การพัฒนาชุดครอบครัวมุสลิมจากผ้าปาเต๊ะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าชุดครอบครัวมุสลิมจากผ้าปาเต๊ะ และสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อชุดครอบครัวมุสลิมจากผ้าปาเต๊ะจากกลุ่มตัวอย่างเจาะจง เฉพาะผู้สนใจผ้าปาเต๊ะจำนวน 100 คน อุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และหาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยด้านการออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าชุดครอบครัวมุสลิมซึ่งได้เป็นชุดต้นแบบ 5 ชุด ด้านผลสำรวจความพึงพอใจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 21-30 ปี ด้านความรู้เรื่องผ้าปาเต๊ะพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รู้จักผ้าปาเต๊ะ เคยศึกษาเกี่ยวกับผ้าปาเต๊ะ เคยเห็นวิธีการผลิตผ้าปาเต๊ะ มีความชอบลวดลายของผ้าปาเต๊ะ ชอบสีสันของผ้าปาเต๊ะ และส่วนใหญ่ชื่นชอบผ้าปาเต๊ะ คิดเป็นร้อยละ 90 ผลการวิจัยด้านความพึงพอใจต่อการออกแบบและตัดเย็บชุดครอบครัวมุสลิมจากผ้าปาเต๊ะ ทั้ง 5 ชุด พบว่ามีความพึงพอใจต่อชุดครอบครัวมุสลิมโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ด้านความสวยงาม มีค่าเฉลี่ย 4.60 รองลงมาคือ ด้านความประณีตในการตัดเย็บ มีค่าเฉลี่ย 4.59 รองลงมาคือ ด้านเทคนิคและวิธีการตกแต่งมีค่าเฉลี่ย 4.49 และด้านประโยชน์ใช้สอย มีค่าเฉลี่ย 4.45 ทั้ง 4 ด้านมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ณภัทร บัวจีน. (2563). ริ้วคลื่น ปาเต๊ะกับความทรงจำ. ทัศนศิลปศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
เดือนนภา อุ่นอ่อน และอรวรรณ ฟักสังข์. (2563). การงานอาชีพ 5. สำนักพิมพ์เอมพันธ์จำกัด.
ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์. (2562). ผ้าปาเต๊ะ ตรังกานู. ใน สืบพงศ์ ธรรมชาติ (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติสานสัมพันธ์วัฒนธรรม อาเซียนครั้ง ที่ 5. (น.32 - 33). สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://wacc.wu.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/Book-ok.pdf
ฤธรรมรง ปลัดสงคราม. (2555). บาติกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://ruethamrong.blogspot.com/2012/01/blog-post_832.html
บัณฑิต ไวว่อง. (2561). ปัจจัยที่ผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อผ้าปาเต๊ะในจังหวัดภูเก็ต. การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56. (น.293 - 300). สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563, จาก file:///C:/Users/waraporn/Dowdnloads/KC5607001%20(4).pdf
วิรัช เอี่ยมปลัด. (มปป). การแต่งกาย ผู้หญิงและผู้ชายมุสลิม ตามหลักอิสลาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/18919
สุนีย์ วัฑฒนายน. (2552). เสนห์ “บานง” “กูรง” วัฒนธรรมการแต่งกายสตรีมุสลิมชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj
อารีนา อีสามะ และสายชลี ชัยศาสตร์. (2558). การวิจัยการพัฒนารูปแบบลวดลายศิลปะผ้าบาติกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
Peeranat Chansakoolnee. (2562). เปิดประวัติ 'ผ้าบาติก' อารยธรรมสำคัญจากอินโดนีเซีย สู่งานหัตถศิลป์ล้ำค่าของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์, จาก https://www.vogue.co.th/fashion/article/batikhistory