ผลการจัดกิจกรรมการเรียนคลาสรูมสตูดิโอ เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการออกแบบเสียงสำหรับงานแอนิเมชันและเกม
Results of Learning Activities: Classroom Studio to Enhance Knowledge in Sound Design for Animation and Games
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง, การออกแบบเสียงสำหรับงานแอนิเมชันและเกมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านการออกแบบเสียงสำหรับงานแอนิเมชันและเกมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียน การวิจัยนี้ใช้ประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่เรียนรายวิชาการออกแบบเสียงสำหรับงานแอนิเมชันและเกม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียน “คลาสรูม สตูดิโอ” 2) แบบประเมินความรู้ด้านการออกแบบเสียงและบันทึกเสียงในสตูดิโอสำหรับงานแอนิเมชันและเกมก่อนและหลังการจัดกิจกรรม 3) แบบประเมินความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียน “คลาสรูม สตูดิโอ” สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความรู้ด้านการออกแบบเสียงสำหรับงานแอนิเมชันพบว่าทุกรายด้านมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการประเมินความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียน “คลาสรูม สตูดิโอ” โดยความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.56, =0.56)
References
Kolb D A. Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs: Prentice-Hall, Inc.; 2548.
อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์, ชนันญา น้อยสันเทียะ. ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือ Experiential Learning Theory (ELT) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.lifeeducation.in.th/positive-education/.
Hallmark B F, Thomas C M, Gantt L. Clinical Simulation in Nursing. The Educational Practices Construct of the NLN/Jeffries Simulation Framework: Stat of Science. Clinical Simulation in Nursing 2557;10(7):345-52.
ชุฏิภัคศ์ เขมวิมุตติวงศ์. การวิจัยเชิงกรณีศึกษา: การพัฒนานักศึกษาโดยสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ในการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตวิจัย 2560;8(1):83-97.
วรางคณา คุ้มสุข, มาเรียม นิลพันธุ์. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563;3(1):1-11.
สมศรี ทาทาน, วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2560;23(1):1-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารแอนิเมชัน เกม ดิจิทัลมีเดีย และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.