การจัดการน้ำเสียครัวเรือนของประชาชนลุ่มน้ำแม่การจัดการน้ำเสียครัวเรือนของประชาชนลุ่มน้ำแม่เลาะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่เลาะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Household Wastewater Management of People in Mae Lor Watersheds, Mae Rim District, Chiang Mai Province

ผู้แต่ง

  • สามารถ ใจเตี้ย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการน้ำเสีย, น้ำเสียครัวเรือน, ลุ่มน้ำแม่เลาะ

บทคัดย่อ

         การศึกษาแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการน้ำเสียครัวเรือนและวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์การจัดการน้ำเสียในครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชนในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำแม่เลาะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 180 ครัวเรือน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

         ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนรวมเฉลี่ยระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81) เมื่อวิเคราะห์อำนาจการพยากรณ์การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนของประชาชนมีตัวแปรที่สามารถอธิบายความผันแปรการจัดการน้ำเสียในครัวเรือน 2 ตัวแปรย่อย ได้แก่ ทัศนคติต่อน้ำอุปโภคในชุมชนด้านความพอเพียง (Beta =.286  p ≤ 0.001)  และทัศนคติต่อน้ำอุปโภคในชุมชนด้านการจัดการ (Beta = .143  p = 0.027) โดยร่วมกันพยากรณ์การจัดการน้ำเสียในครัวเรือนของประชาชนได้ร้อยละ 16.8  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทั้งนี้ประชาชนต้องการให้หน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และให้ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียที่ครัวเรือนสามารถนำมาปฏิบัติได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

U.S. Environmental Protection Agency. How we use water [Internet]. 2023 [cited 2023 August 2]. Available from: https://www.epa.gov/Watersense/how-we-use-water

Grespan A, Garcia A , Brikalski MP, Henning E, Kalbusch A. Assessment of water consumption in households using statistical analysis and regression trees. Sustainable Cities and Society 2022;87:104186.

Bergel T, Kotowski T, Woyciechowska O. Daily water consumption for household purposes and its variability in a rural household. Journal of Ecological Engineering 2016;17:47-52.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สิถิติทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://stabbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/21.aspx

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์.การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะและน้ำเสียในครัวเรือนของประชาชน ตาบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยและพัฒนา. 2554;3(1):4-13.

สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. คู่มือระบบำบัดน้ำเสียชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2560.

สามารถ ใจเตี้ย. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ชุมชน เรื่อง เครื่องมือการวิเคราะห์ผลกระทบทางสุขภาพในระดับชุมชนจากคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม.วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย 2563;12(1):44–57.

สามารถ ใจเตี้ย. ผลกระทบสุขภาพชุมชนจากคุณน้ำเสื่อมโทรมและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: กรณีศึกษาลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน.วารสารควบคุมโรค 2561;44(1):1–8.

รุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์, ศรีวรรณ ทาวงศ์มา, ศักดิ์นคร คำภีระ, วิชุดา จันทร์มาเมือง, อรพรรณ จันต๊ะชัย. การพัฒนารูปแบบการจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://hhdc.anamai.moph.go.th/th/academic-work/download/?did=214464&id=93889&reload=.

สามารถ ใจเตี้ย. การใช้น้ำและการจัดการน้ำเสียในครัวเรือนของประชาชนริมฝั่งแม่น้ำลี้ จังหวัดลำพูน, วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง2556;1(1):33 – 43.

องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง. แผนพัฒนาตำบล ปี พ.ศ.2559 – 2564. เอกสารอัดสำเนา; ไม่ปรากฏปีพิมพ์.

Cochran W.G. Sampling techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc; 1977.

Cronbach L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951;16:297–334.

สุมาลี เม่นสิน, ภัทราพร จิ๋วอยู่, วัลภา อูทอง.โครงการศึกษาการจัดการขยะและน้ำเสียของชุมชนบนพื้นที่สูง. เชียงใหม่:สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน; 2561.

ธรรมนูญ โนนแข็ง, ศริศักดิ์ สุนทรไชย. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ

ปัญหาน้ำเสีย ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร .วารสารสภาการ

สาธารณสุขชุมชน 2566;5(1):58–69.

Rogers E.M., Storey J.D. Communication campaign. New Burry Park: Sage; 1987.

Kabito G. Dagne H., G Hiwot M. Knowledge, attitudes, practices, and determinants towards wastewater management in northwest Ethiopia: A community-based cross-sectional study. Risk Manag Healthc Policy 2021;24(14):2697-2705.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite

1.
ใจเตี้ย ส. การจัดการน้ำเสียครัวเรือนของประชาชนลุ่มน้ำแม่การจัดการน้ำเสียครัวเรือนของประชาชนลุ่มน้ำแม่เลาะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่เลาะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่: Household Wastewater Management of People in Mae Lor Watersheds, Mae Rim District, Chiang Mai Province. AdvSciJ [อินเทอร์เน็ต]. 1 กรกฎาคม 2024 [อ้างถึง 2 เมษายน 2025];24(2):137-4. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/article/view/698