กิจกรรมเสริมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีประมวลภาษาธรรมชาติเพื่อการพัฒนาตารางข้อมูลการออกแบบตัวละครแอนิเมชัน
A Learning Activity to Enhance Critical Thinking Skills through the Use of Natural Language Processing Technology for Developing Animation Character Design Sheets
คำสำคัญ:
การคิดเชิงวิพากษ์, เทคโนโลยีประมวลภาษาธรรมชาติ, ตัวละครแอนิเมชัน, ตารางข้อมูลการออกแบบตัวละครบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีประมวลภาษาธรรมชาติเพื่อพัฒนาตารางข้อมูลการออกแบบตัวละครแอนิเมชันก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และ 2) ประเมินความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรม โดยงานวิจัยนี้ประชากรในการวิจัยคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่เรียนรายวิชาแอนิเมชัน 3 มิติ ในปีการศึกษา 2567 จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหัวข้อ “การคิดเชิงวิพากษ์ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีประมวลภาษาธรรมชาติเพื่อพัฒนาตารางข้อมูลการออกแบบตัวละครแอนิเมชัน” 2) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนทักษะการคิดเชิงวิพากษ์หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
นิภัทร์ ปัญญวานันท์. การออกแบบโมเดลตัวละคร และการสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน 3 มิติ. วารสารนักบริหาร. 2562;39(1):67-81.
ปณัญภพ เชื่อมสุข, ปฐมพงษ์ ฤกษ์สมุทร, สุธิดา ชัยชมชื่น. การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยคลาสคราฟเกมมิฟิเคชั่นกับวิชาออกแบบตัวละคร สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยธนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี. 2566;7(1):59-64.
Luthfia S. Enhancement of problem-solving skill using IDEAL problem-solving learning model. SUJANA: J Educ Learn Rev. 2023;2(4). doi:10.56943/sujana.v2i4.461.
Baba Gusau N, Muhammad N, Mohamad MM. Problem-solving skills based on IDEAL model in implementing undergraduate final year project. J Technol Humanit. 2020;1(1):26-33. doi:10.53797/jthkks.v1i1.4.2020.
ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว. การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI (Chat GPT) เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียน. วารสารการประยุกต์ในการศึกษา. 2567;2(2):45-58.
พิชญะ พรมลา, สรเดช ครุฑจ้อน. ผลการใช้แชทบอทช่วยในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 2563;19(2):100-9.
Lutfiani S, Susanti E, Maulidah R. Influence of the IDEAL Problem-Solving Model on Students' Problem-Solving Skills. Jurnal Eksakta Pendidikan. 2024;8(2):115-127. doi:10.24036/jep/vol8-iss2/930
ภัควลัญชญ์ ผาณิตพิเชฐวงศ์. แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา. วารสารการเรียนการสอน. 2566;31(1):31-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารแอนิเมชัน เกม ดิจิทัลมีเดีย และเทคโนโลยี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.