การพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ ตีความวรรณกรรมไทยร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วรรณคดีไทย

The Development of 2D Animation Interpreting Contemporary Thai literature to Promote the Preservation of Thai Literature

ผู้แต่ง

  • วิธวัฒน์ สุขสาเกษ สาขาวิชาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
  • ธนภรณ์ สิงห์วงษ์ การพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ ตีความวรรณกรรมไทยร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วรรณคดีไทย

คำสำคัญ:

แอนิเมชัน 2 มิติ, วรรณคดีไทย, ร่วมสมัย

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ ตีความวรรณกรรมไทยให้มีความร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วรรณคดีไทย 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน 2 มิติ ตีความวรรณกรรมไทยร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วรรณคดีไทย 3) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ตีความวรรณกรรมไทยร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วรรณคดีไทย กลุ่มประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 500 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) โปรแกรมโปรครีเอทใช้ในการวาดภาพ ลงสี แสง เงา การทำแอนิเมชัน โปรแกรมแคปคัทใช้ในการ ตัดต่อภาพ ใส่เอฟเฟค ใส่เสียง 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ความสอดคล้องของการออกแบบสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพของสื่อแอนิเมชันเกี่ยวกับเนื้อหา และการออกแบบสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ โดยผู้เชี่ยวชาญ        จำนวน 5 ท่าน ที่มีความรู้ด้านการสอน การวิจัย มีประสบการณ์ในศาสตร์ด้านการออกแบบและด้านการพัฒนาแอนิเมชัน 4) แบบประเมินความพึงพอใจสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ จากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการวิจัยพบว่า ผลการผลิตสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ มีความยาว 4.38 นาที ผลลัพธ์การประเมินมีดังต่อไปนี้ การออกแบบสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ผลการประเมินค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพสื่อรวมอยู่ที่ 3.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 ผลประเมินอยู่ในระดับ ดี และผลความพึงพอใจที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน ผลการประเมินค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพสื่อรวมอยู่ที่ 4.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ดี

References

สิทธา พินิจภูวดล. สังเขปประวัติวรรณคดีไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 6 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://vajirayana.org/ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ/สังเขปประวัติวรรณคดีไทย

Mcot. พระอภัยมณี” ของ ‘สุนทรภู่’ ยอดวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 ตุลาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mcot.net/view/IMPfxsMq

อดิเทพ เดชพรหม, มาลินี อาชายุทธการ. ศิลปะการสวมบทบาท “นางผีเสื้อสมุทร” เรื่องพระอภัยมณีของกรมศิลปากร. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา; 2566. หน้า 111-29.

นิจจัง พันธะพจน์. การศึกษาเอกลักษณ์และสุนทรียภาพของภาพยนตร์แอนิเมชันไทยระหว่าง พ.ศ. 2545-2558. BU Acad Rev. 2561;17(1):48-66.

ภัทรพล เกิดปรางค์, อรรถเศรษฐ์. การออกแบบแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง แจ็คผู้ล่ายักษ์. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. 2566;7(2):160-76.

จรรยา เหตะโยธิน. แนวทางการออกแบบตัวละคร กรณีศึกษา ‘เดอะ คาแรคเตอร์ ดีไซน์ ชาเลนจ์. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 2564;32(1):1-15.

นิพนธ์ คุณารักษ์. ระบบและกระบวนการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน 2 มิติร่วมสมัย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554;3(2):56-68.

พิเชฐ วงษ์จ้อย, รักศสนต์ วิวัฒน์สินอุดม. การออกแบบตัวละครสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชันสองมิติกับความพึงพอใจของผู้ชมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ 2555;30(1):80-94.

ณัฐวุฒิ อยู่สุข, พิศประไพ สาระศาลิน, ชัยยพร พานิชรุทติวงศ์. การศึกษาการเคลื่อนไหวการแสดงอารมณ์ในงานแอนิเมชัน 3 มิติ แนวตลกขบขันกรณีศึกษาพฤติกรรมการติดโทรศัพท์มือถือ. การประชุมวิชาการระดับชาติ; ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2560. หน้า 536-45.

ชิว เย่, บุญชู บุญลิขิตศิริ, ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร. แอนิเมชันนิทานพื้นบ้านจีน: อัตลักษณ์ คุณค่า องค์ประกอบของนิทานพื้นบ้านจีนสู่การสร้างสรรค์แอนิเมชันงิ้วซานตง “เหลียงจู้”. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า 2567;11(2):42-56.

จรรยา เหตะโยธิน. การดัดแปลงวรรณกรรมไทยร่วมสมัยเรื่อง นักฉลาดมืออาชีพ สู่การออกแบบภาพในงานแอนิเมชันเรื่อง The Wise. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 2561;27(2):249-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-14

How to Cite

1.
สุขสาเกษ ว, สิงห์วงษ์ ธ. การพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ ตีความวรรณกรรมไทยร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วรรณคดีไทย : The Development of 2D Animation Interpreting Contemporary Thai literature to Promote the Preservation of Thai Literature . AGDTJ [อินเทอร์เน็ต]. 14 กุมภาพันธ์ 2025 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];2(1):37-59. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/animationGDTJ/article/view/1017