เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแอปพลิเคชัน Plickers ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Comparing Learning Outcomes through Collaborative Active Learning with Application Plickers of Undergraduate Students
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้เชิงรุก, แอปพลิเคชัน Plickersบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับแอปพลิเคชัน Plickers ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) หาดัชนีประสิทธิผลของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยแอปพลิเคชัน Plickers และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยแอปพลิเคชัน Plickers กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการออกแบบและพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มทดลอง ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแอปพลิเคชัน Plickers จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม ที่ใช้การเรียนการสอนด้วยวิธีปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแอปพลิเคชัน Plickers 2) แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกด้วย Plickers วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test Independent
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแอปพลิเคชัน Plickers โดยภาพรวม ( = 12.83 S.D. = 1.49) ซึ่งมีผลการเรียนรู้สูงกว่านักศึกษาที่ใช้การเรียนด้วยวิธีปกติ ( = 11.07 S.D. = 1.64) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแอปพลิเคชัน Plickers คิดเป็นร้อยละ 74 สูงกว่าเกณฑ์ แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยแอปพลิเคชัน Plickers อยู่ในระดับมาก ( = 4.28 S.D. = 0.63)
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด; 2560.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://link.bsru.ac.th/vve
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://link.bsru.ac.th/vvf
ณัฐพงษ์ ภูชมศรี. การจัดการเรียนรู้ด้วย Plickers [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://link.bsru.ac.th/vvi
Deslauriers L, Schelew E, Wieman C. Improved learning in a large-enrollment physics class. Science 2011;332(6031):862-64.
สุระ วุฒิพรหม, ขันติ เทิดธัญญา, กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. Plickers: เครื่องมือประเมินเพื่อการเรียนรู้แบบเรียลไทม์สำหรับห้องเรียนที่มีข้อจำกัดเรื่องเทคโนโลยี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 2560;8(2):429-35.
ณัฐินี ชุติมันตพงศ์. การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้โมเดลซิปปา เรื่องการวิเคราะห์งบการเงินของนิสิตภาคปกติ สาขาการจัดการ ชั้นปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ 2560;28(2):89-103.
ไพรินทร์ พึ่งพงษ์ และคณะ. รูปแบบการสอนภาษาไทยตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2564;13(2):132-50.
วัชรี แซงบุญเรือง. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2562;8(2):211-30.
สุทธิพงษ์ สายาพัฒน์, ประยูร แสงใส. การศึกษาการใช้ Plickers ที่มีต่อการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม. Journal of Buddhist Education and Research (JBER) 2021;7(1):62-70.
วนิดา เกตุเส็ง, พรรณราย เทียมทัน. ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ร่วมกับแอปพลิเคชันพลิกเกอร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2566;15(2):114-28.
กมลชนก แก้วศรีใส. กระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.
ชื่นกมล เลิศวิทวัสกุล. การศึกษาความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรม Plickers ช่วยสอนเรื่อง ฟิสิกส์อะตอม หัวข้อ การทดลองของทอมสัน มิลลิแกน และรัทเทอร์ฟอร์ด ของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://a2.afaps.ac.th/~edbsci/website/news/public/PR00057.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารแอนิเมชัน เกม ดิจิทัลมีเดีย และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.