การพัฒนาแอปพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี

Development and Performance Evaluation of a Cultural Tourism Planning Application for Pathumthani Province

ผู้แต่ง

  • นุชรัตน์ นุชประยูร สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี นนทบุรี
  • วชิราภรณ์ พลภานุมาศ สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยาวาสุกี พระนครศรีอยุธยา
  • สุวัฒน์ สุวัฒนาชัยวงศ์ สาขาวิชาระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี นนทบุรี
  • ธีรศักดิ์ คูศิริรัตน์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แอปพลิเคชัน, การวางแผนการท่องเที่ยว, เชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี ประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แอปพลิเคชันที่พัฒนาด้วย Android Studio และ PhpMyAdmin แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และเก็บข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ร้านอาหาร และสถานที่ฉุกเฉิน รวมทั้งระบบวางแผนช่วยการเดินทางผ่าน GPS Tracking 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.11, S.D. = 0.61) โดยด้านเทคนิคอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.12, S.D. = 0.57) และด้านการนำเสนอข้อมูลอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.10, S.D. = 0.65) 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.37, S.D. = 0.71) โดยประเด็นที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดคือ แอปพลิเคชันช่วยให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น (𝑥̅ = 4.65, S.D. = 0.58) แสดงให้เห็นว่าแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดปทุมธานีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ชิตาวีร์ สุขคร. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน. 2562;1(2):1-7.

พิชชาอร เศวตคชกุล. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ. 2563;1(3):30–9.

พันธวัช จุลละทรัพย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้แอปพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่อง: กรณีศึกษาแอปพลิเคชันวงใน (Wongnai) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564.

สุธิรา จันทร์ปุ่ม, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม, แพรตะวัน จารุตัน. การพัฒนาโมบาย แอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนครบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 2560;4(2):114-120.

วลัยลักษณ์ อมรสิริพงศ์. การวิเคราะห์สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการของห้องสมุดประชาชน. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ. 2562;6(2):97–113.

จักรพันธ์ สาตมุณี, ภคพล สุนทรโรจน์, คัชรินทร์ ทองฟัก, พงษ์กัมปนาท แก้วตาชวัลนุช. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านระบบแอปพลิเคชัน LINE Chatbot ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2564;13(1):101–11.

โอปอ กลับสกุล, ภัคจิรา ภูขมัง, ปิยวรรณ สายทอง, ฮุสนี อับดุลกาเดร์, ชลธิชา พลายแก้ว. แอปพลิเคชันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุและชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 2565;12(1):13-22.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://planning.dusit.ac.th/main/wp-content/uploads/2023/06/แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ-ฉบับที่-3-พ.pdf

วรปภา อารีราษฎร์, ธรัช อารีราษฎร์, ศิคริษฐ์ คุณชมภู. รูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการท่องเที่ยว 7s เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ นวัตกรรม. 2562;6(1):137-146.

Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.

พิสุทธา อารีราษฎร์. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2551.

ศศิพิมพ์ ปิ่นประยูร, ศศิมาพร ภูนิลามัย, กาญจนา ผาพรม, สุขสันต์ พรมบุญเรือง. แอพพลิเคชั่นแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ บนระบบปฏิบัติการแอน ดรอยด์. ใน: การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ ภูมิภาคอาเซียน; 2558; ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ดิเรก อัคฮาด. การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านฝั่งธนบุรีด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 2567;24(1):20–39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-03

How to Cite

1.
นุชประยูร น, พลภานุมาศ ว, สุวัฒนาชัยวงศ์ ส, คูศิริรัตน์ ธ. การพัฒนาแอปพลิเคชันวางแผนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานี: Development and Performance Evaluation of a Cultural Tourism Planning Application for Pathumthani Province. AGDTJ [อินเทอร์เน็ต]. 3 กรกฎาคม 2025 [อ้างถึง 7 กรกฎาคม 2025];2(2):32-48. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/animationGDTJ/article/view/1168