The Development of Cereal Bars with Tamarind Sauce and Okra
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการทำธัญพืชอัดแท่งซอสมะขามและกระเจี๊ยบ เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของธัญพืชอัดแท่งซอสมะขามและกระเจี๊ยบและความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อธัญพืชอัดแท่งซอสมะขามและกระเจี๊ยบ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ครูและนักศึกษา ระดับปริญญาตรีสาขาการจัดการงานคหกรรมสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่จัดทำเองและวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า การหาค่าร้อยละความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อธัญพืชอัดแท่งซอสมะขามและกระเจี๊ยบ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจำนาน 50 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 68 และเพศชายคิดเป็นร้อยละ 32 ช่วงอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 44 มากที่สุด รองลงมาอยู่ในช่วงอายุมากกว่า 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 40 ช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 16 ตามลำดับ โดยภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างที่มีความพึงพอใจต่อธัญพืชอัดแท่งซอสมะขามและกระเจี๊ยบ รายการประเมินทั้ง 7 ด้าน พบว่าโดยภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างที่มีความพึงพอใจต่อธัญพืชอัดแท่งซอสมะขามและกระเจี๊ยบ อยู่ในระดับชอบมาก คือ ด้านความชอบโดยรวม ( = 8.18) ด้านเนื้อสัมผัส ( = 8.12) และด้านกลิ่น ( = 7.86) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายการประเมินลักษณะที่ปรากฏของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับชอบปานกลาง ( = 7.02 ) ด้านที่อยู่ในระดับชอบเล็กน้อย คือ ด้านสี ( = 6.22 ) ด้านรสชาติ ( = 6.14) และด้านบรรจุภัณฑ์ ( = 6.00) ตามลำดับ
Article Details
Articles published are copyright of the Journal of Home Economics Technology and Innovation. Rajamangala University of Technology Thanyaburi The statements contained in each article in this academic journal are the personal opinions of each author and are not related to Rajamangala University of Technology Thanyaburi and other faculty members at the university in any way Responsibility for all elements of each article belongs to each author. If there is any mistake Each author is solely responsible for his or her own articles.
References
กัญญา สุขสวัสดิ์. ธัญพืชอัดแท่ง. ออนไลน์. [6 ธันวาคม 2563] สาระสังเขป สืบค้นจาก : https://sistacafe.com/summaries/3165
Food Intelligence Center. (2016). 10 food and beverage markets in 2016. (Online). Available from:http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewWorldDetail.php?id=84. (in Thai)
Nithitantiwat, P., & Udomsapaya, W. (2017). Food Consumption Behavior among Thai Adolescents, Impacts, and Solutions. Journal of Phrapokklao Nursing College, 28(1), 122-128.
Thai Industrial Standards Institute. (2016). Thai community product standard “Fruit Vegetable and Cereal bar”. 2016. Available from: http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0902_59.pdf30 October 2019. (in Thai)
Yimprasert, S. (2017). Food Consumption Behavior of Undergraduate Student Level 1 in Rajamangala University of Technology Isan Nakhon Ratchasima. Ratjapruek Journal, 15(1), 33-41.