จริยธรรมการตีพิมพ์
บทบาทหน้าที่ของผู้เขียน
1. ผู้เขียนจะต้องจัดทำต้นฉบับของบทความตาม "คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
2. ผู้เขียนต้องไม่ส่งต้นฉบับที่เคยตีพิมพ์ไปแล้ว และต้นฉบับที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา (review) จากวารสารอื่น
3. ผู้เขียนจะต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
4. ผู้เขียนจะต้องระบุชื่อแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการทำวิจัย และจะต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
5. ผู้เขียนจะต้องรายงานผลงานที่ได้มาจากข้อเท็จจริงจากการศึกษา และไม่เป็นข้อมูลเท็จ หรือบิดเบือนข้อมูลใด ๆ
6. ผู้เขียนต้องแนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ หากบทความวิจัยนั้น เป็นการวิจัยในคนหรือสัตว์ทดลอง
7. ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งเนื้อหา รูปแบบ เอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม ไม่มากจนเกินไป หากอ้างอิงผลงาน ภาพ ตาราง ให้ระบุ ที่มาของการอ้างอิง เพื่อป้องกันการละเมิด และผู้เขียนต้องไม่อ้างอิงเอกสารที่ถูกถอดถอนแล้ว
8. ผู้เขียนจะต้องแก้ไขบทความตามผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูล หรือเนื้อหาของบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ในระหว่างการประเมินบทความ หรือในระหว่างบทความยังไม่ได้รับการตีพิมพ์
2. ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความที่กำลังพิจารณา และต้องปราศจากอคติหรือความเห็นส่วนตัว
3. ผู้ประเมินควรรับพิจารณาเฉพาะบทความที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น
4. ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบว่า มีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ๆ
5. ผู้ประเมินต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
6. ผู้ประเมินต้องส่งผลการประเมินบทความในระยะเวลาที่วารสารกำหนด
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูล หรือเนื้อหาของบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ในระหว่างการประเมินบทความ หรือในระหว่างบทความยังไม่ได้รับการตีพิมพ์
2. บรรณาธิการต้องพิจารณาตรวจสอบคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ และต้องคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์ โดยพิจารณาจากความสอดคล้องของเนื้อหาและนโยบายของวารสาร
3. บรรณาธิการจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนหรือผู้ประเมินบทความ
4. บรรณาธิการต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
5. บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
6. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้เครื่องมือที่เชื่อถือได้
7. บรรณาธิการต้องพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องและให้ผลที่น่าเชื่อถือ