แอนิเมชันให้ความรู้เรื่องการเลือกที่อยู่อาศัยและการใช้เทคโนโลยีก่อนเข้าสู่ช่วงสูงวัย

Animations Provide Knowledge about Choosing a Place to Live and Using Technology Before Entering the Elderly

ผู้แต่ง

  • กัลยานี นุ้ยฉิม สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี
  • ไพฑูรย์ จันทร์เรือง สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี
  • ปรัชญา แสงศรีการุณย์ สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี
  • ภัทรกันย์ ไพบูลย์ยิ่ง สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ นนทบุรี

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนา สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปันสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพ สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปันสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปันสำหรับสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปันสำหรับสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30  คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและเครื่องมือที่ใช้ คือ สื่อแอนิเมชัน 2 มิติเพื่อให้นักเรียนประถมศึกษาตอนต้นรู้จักการสร้างมิตรภาพและการแบ่งปัน แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาและการออกแบบ แบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ แบบวัดการรับรู้ของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

            ผลการวิจัยพบว่า สื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อให้เด็กประถมศึกษาตอนต้นมีความตระหนักถึงส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 6 - 8 ปีที่พัฒนาขึ้นด้วยตัวละครลักษณะลดทอนรายละเอียดความสมจริง และการสร้างฉากแบบสองมิติที่ไม่ซับซ้อน มีสีสันสดใส งานแอนิเมชันมีขนาด 1920 x 1082 pixel ความยาว 4.14 นาที โดยได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ 1) การประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการรับรู้ต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อให้เด็กนักเรียนระดับประถมต้นมีการรับรู้ด้านการสร้างมิตรภาพและการแบ่งปันอยู่ในระดับ มาก 3) ผลความพึงพอใจที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติอยู่ในระดับ มาก

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.คู่มือประกอบการปฏิบัติงานสนามโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2567[อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/contents_detail/2024/20240405104651_11728.pdf

ไทยเตรียมพร้อมรับผู้สูงอายุติดบ้านเพิ่ม . [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://theactive.net/news/welfare-20220830/

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ. หนังสือ เติมรู้ เตรียมพร้อม ก่อนสูงวัย[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จากhttps://www.dop.go.th/download/knowledge/th1568708302-257_0.pdf

เกษียณโสดอย่างเฉิดฉาย เลือกบ้านพักคนชราแบบไหนดี. [อินเทอร์เน็ต]. 2567[เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จากhttps://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1568708302-257_0.pdf

พรรัตน์ พงษ์ประเสริฐ และเสาวลักษณ์ กิตติญาณปัญญา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่อยู่ อาศัยผู้สูงอายุของกลุ่มผู้สูงอายุในอนาคต ในกรุงเทพมหานคร. Journal of Business, Economics and Communications 2021; 16(2):49-63.

ประกาย จิโรจน์กุล, นิภา ลีสุคนธ์,เรณู ขวัญยืน และวันเพ็ญ แก้วปาน. การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ วัยสูงอายุ ของผู้ใหญ่วัยกลางคนในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก https://dric.nrct.go.th/Search/ SearchDetail/290058

สาวิณี สำเภา และปวีณา ลิมปิทีปราการ.(2566).การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสุงอายุเพื่อรองรับสังคมสูงวัย อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 (น.1288-1303).มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วราพร ดำจับ. การออกแบบสื่อแอนิเมชันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 2566; 9(1): 1-19

ภาสกร เรืองรอง และสราณี สมไชยวงค์. การสร้างสื่อแอนิเมชันให้ความรู้เรื่องเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์- สังคมศาสตร์ 2563; 3(2): 36-51

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-21