แอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล

3D Animation on Marine Debris Issue for Enhancing Tourist Awareness

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ นิลศรี บริษัท รีพับบลิค ออฟ เลเจ้นด์ จำกัด กรุงเทพมหานคร
  • พัชรกาญจน์ มะลิวัลย์ สาขาวิชาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

Animation, Digital media, Hermit crab, Marine debris

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล 2) ประเมินประสิทธิภาพแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล และ 3) ประเมินการรับรู้ต่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวจำนวน 50 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล 2) แบบประเมินประสิทธิภาพแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล และ 3) แบบประเมินการรับรู้ต่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อแอนิเมชัน มีเนื้อหาเกี่ยวกับปูเสฉวนที่ตามหาเปลือกหอยเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยบนชายหาด 2) ประสิทธิภาพแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.48 และ 3) การรับรู้ต่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ของนักท่องเที่ยว เรื่อง ปัญหาขยะทะเล มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.17

References

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ. คู่มือวิธีการตรวจติดตามขยะทะเล[อินเทอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://wedocs.unep.org/bitstream/handle/20.500.11822/41750/marine_litter_monitoring2_TH.pdf

คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. สถานภาพขยะทะเล (2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://km.dmcr.go.th

Environmental Justice Foundation Thailand. Fisheries debris management workshop. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/EJFThailand/

Goel D, Upadhyay R. Effectiveness of use of Animation in Advertising: A Literature Review. Int. J. Sci. Res. in Network Security and Communication 2017;5(3):146-59.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2566 (Tourism Statistics 2023). 2566. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/news/category/704

ธรรมปพล ลีอำนวยโชค. Intro to Animation คู่มือสำหรับการเรียนรู้แอนิเมชันเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: Than Books.

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อเพิ่มศักยภาพการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม. 2566. วิทยานิพนธ์ (สื่อนฤมิต): มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิช ถิระโคตร และคณะ. เจตคติและแรงจูงใจของผู้เรียนในการใช้แอนิเมชั่นเพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 2560;5(2):92-101.

นวัฒกร โพธิสาร. ผลการพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาวะด้านโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. Industrial Technology Journal 2564;6(2):77-90.

อชิตา เทพสถิต. การออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติ การกินอย่างถูกหลักโภชนาการ. 2557. [ศิลปะมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25