การพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันของเด็กวัยประถมตอนต้น

The Development of 2D Animation to Raise the Motivation of Sharing for Primary School Student

ผู้แต่ง

  • เอกราช วรสมุทรปราการ สาขาวิชาแอนิเมชัน เกมและดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
  • ปารมี สันติวงศ์บุญ สาขาวิชาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

แอนิเมชัน 2 มิติ, ประถมศึกษาตอนต้น, มิตรภาพ, การแบ่งปัน

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนา สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปันสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพ สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปันสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปันสำหรับสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปันสำหรับสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30  คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและเครื่องมือที่ใช้ คือ สื่อแอนิเมชัน 2 มิติเพื่อให้นักเรียนประถมศึกษาตอนต้นรู้จักการสร้างมิตรภาพและการแบ่งปัน แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาและการออกแบบ แบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ แบบวัดการรับรู้ของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน           ผลการวิจัยพบว่า สื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อให้เด็กประถมศึกษาตอนต้นมีความตระหนักถึงส่งเสริมมิตรภาพและการแบ่งปัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 6 - 8 ปีที่พัฒนาขึ้นด้วยตัวละครลักษณะลดทอนรายละเอียดความสมจริง และการสร้างฉากแบบสองมิติที่ไม่ซับซ้อน มีสีสันสดใส งานแอนิเมชันมีขนาด 1920 x 1082 pixel ความยาว 4.14 นาที โดยได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ 1) การประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการรับรู้ต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อให้เด็กนักเรียนระดับประถมต้นมีการรับรู้ด้านการสร้างมิตรภาพและการแบ่งปันอยู่ในระดับ มาก 3) ผลความพึงพอใจที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติอยู่ในระดับ มาก

References

รัฐพล เย็นใจมา, สุระพล สุยะพรหม. ความขัดแย้งในสังคม: ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2561; 7(2): 224-38.

พระโสภา ธมฺมทีโป. สันติวิธีกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร 2563;3(1):25-33.

เมธา หริมเทพาธิป. แนวคิดเกี่ยวกับการแบ่งปัน. 2565 [เข้าถึงเมื่อ31 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/user/0818150908/

พีรวิชญ์ คำเจริญและวีรพงษ์ พลนิกรกิจ, การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล และทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 2563;8(1):54-65.

เอกราช วรสมุทรปราการ. Deep Impress: watercolor study with the scenery of Bangkok. กรุงทพฯ: บจก.กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป; 2563.

ปิยะฉัตร วัฒนพานิชและอุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์, การเล่าเรื่องในภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดนิยมในบริบทสากล. Journal of Communication and Innovation NIDA 2559;3(1):181-99.

อมีนา ฉายสุวรรณ. การสร้างงานแอนิเมชันมาพัฒนาในรูปแบบของการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2564;2(3):14-24.

คุณานนต์ มงคลสิน, พฤติกรรมการเปิดรับและปัจจัยที่มีผลต่อการเลียนแบบการ์ตูนแอนิเมชันของเยาวชน, วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์ 2561;1(2):82-92.

Worasamutprakarn E. The Design and Development of Thai Cultural Inspiration to Animation Character. In: Joint International Conference on Digital Arts, Media and Technology with ECTI Northern Section Conference on Electrical, Electronics, Computer and Telecommunication Engineering; 2021 Mar 3-6; Cha-am, Petchburi. ECTI; 2021. p. 49-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-21