ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
-
บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
-
มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
-
บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
-
บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนในการเตรียมต้นฉบับ
วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นวารสารวิชาการจัดพิมพ์โดย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ โดยวารสารจะตีพิมพ์บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ งานทางด้านเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม (อาหารและโภชนาการ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม งานประดิษฐ์สร้างสรรค์ และ การศึกษาปฐมวัย) เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความก้าวหน้าของผลงานวิชาการ บทความวิจัยและบทความวิชาการ ให้แก่คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการทั้งในและนอกสถาบัน มีกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยเสนอ หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน โดยบทความแต่ละเรื่องจะต้องส่งเป็นไฟล์ Word เท่านั้น (กองบรรณาธิการจะไม่รับพิจารณาบทความที่ไม่ตรงตามรูปแบบที่กำหนด)
- ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
1.1 บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลิงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป
1.2 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบและมีความมุ่งหมายชัดเจนเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีลักษณะเป็นเอกสารที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่นมีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุสมผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ตีความและสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้
- การเตรียมต้นฉบับบทความทางวิชาการ/บทความวิจัย จัดพิมพ์เป็นหน้าเดียว
ต้นฉบับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาและภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ตั้งค่าหน้ากระดาษ ขนาด A4 (กว้าง 20.0 ซม. สูง 29.7 ซม.) ความยาวทั้งเรื่องไม่ควรเกิน 16 หน้ากระดาษ (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบทุกด้าน (สามารถดาวโหลด Template ได้ในเว็บไซต์วารสาร) บทความภาษาไทยและบทความภาษาอังกฤษ ใช้ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 ตัวธรรมดา ระยะห่างบรรทัด 1 เท่า ย่อหน้า 7 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 8 ไม่เกิน 16 หน้าในการเตรียมบทความ ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้าตรงด้านล่างตรงกลางกระดาษ A4
รายการ
|
ลักษณะตัวอักษร
|
ขนาดตัวอักษร
|
ชื่อเรื่อง
|
หนา
|
16
|
ชื่อผู้เขียนบทความ
|
ปกติ
|
14
|
ที่อยู่ผู้เขียนบทความ
|
ปกติ
|
12
|
บทคัดย่อ (Abstract)
|
หนา
|
16
|
เนื้อหาบทคัดย่อ
|
ปกติ
|
14
|
หัวข้อหลัก
|
หนา
|
16
|
หัวข้อย่อย
|
ปกติ
|
14
|
บทความ
|
ปกติ
|
14
|
บรรณานุกรม
|
หนา
|
16
|
- ส่วนประกอบของบทความแต่ละประเภท
3.1 บทความวิจัย จะประกอบไปด้วย
ก. ส่วนปก
- ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกะทัดรัด ไม่ยาวเกินไป ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษรรวมเว้นวรรค ใช้ตัวอักษร
- ชื่อผู้เขียน (Authors) ชื่อเต็ม - นามสกุลเต็ม ของผู้เขียนทุกคน โดยรายละเอียดต้นสังกัดของผู้เขียนไว้ที่บรรทัดล่างสุดของหน้าแรก พร้อมทั้งระบุชื่อผู้เขียนประสานงาน (Corresponding Authors) ด้วยการระบุ E-mail address ที่สามารถติดต่อได้ และให้ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์ตัวยกกำกับไว้ตอนท้ายนามสกุล และตัวเลขยก ให้เขียนไว้ต่อท้ายนามสกุล เพื่อระบุที่อยู่ของผู้เขียน
- บทคัดย่อ (Abstract) ควรสั้น ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษาประกอบไปด้วยเนื้อหา ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจัย และการอภิปรายผล เป็นต้น โดยเขียนลงใน 1 ย่อหน้า ถ้าบทความเป็นภาษาไทย จะต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย 1 ย่อหน้า และภาษาอังกฤษ 1 ย่อหน้า โดยให้ภาษาไทยขึ้นก่อน เนื้อความในบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องมีความหมายเดียวกัน ความยาวของบทคัดย่อภาษาอังกฤษ กำหนดให้มีความยาวไม่เกิน 300 คำ
- คำสำคัญ (Key words) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีความหมายตรงกัน เป็นการกำหนดคำสำคัญที่สามารถไปใช้สืบค้นในฐานระบบข้อมูล กำหนดให้มีคำสำคัญได้อย่างน้อย 3 คำแต่ไม่เกิน 5 คำ
**หมายเหตุ : เนื้อหาส่วนปกจะต้องเขียนให้อยู่ในกระดาษจำนวน 1 หน้า เท่านั้น
ข. ส่วนเนื้อหา
- บทนำ (Introduction) เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงการทบทวนวรรณกรรม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (Materials and Methods) / วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) อธิบายเครื่องมือและวิธีการดำเนินการวิจัยให้ชัดเจน
- ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการทดลองอย่างชัดเจน ตรงประเด็น ควรมีรูปภาพ และ/หรือ ตารางประกอบการอธิบายผลในตารางและรูปภาพ ต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน รูปภาพและตารางบทความที่เป็นภาษาไทย ให้บรรยายเป็นภาษาไทย รูปภาพและตารางของบทความที่เป็นภาษาอังกฤษให้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ
- การอภิปรายผล (Discussion) เป็นการอภิปรายผลการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านมีคสามเห็นคล้อยตาม เพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์ผลการวิจัย และอภิปรายผล (Results and Discussion) อาจนำมาเขียนตอนเดียวกันได้
5.บทสรุป (Conclusion) สรุปประเด็น และสาระสำคัญของการวิจัย
- กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ความช่วยเหลือในการวิจัย อาจมีหรือไม่มีก็ได้
- เอกสารอ้างอิง (References) เป็นรายการเอกสารที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่อง เพื่อใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัย จำนวนเอกสารที่นำมาอ้างอิงตอนท้ายต้องมีจำนวนตรงกับที่ถูกอ้างอิงไว้ ในส่วนของเนื้อเรื่องที่ปรากฎในบทความเท่านั้น การจัดเรียวให้เรียงตามลำดับการอ้างอิงในเนื้อหา โดยยึดถือรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงตามที่วารสาร
3.2 บทความวิชาการ จะประกอบไปด้วย
ก. ส่วนปก
มีส่วนประกอบเหมือนบทความวิจัย และเขียนให้อยู่ในกระดาษ จำนวน 1 หน้าเท่านั้น
ข. ส่วนเนื้อหา
- บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของที่มาของมูลเหตุของการเขียนบทความ
- วิธีการศึกษา/วิธีดำเนินการ (Methods) (ถ้ามี) เป็นการอธิบายวิธีการศึกษา หรือ การดำเนินการตามประเภทของบทความวิชาการ
- ผลการศึกษา/ผลการดำเนินการ (Results) เป็นการเสนอผลอย่างชัดเจน ตามประเด็นโดยลำดับตามหัวข้อที่ศึกษาหรือดำเนินการ
- สรุป (Conclusion) สรุปประเด็น และสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา
- เอกสารอ้างอิง (References) เป็นรายการเอกสารที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่อง เพื่อใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัย จำนวนเอกสารที่นำมาอ้างอิงตอนท้ายต้องมีจำนวนตรงกับที่ถูกอ้างอิงไว้ ในส่วนของเนื้อเรื่องที่ปรากฎในบทความเท่านั้น การจัดเรียวให้เรียงตามลำดับการอ้างอิงในเนื้อหา โดยยึดถือรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงตามที่วารสาร
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน วารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย