การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพเครื่องมือในการสอนปฏิบัติระหว่างเอกสารคู่มือกับสื่อวิดีโอในรายวิชาการพัฒนาตัวละคร 3 มิติ สำหรับแอนิเมชันและเกม

Comparative Study of the Effectiveness of Teaching Tools Between Manuals and Video Media in the Course of 3D Character Development for Animation and Games

ผู้แต่ง

  • วิธวัฒน์ สุขสาเกษ สาขาวิชาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระย กรุงเทพมหานคร
  • กานต์ คุ้มภัย สาขาวิชาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ตัวละคร 3 มิติ, เปรียบเทียบประสิทธิภาพสื่อ, เอกสารคู่มือ, สื่อวิดีโอ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพเครื่องมือในการสอนภาคปฏิบัติระหว่างเอกสารคู่มือกับสื่อวิดีโอ หาค่าเปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการใช้เครื่องมือสำหรับฝึกปฏิบัติในการสร้างตัวละคร 3 มิติ และเพื่อประเมินผลความพึงพอใจเครื่องมือทางการเรียนระหว่างเอกสารคู่มือกับสื่อวิดีโอ สำหรับฝึกปฏิบัติในการสร้างตัวละคร 3 มิติ ในรายวิชาการพัฒนาตัวละคร 3 มิติ สำหรับแอนิเมชันและเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี     ปีการศึกษา 1/2566 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาตัวละคร 3 มิติ สำหรับแอนิเมชันและเกม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาแอนิเมชัน เกม และดิจิทัลมีเดีย แบ่งเป็น 2 หมู่เรียน หมู่เรียนละ 15 คน รวมทั้งหมดจำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  เอกสารคู่มือบทเรียนเรื่องการสร้างตัวละคร 3 มิติ สื่อวิดีโอเรื่องการสร้างตัวละคร 3 มิติ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเครื่องมือที่ใช้การสอน แบบประเมินผลความพึงพอใจเครื่องมือทางการเรียนระหว่างเอกสารกับสื่อวิดีโอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ  Pair-sample T-Test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพเครื่องมือในการสอนภาคปฏิบัติระหว่างเอกสารคู่มือกับสื่อวิดีโอ สำหรับฝึกปฏิบัติในการสร้างตัวละคร 3 มิติ    มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการใช้เครื่องมือสำหรับฝึกปฏิบัติการสร้างตัวละคร 3 มิติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลประเมินผลความพึงพอใจเครื่องมือทางการเรียนระหว่างเอกสารคู่มือกับสื่อวิดีโอ พบว่า การฝึกปฏิบัติสร้างตัวละคร  3 มิติโดยการใช้สื่อวิดีโอมีผลการประเมินที่ดีกว่าการใช้เอกสารคู่มือประกอบการสอน สรุปได้ว่าสื่อวิดีโอทำให้นักศึกษามีผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติในการสร้างตัวละคร 3 มิติ ได้ผลดีกว่าประเภทเอกสารคู่มือ ในบริบทของภาคปฏิบัติงานสร้างตัวละคร 3 มิติ

References

พงษพัชรินทร พุธวัฒนะ. การจัดการเรียนรูเพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการเรียนรูและเทคโนโลยี 2564;1(2):1-11.

วลัยนุช สกุลนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สื่อการสอนตามความคิดเห็นของครู ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี [ทุนอุดหนุนการวิจัยจากวิทยาลัย ราชพฤกษ์]. วิทยาลัย ราชพฤกษ์; นนทบุรี: 2556.

จักรกฤษณ์ ฮั่นยะลา. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสื่อการสอนระหว่างสื่อประเภทสไลด์ กับวิดีโอในรายวิชาระบบบริหารและการประกันคุณภาพ. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2556;6(1): 1-8.

รจนา คำดีเกิด. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมส์ สื่อวีดีทัศน์ และบทบาทสมมุติ[อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ubu.ac.th/web/kmubu/content/การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมส์ สื่อวีดีทัศน์ และบทบาทสมมุติ by รจนา 20 คำดีเกิด/

วราพร ดำจับ. การออกแบบสื่อแอนิเมชันเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี 2556;9(1):1-20.

เกศนีย์ อิ่นอ้าย, กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว. การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูให้กับ โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดลำปางและลำพูน.สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ 2567;11(1):1-13.

กรกต ธัชศฤงคารสกุล. การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องดนตรีจีนบางหลวงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเจี้ยนหัว อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

กนกวรรณ นำมา, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล, ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. การพัฒนาสื่อดิจิทัลวิดีโอร่วมกับการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างทัศนคติ เชิงบวกต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2564;12(2):1-11.

ปริวรรต สมนึก. การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว”. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ 2558;11(1):4-17.

วาสนา ทวีกุลทรัพย์. การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การออกแบบระบบการเรียนการสอนที่ยึดสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเสียง และสื่อภาพเป็นสื่อหลัก สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ 2560;28(3): 102-11

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. การจัดการเรียนการสอน. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการสอน หน่วยที่ 10.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์; 2555.

สมัคร อยู่ลอง. การพัฒนาวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง การเป็นผู้ดำเนินรายการและวิทยากรรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม [หลักสูตรปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556.

จิราภรณ์ เฟื่องฟุ้ง. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสื่อการสอนระหว่างสื่อประเภทสไลด์ กับวิดีโอในรายวิชาระบบบริหารและการประกันคุณภาพ [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01