เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย จะต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • จัดรูปแบบบทความตามที่วารสารกำหนด
  • ผู้เขียนจะต้องส่งบทความเป็นไฟล์ Word ผ่านระบบ ThaiJo
  • ยินยอม ให้กองบรรณาธิการแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลงานให้เป็นไปตามที่กองบรรณาธิการกำหนด

ในการพิจารณาบทความเบื้องต้น ทางวารสารจะพิจารณาประเภทของบทความ ขอบเขตของวารสาร และรูปแบบการเขียนบทความ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทของบทความ

  • บทความวิจัย
  • บทความวิชาการ

ขอบเขตของวารสาร ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์การเกษตร ทั้ง 7 สาขา ดังนี้

  • พืชศาสตร์และเทคโนโลยี ปรับปรุงพันธ์ / เทคโนโลยีชีวภาพและชีวโมเลกุลพืช / สรีรวิทยาพืชก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว / เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์
  • ปฐพีศาสตร์ การจัดการทรัพยากรดิน / การพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตร / การให้น้ำ-ให้ปุ๋ย ความอุดมสมบูรณ์ของดิน / ธาตุอาหารพืช / ปุ๋ยและสารปรับปรุงดิน
  • การจัดการโรคพืชและแมลง โรคพืช / แมลงศัตรู / แมลงกินได้ / การควบคุมโดยชีววิธี / ระบบการผลิต การป้องกันกำจัดศัตรูพืชสวน
  • วาริชศาสตร์และการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ / การจัดการทรัพยากรทางน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  • สัตวศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ / การเพิ่มประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของสัตว์เศรษฐกิจ / โภชนาศาสตร์และการให้อาหารสัตว์ / เทคโนโลยีชีวภาพการผลิตสัตว์ / วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ การสุขาภิบาล การป้องกันโรค และมาตรฐานฟาร์มสัตว์ / การวางแผน การจัดการฟาร์มและการตลาดปศุสัตว์
  • ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร การส่งเสริมและการติดต่อสื่อสารทางการเกษตร / เศรษฐศาสตร์การพัฒนา / ธุรกิจเกษตร / ระบบข้อมูลและสารสนเทศทางการเกษตร / การพัฒนาชนบท มนุษยสัมพันธ์ในการพัฒนา / การจัดการทรัพยากรเกษตรอย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  • ระบบการเกษตรและนิเวศวิทยาการเกษตร ระบบการตลาด / โลจิสติกส์ /  เศรษฐศาสตร์ธุรกิจพืชสวน ภูมิทัศน์ทางพืชสวน ส่งเสริม การเกษตร

รูปแบบการเขียนบทความ  

  • ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (TH SarabunPSK, 16 pt, Bold, ยาวไม่เกิน 2 บรรทัด)
  • ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (TH SarabunPSK, 12 pt, Bold)
  • หน่วยงานของผู้เขียนชื่อสถานที่ทำงาน ที่อยู่ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ที่สามารถติดต่อได้ทางไปรษณีย์ (TH SarabunPSK, 12 pt, ชิดขอบซ้าย) *Corresponding author: e-mail (TH SarabunPSK, 12 pt, Align left, Italic)
  • บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 5% ของเนื้อเรื่อง (TH SarabunPSK, 14 pt, เยื้อง 1.27 ซม. จัดกระจายแบบไทย) / คำสำคัญ (TH SarabunPSK, 14 pt, ไม่เกิน 4 คำ)
  • บทนำแสดงถึงความสำคัญและที่มาของงานวิจัย ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
  • อุปกรณ์และวิธีการแสดงวิธีการศึกษาตามขั้นตอน อธิบายหน่วยทดลองและแผนการทดลองที่ใช้ แสดงสมการเชิงสถิติพร้อมคำอธิบาย และระบุสถานที่ทดลองหรือสถานที่จัดเก็บตัวอย่างและข้อมูล หรือตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
  • ผลการทดลอง หรือ ผลและวิจารณ์การทดลองเรียบเรียงผลการทดลองและวิจารณ์ผลการทดลอง อย่างกระชับ ตลอดจนปัญหาข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้น การวิจารณ์นั้นประกอบด้วยหลักการที่ออกมาจากการวิจัย การเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิจัย และการตีความหมายของผู้อื่นตลอดจนปัญหาหรือข้อโต้แย้ง โดยแสดงภาพและตารางเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และอ้างถึงภาพและตารางตามลำดับในเนื้อหา โดยใช้คำว่า Figure ในการอ้างอิงภาพและใช้คำว่า Table ในการอ้างอิงตาราง 
  • สรุปผล อาจรวมกับข้อเสนอแนะและแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
  • คำขอบคุณ (ถ้ามี) เรียบเรียงย่อหน้าเดียวแบบกระชับ ระบุแหล่งทุนวิจัย บุคคลและหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์หรือมีส่วนร่วมในงานวิจัย
  • เอกสารอ้างอิง (ไม่น้อยกว่า 10 บทความ และ ไม่เกิน 40 บทความ) เอกสารอ้างอิงทุกรายการต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น(กรณีอ้างอิงงานเขียนที่มีเนื้อหาภาษาไทย ให้แปล ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ชื่อบทในหนังสือ ชื่อเรื่องบทความ ชื่อสํานักพิมพ์ เป็นภาษาอังกฤษ และแปลงปี พ.ศ. เป็นปี ค.ศ.) ทั้งนี้ ผู้แต่งต้องตรวจสอบจำนวนเอกสารอ้างอิงให้ตรงกับในเนื้อหา

รูปแบบการเขียนบทความ >> .....ดาวน์โหลด.....