แอปพลิเคชันเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Mobile Game Application for Enhancing English Language Learning for Fifth-Grade Students

ผู้แต่ง

  • จิรพนธ์ วันใส สาขาวิชาสมาร์ตแอปพลิเคชัน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • มลธิชา แสงทอง สาขาวิชาสมาร์ตแอปพลิเคชัน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • อรอุษา บุญสอน สาขาวิชาสมาร์ตแอปพลิเคชัน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • สุระเจตน์ อ่อนฤทธิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเครือข่าย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • พัฒนา ศรีชาลี สาขาวิชาเทคโนโลยีเกม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • เอกรินทร์ วทัญญูเลิศสกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีเกม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัอุบลราชธานี อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, เกม, ภาษาอังกฤษ, อุปกรณ์เคลื่อนที่

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชัน รวมถึงความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดยใช้แนวทางการออกแบบและพัฒนาเกม 2 มิติที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะด้านคำศัพท์ การสนทนา และการอ่านภาษาอังกฤษ ผ่านกิจกรรมในเกม 2 ประเภท ได้แก่ เกมจับคู่คำศัพท์และเกมภารกิจภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เล่นต้องทำแบบทดสอบให้ผ่านก่อนจึงจะสามารถไปยังด่านถัดไปได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ถูกคัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายจากโรงเรียนในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่
แอปพลิเคชันเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบประเมินคุณภาพการใช้งานต้นแบบแอปพลิเคชัน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน โดยใช้สถิติ เช่น ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล       

          ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันเกมที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้ ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า แอปพลิเคชันมีความเหมาะสมในระดับ มาก (  = 3.95, S.D. = 0.81) ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าค่าความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (  = 4.37, S.D. = 0.71) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าแอปพลิเคชันเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่นี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในรูปแบบที่น่าสนใจและมีปฏิสัมพันธ์สูงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

References

Hamilton M T., Artharo A., Sumethaso B. English Language: The Speaking Fluency of Primary Thai Students. Journal of English Language and Linguistics 2024;5(1):110-9.

ชัชรีย์ บุนนาค. ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564–2568. ใน: รายงานการประชุม Graduate School Conference; 30 พ.ย. 2561; กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2561. หน้า 235-41.

อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561;10(1):31-45.

Phetsangkhad P K. Exploring the Thai EFL landscape: Implications for English language teaching. Law and Humanities Quarterly Reviews 2023;2(1):44-50.

Lozarito K K S, Segumpan M V J. Effectiveness of Digital Games in Students' Vocabulary. International Journal of English Language Teaching 2022;10(3):8-14.

Opincāne M, Laganovska K. Applying of design thinking approach in the development of foreign language course. In: Society. Integration. Education. Proceedings of the International Scientific Conference; 2023 May 26; Kaunas, Lithuania. Vol. 1. p. 155-164.

เอกรินทร์ วทัญญูเลิศสกุล, วจิราภรณ์ ประชุมรักษ์, ธัญลักษม์ ดีกา, ภักศจีภรณ์ ขันทอง. การพัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชันคัดกรองภาวะสมองเสื่อม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2567;14(2);29–41.

ณัฐวราพร เปลี่ยนปราณ. สุทัศน์ นาคจั่น. การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการสอนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอ กุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal Silpakorn University 2558;12(6):1672-84.

กัลยา จันเลน, ผาสุข บุญธรรม, สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. การพัฒนาทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้เกม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2558;8(18):99-106.

ภานรินทร์ ไทยจันทรารักษ์, ภัทรินธร บุญทวี, วงจันทร์ พูลเพิ่ม. การใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิวิธวรรณสาร 2564;5(1):163-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-14

How to Cite

1.
วันใส จ, แสงทอง ม, บุญสอน อ, อ่อนฤทธิ์ ส, ศรีชาลี พ, วทัญญูเลิศสกุล เ. แอปพลิเคชันเกมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: Mobile Game Application for Enhancing English Language Learning for Fifth-Grade Students. AGDTJ [อินเทอร์เน็ต]. 14 กุมภาพันธ์ 2025 [อ้างถึง 29 เมษายน 2025];2(1):77-95. available at: https://li02.tci-thaijo.org/index.php/animationGDTJ/article/view/1045