การพัฒนาซอฟต์แวร์จำลองรูปแบบการเคลื่อนที่อนุภาควัตถุของเกมเอนจิน Construct 2 สำหรับการเรียนการสอนของมัธยมศึกษาตอนปลาย

Development of Software to Model Particle Dynamics within the Construct 2 Game Engine for Educational Purposes in Senior High School

ผู้แต่ง

  • วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • อิทธิพล สมเสมอ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ปุริม ชฎารัตนฐิติ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ซอฟต์แวร์, อนุภาค, เกมเอนจิน Construct 2, มัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์จำลองรูปแบบการเคลื่อนที่อนุภาควัตถุของเกมเอนจิน Construct 2 สำหรับการเรียนการสอนของมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 5 ปี และเคยส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันพัฒนาเกมในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนอย่างน้อย 2 ครั้ง ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 7 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสนใจทางด้านเกม ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ซอฟต์แวร์จำลองรูปแบบการเคลื่อนที่อนุภาควัตถุที่พัฒนาขึ้น 2) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างของผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อซอฟต์แวร์

          ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ได้ซอฟต์แวร์จำลองรูปแบบการเคลื่อนที่อนุภาควัตถุของเกมเอนจิน Construct 2 ที่สามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ และจำลองรูปแบบตัวอย่างของอนุภาคได้ 2) ได้ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( equation= 4.69,  S.D. = 0.39) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( equation = 4.56, S.D. = 0.58)

References

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). เปิดประตูสู่โอกาสในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://intelligence.businesseventsthailand

.com/files/keyindustries/keyindustries_document1_97fb3cac9543fa4196924f2d06ff1785.pdf

วาริยา คำชนะ. Garena โชว์แผนปี 67 ย้ำภาพเบอร์ 1 อุตสาหกรรม “เกม-อีสปอร์ต” ไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1120550

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย (สาขาเกม) Digital Content Series: Game [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 27 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.depa.or.th/th/article-view/2-digital-content-series-game

สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 27 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sillapa.net/rule70/computer-70.pdf

Dobroskok I, Rzhevska N, Ayyıldız H, Zaimova D, Zheliazkov G. Game development software tools in higher educational institutions: Experience of Ukraine, Turkey and Bulgaria. Ìnf tehnol ì zasobi navčannâ [Internet]. 2020;78(4):90–104. Available from: http://dx.doi.org/10.33407/itlt.v78i4.3370

Singh RP, Dubey R, Agarwal S. Reinforcing particle system effects using object-oriented approach and real-time fluid dynamics for next-generation 3D gaming. In: Advances in Intelligent Systems and Computing. Singapore: Springer Singapore; 2016. p. 69–79.

Prasetya Kusumah E, Sutra Dumex P. Particle-based model for 2D sandbox/structural forward modelling using game engine. In: Third International Meeting for Applied Geoscience & Energy Expanded Abstracts. Society of Exploration Geophysicists and American Association of Petroleum Geologists; 2023. p. 1692–5.

Latta L. Building a Million Particle System [Internet] 2004. [cited 2024 June 27] Available from: https://typeset.io/pdf/building-a-million-particle-system-1fsbabjq4t.pdf

คุณากร ธนที. สร้างเกมการเรียนรู้ด้วย Construct 2 [อินเทอร์เน็ต] 2564. [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2567] เข้าถึงได้จาก:https://www.slideshare.net/slideshow/construct-2-manual-construct-2/240938196#30

Plačko M. Korištenje alata Construct 2 [dissertation]. Zagreb, Croatia: University of Zagreb; 2015.

scirra. Particles [Internet] 2020 [cited 2024 June 26] Available from: https://www.construct.net/en/construct-2/manuals/construct-2/plugin-reference/particles

Ginman V, Malmaros KIM. Visualization of smoke using particle systems [Internet] 2013. [cited 2024 June 28] Available from: http://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:676008/FULLTEXT01.pdf

Takano M. How to make fireworks by Particles in Unity – Fireworks with thin trails [Internet] 2018. [cited 2024 June 27] Available from: https://styly.cc/tips/unity_fireworks02/

Qt Group. Particle System: Fire Effect | Qt Design Studio Manual 4.5.0 [Internet] 2024. [cited 2024 June 27] Available from: https://doc.qt.io/qtdesignstudio/fire-particle-effect.html

Bilotta G, Zago V, Hérault A. Design and implementation of particle systems for meshfree methods with high performance. In: High Performance Parallel Computing. IntechOpen; 2019.

รื่นฤดี ศรีเกตุสุข, ปถมาภรณ์ ไทยโพธิ์ศรี. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างเกมด้วย Scratch ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบางลี่วิทยา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยนครปฐม 2565:1284–94. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2567] เข้าถึงได้จาก: https://publication.npru.ac.th/bitstream/123456789/1707/1/npru-126.pdf

มนสิชา มะโหรา, อำนาจ จันทร์แป้น, วารุณี โพธาสินธุ์. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเกมเก็บข้อมูลโดยโปรแกรมสแครช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ 2565;7:415–28. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2567] เข้าถึงได้จาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jsbs/article/view/255137

Suliswaningsih S, Widiawati CRA, Syafa’at AY, Fajrina BTN. Pelatihan Membuat Game Menggunakan Software Construct 2 untuk Meningkatkan Motivasi Belajar pada Siswa SMK. SEMAR (Jurnal Ilmu Pengetahuan, Teknologi, dan Seni bagi Masyarakat) [Internet]. 2021;10(1):1. Available from: http://dx.doi.org/10.20961/semar.v10i1.44463

Gagnon M. The use of computer-simulated trajectories to teach real particle flight. Phys Educ [Internet]. 2011;46(6):712–6. Available from: http://dx.doi.org/10.1088/0031-9120/46/6/010

Krisnadi D, Lukas S, Yugopuspito P, Stefani D, Widjaja P. Computer simulation development for simulation-based learning in high-school Physics. Int J Learn Teach [Internet]. 2023;9(2). Available from: http://dx.doi.org/10.18178/ijlt.9.2.136-142

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. สุวีริยาสาส์น; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-13