Format Referrent

รูปแบบการเขียนอ้างอิง

การอ้างอิงเอกสารใช้ระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style)

  1. การเขียนอ้างอิงภายในเนื้อหา
  เขียนอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลโดยการระบุเลขอารบิคภายในวงเล็บใหญ่ไว้ท้ายข้อความให้ตรงกันกับหมายเลขที่พิมพ์ไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ เช่น
  ณรงค์และคณะ [1] ได้ศึกษาถึงภาวะคอเลสเตอรอลสูงที่ส่งผลกระทบต่อชาวไทย
  ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในเส้นเลือดทำให้เกิดการเสียชีวิตในหลายประเทศ [1-3]
 

2. การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

  ถ้าแหล่งอ้างอิงมาจากภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อผู้แต่งเป็นภาษาอังกฤษ โดยเขียนชื่อสกุลตัวเต็มนำหน้าตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้น เช่น Kavinseksan B, Wongsiri S.
  ถ้าแหล่งอ้างอิงมาจากภาษาไทย ให้เขียนแบบภาษาไทยโดยเขียนชื่อและนามสกุลเป็นคำเต็ม เช่น เธียร ธีระวรวงศ์, เกษม คงนิรันดรสุข.
  ถ้าผู้แต่งมีหลายคนแต่ไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคนโดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างแต่ละคน และหลังชื่อสุดท้ายใช้เครื่องหมายมหัพภาค (.)
  ถ้ามีผู้แต่งเกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วย "et al" สำหรับภาษาไทยใช้คำว่า “และคณะ”
  ชื่อบทความถ้าเป็นเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อบทความใช้อักษรตัวใหญ่ (Capital letter) เฉพาะตัวแรกและชื่อเฉพาะ นอกนั้นให้ใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด เมื่อจบชื่อบทความให้ใช้เครื่องหมายมหัพภาค (.)
  ชื่อวารสาร ถ้าเป็นวารสารภาษาอังกฤษให้เขียนด้วยชื่อย่อของวารสารตามที่เป็นสากล ในกรณีวารสารภาษาไทย ให้ใช้ชื่อเต็มของวารสารที่ปรากฎที่หน้าปก เช่น
The New England journal of medicine ãªé N Engl J Med
  เลขหน้าให้ใส่เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย โดยใช้ตัวเลขเต็มสำหรับหน้าแรก และตัดตัวเลขซ้ำออกสำหรับเลขหน้าสุดท้าย เช่น หน้า 23-29 เขียนเป็น 23-9
2.1 การอ้างอิงจากหนังสือ มีรูปแบบ ดังนี้
  ชื่อผู้นิพนธ์ (author). ชื่อหนังสือ (title of the book). ครั้งที่พิมพ์ (edition). เมืองที่พิมพ์ (place of publication): สำนักพิมพ์ (publisher); ปี (year). เช่น
  เติมศรี ชำนาญกิจ. สถิติประยุกต์ทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
  Summers DS. Quality. 2nd ed. NewJersey: Perntice-Hall; 2000.
2.2 การอ้างอิงจากวารสาร มีรูปแบบ ดังนี้
  ชื่อผู้นิพนธ์ (author). ชื่อบทความ (title of the article). ชื่อวารสาร (title of the Journal) ปี (year);เล่มที่ของวารสาร (volume):หน้าแรก-หน้าสุดท้าย (page). เช่น
  องุ่น ไร่งาม. คุณภาพไวน์ของประเทศฝรั่งเศส. วารสารอาหาร 2558;4:298-300.
  Khalil ML. Biological activity of bee propolis in health and disease. Asian Pac J Cancer Prev 2006;1:22-31.
2.3 การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ มีรูปแบบ ดังนี้
  ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง [ประเภท/ระดับปริญญา]. เมืองที่พิมพ์: มหาวิทยาลัย; ปีที่ได้ปริญญา. เช่น
  ปาริสุทธิ์ สงทิพย์. การพัฒนาอาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งจากข้าวกล้องและสมุนไพร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.
2.4 การอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต มีรูปแบบ ดังนี้
  ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อบทความ [อินเทอร์เน็ต]. ปีพิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ วัน เดือน ปี/cited year month day]. เข้าถึงได้จาก/Available from: http://...
  บานเช้า สวยดี. ระบบปรับอากาศ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.coe.or.th/oe/
  Satalkar B. Autolyzed yeast extract [Internet]. 2010 [cited 2015 November 22]. Available from: http://www.buzzle.com/articles/autolyzed-yeast-extract.html
  3. การเรียงรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  ให้นำรายการอ้างอิงมาเขียนเรียงตามลำดับหมายเลข 1., 2., 3., ...ตามที่ปรากฏในเนื้อหา โดยตัวเลขที่อ้างอิงภายในเนื้อหาจะต้องสอดคล้องกับลำดับที่ในการอ้างอิงท้ายบทความ เช่น
1. เติมศรี ชำนาญกิจ. สถิติประยุกต์ทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
2. องุ่น ไร่งาม. คุณภาพไวน์ของประเทศฝรั่งเศส. วารสารอาหาร 2558;4:298-300.
3. Khalil ML. Biological activity of bee propolis in health and disease. Asian Pac J Cancer Prev 2006;1:22-31.
4. Satalkar B. Autolyzed yeast extract [Internet]. 2010 [cited 2015 November 22]. Available from: http://www.buzzle.com/articles/autolyzed-yeast-extract.html
5. บานเช้า สวยดี. ระบบปรับอาก

 

ดาวน์โหลดคำชี้แจงการตีพิมพ์>>>> download

ส่งบทความประเมิน >>> Submission