The Effect of Using Palm Shell Innovation to Reduce Foot Numbness in Diabetic Patients, Tha Sae Hospital, Chumphon Province

Authors

  • Suchada Khaosri
  • Aumpol Bunpean
  • Patama Chantarapon

Keywords:

Palm shell innovation, Foot numbness, Diabetic patient

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการชาเท้า ก่อนและหลัง การใช้นวัตกรรมกะลาปาล์มลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรมกะลาปาล์มลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มาขอรับบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร ด้วยอาการชาเท้า จำนวน 30 คน โดยมีการคัดเลือกอาสาสมัครด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ นวัตกรรมกะลาปาล์ม ลดอาการชาเท้า เครื่องตรวจการสูญเสียการรับความรู้สึกที่เท้า Monofilament และ   แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของอาการชาเท้าข้างขวาก่อนใช้นวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.267 หลังใช้นวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.033 เมื่อนำค่าเฉลี่ยของอาการชาเท้ามาเปรียบเทียบกัน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ค่าเฉลี่ยของอาการชาเท้าข้างซ้ายก่อนใช้นวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.333 หลังใช้นวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.067 เมื่อนำค่าเฉลี่ยของอาการชาเท้ามาเปรียบเทียบกัน พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และความพึงพอใจของผู้ใช้ นวัตกรรมกะลาปาล์มลดอาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวานมีความ    พึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.80, S.D. = 0.24)

References

สมเกียรติ โพธิสัตย์. การจัดการโรคเรื้อรัง (Disease management): เบาหวานและความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/powerpoint/Disease_Management-210256.pdf

สินีนาถ ยอดศิรจินดา. ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าร่วมกับการใช้ยาต่อระดับน้ำาตาลในเลือดและการสูญเสียการรับความรู้สึกที่เท้าในผู้สูงอายุเป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2560;2:15-33.

พนิดา ภูโยฤทธิ์, ลดาวัลย์ นิชโรจน์, นพวรรณ เปียซื่อ. ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการชาและแรงกดที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสุขศึกษา 2553;33:55-61.

สมคเณ เกียรติก้อง, ดุษณี ศุภวรรธนะกุล, พิเชฐ บัญญัติ, เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี. ความจำเป็นในการพัฒนาอุปกรณ์ตรวจภาวะชาปลายเท้า. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9; 20 กรกฎาคม 2561; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร 2561;44:36-42.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ โรงเรียนอายุรเวท. หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด; 2548.

ธนารัตน์ ศรีผ่องงาม, วิชัย อึงพินิจพงศ์, จตุรัตน์ กันต์พิทยา, กมลวรรณ ตั้งวรพงศ์ชัย. ผลทันทีของการนวดฝ่าเท้าที่มีต่อการไหลเวียนเลือดของไตในผู้ที่มีสุขภาพดี. วารสารกายภาพบำบัด 2556;35:141-7.

ณฐมน สืบชุย, ศศิธร สกุลกิม, ภัคจุฑานันท์ สมมุ่ง, จุฑารัตน์ พิมสาร, กาญจนา เพชรฤาชา, อรวรรณ วิมลทอง. ประสิทธิผลของนวัตกรรมลูกปัดไม้กวาดกดจุดลดอาการชาที่เท้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2560;17:87-98.

ศศิธร สกุลกิม, พิมพ์วดี โรจน์เรืองนนท์, ปัญญา ปุริสาย, กาญจนา วินทะไชย์, กิจจา จิตรภิรมย์. ผลของการใช้นวัตกรรมพรมมะค่าลดอาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองนกชุม. วารสารควบคุมโรค 2561;44:258-73.

พัชรี แวงวรรณ, สกาวรัตน์ ไกรจันทร. ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองโดยการใช้ล้อกลิ้งในการนวดเท้าต่ออาการชาเท้า. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563;43:35-44.

Additional Files

Published

05-12-2022

How to Cite

1.
Khaosri S, Bunpean A, Chantarapon P. The Effect of Using Palm Shell Innovation to Reduce Foot Numbness in Diabetic Patients, Tha Sae Hospital, Chumphon Province. AdvSciJ [Internet]. 2022 Dec. 5 [cited 2023 Dec. 11];22(1):93-105. Available from: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/article/view/385

Issue

Section

Research Articles