ผลการประเมินต้นแบบนวัตกรรมสื่อดิจิทัลการเรียนรู้ 3 มิติ สำหรับห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Results of the Evaluation of Innovative Prototype of 3D Digital Learning Media for Flipped Classroom on the Topic of Electromagnetic Waves of Undergraduate Student

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท คูศิริรัตน์ สาขาวิชาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
  • พงศกร ชูจันทร์ แผนกศิลปกรรม สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมบริหารธุรกิจ ชลบุรี

คำสำคัญ:

prototype of innovative digital learning media, flipped classroom, efficiency and effectiveness

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ประเมินค่าดัชนีประสิทธิผล และศึกษาการยอมรับนวัตกรรมสื่อดิจิทัลการเรียนรู้ 3 มิติ สำหรับห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวน 37 คน เป็นนักศึกษาสาขาวิชาแอนิเมชัน เกมและดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพสำหรับงานแอนิเมชัน    ปีการศึกษา 2/2565 เลือกโดยการแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย นวัตกรรมสื่อดิจิทัลการเรียนรู้ 3 มิติ เรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแบบมีโครงสร้าง  แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า t-test แบบ Dependent Samples

           ผลการวิจัยพบว่า ได้นวัตกรรมสื่อดิจิทัลการเรียนรู้ 3 มิติ สำหรับห้องเรียนกลับด้านเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพสำหรับงานแอนิเมชัน ระยะเวลาการดำเนินเรื่อง 4.17 นาที ผลประเมินประสิทธิภาพของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับ มาก ( gif.latex?\mu = 4.20  gif.latex?\sigma = 0.66) ผลการประเมินประสิทธิภาพจากกลุ่มตัวอย่างจากคะแนนหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5785 มีค่าพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.85 และผลประเมินการยอมรับต้นแบบนวัตกรรมสื่อดิจิทัลการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับ มาก ( gif.latex?\mu = 4.25,  gif.latex?\sigma = 0.56) จากผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสามารถนำนวัตกรรมสื่อดิจิทัลไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ได้

References

O'Brien E, John M, Ileana H, Yvonne D. (2019). Problem-Based Learning in the Irish SME Workplace. Journal of Workplace Learning 2019;31(6):391-407.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับ ปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Veridian E-Journal. มหาวิทยาลัยศิลปากร 2560;10(2):1330-41.

กานต์ คุ้มภัย และคณะ. การออกแบบและพัฒนาแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง เชิงศิลป์ ส่งเสริมการรับรู้ศิลปะแม่ไม้มวยไทยของนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 7-8 กรกฎาคม 2565, 624-635. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อัญญปารณย์ ศิลปะนิลมาลย์. ผลการใช้สื่อแอนิเมชั่นอินโฟกราฟิก วิชาสัมมนาคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2561;8(3):26-33.

เบจวรรณ จุปะมะตัง, ธวัชชัย สหพงษ์. การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ตำนานพระธาตุขามแก่น. วารสารโครงการวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 2560;3(2):1-6.

ชัยรัตน์ ทับบุรี. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โมชันกราฟิกบนเทคโนโลยีประมวลผลบนกลุ่มเมฆ เรื่องสาระความรู้ในการศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2560.

ฉันทนา ปาปัดถา, อรปรียา หนองใหญ่. โมชันอินโฟกราฟิกระบบการรับสมัครนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 2562;2(2):128-36.

พีรวัฒน์ สุขเกษม. การพัฒนาสื่อโมชั่นอินโฟกราฟิกในการเสริมสร้างจิตสำนึกเพื่อการต่อต้านและการป้องกันต้านการทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดเพชรบูรณ์.วารสารวิชาการคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2563; 11(1):75-87.

Liu I-F, Chen CM, Sun YS, Wible D, Kua CH. Extending the TAM model to explore the factors that affect intention to use an online learning community. Computers & Education 2010;54(2):600-10.

วิไลวรรณ วงศ์จินดา และคณะ. แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ; 2564.

Davis F D, Bagozzi R P, Warshaw P R. User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science 1989;35(8):982-1003.

Sánchez-Franco M J, Martinez-Lopez F J, Martin-Velicia F A. Exploring the impact of individualism and uncertainty avoidance in Web-based electronic learning: An empirical analysis in European higher education. Computer & Education 2009;52(3):588-98.

Sheng Z, Jue Z, Wiewie T. Extending TAM for Online Learning System: An Intrinsic Motivation Perspective. Tsighua Science and Technology 2008;13(3):312-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24