยรากปมได้ เมื่อศึกษากลไกการเข้าทำลายพบว่า เชื้อราสามารถสร้างเส้นใย พัดรัดตัวอ่อนระยะที่ 2 และสร้างเส้นใยเจริญคลุมทับกลุ่มไข่ของไส้เดือนฝอยได้ สำหรับการทดสอบในเรือนทดลอง<br />พบว่าเชื้อราทั้ง 9 ไอโซเลท สามารถลดการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย ในรากข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับชุดทดลองควบคุม</p> <p> </p> วิไลวรรณ สารพงษ์ สารพงษ์, อมรศรี ขุนอินทร์, สิรินภา ช่วงโอภาส, วรรณวิไล อินทนู Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/188 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 ผลของการเสริมใยอาหารจากเปลือกมะม่วงที่มีต่อคุณลักษณะ ของผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/540 <p> งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการเสริมใยอาหารจากเปลือกมะม่วงที่มีต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต โดยศึกษา การสกัดเส้นใยจากเปลือกมะม่วง 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์มหาชนกและพันธุ์มันศรีวิชัย (ผลดิบและผลสุก) พบว่าเปลือกมะม่วงพันธุ์มัน ศรีวิชัยผลดิบสกัดเส้นใยได้ปริมาณผลผลิตเส้นใยสูงที่สุด (P≤0.05) และมีปริมาณใยอาหารทั้งหมด ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ และใยอาหารที่ละลายน้ำได้ มากกว่าพันธุ์มหาชนก เมื่อนำไปบดผงแล้วร่อนผ่านตะแกรง 2 ขนาด พบว่า อนุภาคผงที่มีขนาดเล็ก จะมีค่าความสว่าง (L*) และมีความสามารถในการอุ้มน้ำมันมากกว่าอนุภาคผงขนาดใหญ่จึงนำใยอาหารที่สกัดจากเปลือกมะม่วงพันธุ์มันศรีวิชัยผลดิบเสริมในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต (โดยใช้ความเข้มข้นต่างกัน 4 ระดับ คือ 0%, 1%, 2% และ 3%) พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณใยอาหารทำให้โยเกิร์ตมีค่าความสว่าง (L*) ลดลง (P≤0.05) การเติมใยอาหารเพียง 1% พบเชื้อ Lactobacillus spp. (4.40 x 107 CFU/g) จำนวนสองเท่า ของสูตรควบคุม ที่ไม่เสริม<br />ใยอาหาร และทำให้โยเกิร์ตมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณใยอาหาร มากกว่าร้อยละ 1.20 โปรตีน มากกว่า ร้อยละ 3.63 คาร์โบไฮเดรตมากกว่าร้อยละ 14.64 แต่พบว่าปริมาณไขมันและความชื้นในผลิตภัณฑ์ลดลง โดยมีไขมัน น้อยกว่าร้อยละ 3.64 และความชื้นน้อยกว่าร้อยละ 76.30 (P≤0.05)</p> ครองจิต วรรณวงศ์, ธัญนันท์ ฤทธิ์มณี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/540 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700 การใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจุลินทรีย์ร่วมกับชีวมวลในการผลิต กระเจี๊ยบเขียวตาม GAP ในดินเหนียว-ร่วนเหนียว จังหวัดสุพรรณบุรี https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/773 <p>การจัดการธาตุอาหารพืชมีความสำคัญต่อการผลิตกระเจี๊ยบเขียวในการด้านเจริญเติบโต ปริมาณและ คุณภาพ ผลผลิต โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจุลินทรีย์ร่วมกับชีวมวลในการผลิตกระเจี๊ยบเขียวตาม GAP ในดินหนียว-ร่วนเหนียว จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการธาตุอาหารพืชสำหรับการผลิตกระเจี๊ยบเขียวตาม GAP ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรกร ตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การทดลองครั้งนี้ วางแผน การทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) กรรมวิธีควบคุม 2) ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 18-4-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ 3) ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 18-4-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่+มูลวัวอัตรา 1 ตันต่อไร่ 4) ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 18-4-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่+มูลวัวอัตรา 1 ตันต่อไร่+จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตอัตรา 3 กรัมต่อต้น+อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาอัตรา 3 กรัมต่อต้น 5) ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 13.5-3-4.5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่+มูลวัวอัตรา 1 ตันต่อไร่ 6) ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 13.5-3-4.5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่+มูลวัวอัตรา 1 ตันต่อไร่+จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตอัตรา 3 กรัมต่อต้น+อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาอัตรา 3 กรัมต่อต้น และ 7) ใส่มูลวัวอัตรา 1 ตันต่อไร่+จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตอัตรา 3 กรัมต่อต้น+อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาอัตรา 3 กรัมต่อต้น ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ 4 คือ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 18-4-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่+มูลวัวอัตรา 1 ตันต่อไร่+จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตอัตรา 3 กรัมต่อต้น+อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาอัตรา 3 กรัมต่อต้น ให้ค่าความสูงต้นกระเจี๊ยบเขียวที่อายุ 45 และ 60 วันสูงที่สุด เท่ากับ 54.98 และ 84.68 เซนติเมตร ตามลำดับ และให้น้ำหนักฝักกระเจี๊ยบเขียวทั้งหมดสูงที่สุดเท่ากับ 1,303 กิโลกรัมต่อไร่โดยมีกำไรสุทธิ 6,706.00 บาทต่อไร่</p> ทิพวรรณ แก้วหนู, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, วนิดา โนบรรเทา, พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, สุปรานี มั่นหมาย, นิศารัตน์ ทวีนุต, ศรีสุดา รื่นเจริญ, ปฏิมาภรณ์ จินจาคาม Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://li02.tci-thaijo.org/index.php/jtai/article/view/773 Wed, 31 Jul 2024 00:00:00 +0700