Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนในการเตรียมต้นฉบับ

วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นวารสารวิชาการจัดพิมพ์โดย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  โดยวารสารจะตีพิมพ์บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ งานทางด้านเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม (อาหารและโภชนาการ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม  งานประดิษฐ์สร้างสรรค์ และ การศึกษาปฐมวัย) เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความก้าวหน้าของผลงานวิชาการ บทความวิจัยและบทความวิชาการ ให้แก่คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการทั้งในและนอกสถาบัน มีกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยเสนอ หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน โดยบทความแต่ละเรื่องจะต้องส่งเป็นไฟล์ Word เท่านั้น (กองบรรณาธิการจะไม่รับพิจารณาบทความที่ไม่ตรงตามรูปแบบที่กำหนด)

  1. ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

1.1 บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลิงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป

1.2 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบและมีความมุ่งหมายชัดเจนเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีลักษณะเป็นเอกสารที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่นมีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุสมผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ตีความและสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้

  1. การเตรียมต้นฉบับบทความทางวิชาการ/บทความวิจัย จัดพิมพ์เป็นหน้าเดียว

          ต้นฉบับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาและภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ตั้งค่าหน้ากระดาษ ขนาด A4 (กว้าง 20.0 ซม. สูง 29.7 ซม.) ความยาวทั้งเรื่องไม่ควรเกิน 16 หน้ากระดาษ (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบทุกด้าน (สามารถดาวโหลด Template ได้ในเว็บไซต์วารสาร) บทความภาษาไทยและบทความภาษาอังกฤษ ใช้ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 ตัวธรรมดา ระยะห่างบรรทัด 1 เท่า ย่อหน้า 7 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 8 ไม่เกิน 16 หน้าในการเตรียมบทความ ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้าตรงด้านล่างตรงกลางกระดาษ A4

รายการ

ลักษณะตัวอักษร

ขนาดตัวอักษร

ชื่อเรื่อง

หนา

16

ชื่อผู้เขียนบทความ

ปกติ

14

ที่อยู่ผู้เขียนบทความ

ปกติ

12

บทคัดย่อ (Abstract)     

หนา

16

เนื้อหาบทคัดย่อ

ปกติ

14

หัวข้อหลัก

หนา

16

หัวข้อย่อย

ปกติ

14

บทความ

ปกติ

14

บรรณานุกรม

หนา

16

 

  1. ส่วนประกอบของบทความแต่ละประเภท

            3.1 บทความวิจัย จะประกอบไปด้วย

                  ก. ส่วนปก

  1. ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกะทัดรัด ไม่ยาวเกินไป  ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษรรวมเว้นวรรค ใช้ตัวอักษร
  2. ชื่อผู้เขียน (Authors) ชื่อเต็ม - นามสกุลเต็ม ของผู้เขียนทุกคน โดยรายละเอียดต้นสังกัดของผู้เขียนไว้ที่บรรทัดล่างสุดของหน้าแรก พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนประสานงาน (Corresponding Authors) ด้วยการระบุ E-mail address ที่สามารถติดต่อได้ และให้ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์ตัวยกกำกับไว้ตอนท้ายนามสกุล และตัวเลขยก ให้เขียนไว้ต่อท้ายนามสกุล เพื่อระบุที่อยู่ของผู้เขียน
  3. บทคัดย่อ (Abstract) ควรสั้น ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษาประกอบไปด้วยเนื้อหา ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจัย และการอภิปรายผล เป็นต้น โดยเขียนลงใน 1 ย่อหน้า ถ้าบทความเป็นภาษาไทย จะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย 1 ย่อหน้า และภาษาอังกฤษ 1 ย่อหน้า โดยให้ภาษาไทยขึ้นก่อน เนื้อความในบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องมีความหมายเดียวกัน ความยาวของบทคัดย่อภาษาอังกฤษ กำหนดให้มีความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. คำสำคัญ (Key words) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีความหมายตรงกัน เป็นการกำหนดคำสำคัญที่สามารถไปใช้สืบค้นในฐานระบบข้อมูล กำหนดให้มีคำสำคัญได้อย่างน้อย 3 คำแต่ไม่เกิน 5 คำ

**หมายเหตุ : เนื้อหาส่วนปกจะต้องเขียนให้อยู่ในกระดาษจำนวน 1 หน้า เท่านั้น

                 ข. ส่วนเนื้อหา

  1. บทนำ (Introduction) เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงการทบทวนวรรณกรรม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  2. วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (Materials and Methods) / วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) อธิบายเครื่องมือและวิธีการดำเนินการวิจัยให้ชัดเจน
  3. ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการทดลองอย่างชัดเจน ตรงประเด็น ควรมีรูปภาพ และ/หรือ ตารางประกอบการอธิบายผลในตารางและรูปภาพ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน รูปภาพและตารางบทความที่เป็นภาษาไทย ให้บรรยายเป็นภาษาไทย รูปภาพและตารางของบทความที่เป็นภาษาอังกฤษให้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ
  4. การอภิปรายผล (Discussion) เป็นการอภิปรายผลการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านมีคสามเห็นคล้อยตาม เพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์ผลการวิจัย และอภิปรายผล (Results and Discussion) อาจนำมาเขียนตอนเดียวกันได้

                   5.บทสรุป (Conclusion) สรุปประเด็น และสาระสำคัญของการวิจัย

  1. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ความช่วยเหลือในการวิจัย อาจมีหรือไม่มีก็ได้
  2. เอกสารอ้างอิง (References) เป็นรายการเอกสารที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่อง เพื่อใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัย  จำนวนเอกสารที่นำมาอ้างอิงตอนท้ายต้องมีจำนวนตรงกับที่ถูกอ้างอิงไว้ ในส่วนของเนื้อเรื่องที่ปรากฎในบทความเท่านั้น การจัดเรียวให้เรียงตามลำดับการอ้างอิงในเนื้อหา โดยยึดถือรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงตามที่วารสาร

            3.2 บทความวิชาการ จะประกอบไปด้วย

                 ก. ส่วนปก

                    มีส่วนประกอบเหมือนบทความวิจัย และเขียนให้อยู่ในกระดาษ จำนวน 1 หน้าเท่านั้น

                 ข. ส่วนเนื้อหา

  1. บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของที่มาของมูลเหตุของการเขียนบทความ
  2. วิธีการศึกษา/วิธีดำเนินการ (Methods) (ถ้ามี) เป็นการอธิบายวิธีการศึกษา หรือ การดำเนินการตามประเภทของบทความวิชาการ
  3. ผลการศึกษา/ผลการดำเนินการ (Results) เป็นการเสนอผลอย่างชัดเจน ตามประเด็นโดยลำดับตามหัวข้อที่ศึกษาหรือดำเนินการ
  4. สรุป (Conclusion) สรุปประเด็น และสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา
  5. เอกสารอ้างอิง (References) เป็นรายการเอกสารที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่อง เพื่อใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัย  จำนวนเอกสารที่นำมาอ้างอิงตอนท้ายต้องมีจำนวนตรงกับที่ถูกอ้างอิงไว้ ในส่วนของเนื้อเรื่องที่ปรากฎในบทความเท่านั้น การจัดเรียวให้เรียงตามลำดับการอ้างอิงในเนื้อหา โดยยึดถือรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงตามที่วารสาร