คุณภาพทางกายภาพ เคมี และประสาทสัมผัสของเครื่องดื่มกุหลาบเสริมรากบัวหลวงแบบสดและแบบอบแห้ง

Main Article Content

อรอุมา คำแดง
รัตนาภรณ์ มะโนกิจ
เกรียงศักดิ์ สิงห์แก้ว

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ ปริมาณ และเปรียบเทียบการใช้รากบัวหลวงที่เหมาะสม คุณภาพทางกายภาพ เคมี ประสาทสัมผัส และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเครื่องดื่มกุหลาบเสริมรากบัวหลวง โดยใช้รากบัวแบบสดและแบบอบแห้ง แปรปริมาณแบบสด 6 ระดับ คือ ร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 ของน้ำหนักทั้งหมด และแปรผันปริมาณแบบอบแห้ง 6 ระดับ คือ ร้อยละ 0.1, 0.3, 0.6, 0.9, 1.2 และ 1.5 ของน้ำหนักทั้งหมด พบว่า ปริมาณรากบัวหลวงสดที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 0.5 ส่วนปริมาณรากบัวหลวงอบแห้งที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 0.6 เปรียบเทียบลักษณะพบว่าการใช้รากบัวหลวงอบแห้งมีเหมาะสมมากกว่าการใช้รากบัวสด เนื่องจากมีสีชมพูอ่อนสวย มีความใส มีกลิ่นหอมของดอกกุหลาบ และความหวานพอดี โดยมีส่วนผสมเครื่องดื่มกุหลาบเสริมรากบัวหลวง ได้แก่ กลีบกุหลาบอบแห้ง รากบัวแห้ง น้ำตาลทราย และน้ำสะอาด ปริมาณร้อยละ 2.66 0.6 8.02 และ 88.72 ตามลำดับ คุณภาพทางกายภาพ ได้แก่ ค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 17.5, 1.6 และ 4.3 ตามลำดับ และค่าความเป็นกรดด่าง 5.47คุณภาพทางเคมี โดยทดสอบการต้านออกซิเดชัน 3 วิธี คือ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดเปอร์ออกซิเดชันของไขมัน และฤทธิ์การเกิดคีเลชันของโลหะ พบว่า เครื่องดื่มกุหลาบเสริมรากบัวหลวงอบแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดคีเลชันของโลหะดีที่สุด รองลงมา คือ ฤทธิ์ยับยั้งเปอร์ออกซิเดชันของไขมัน และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH น้อยที่สุด

Article Details

How to Cite
คำแดง อ. ., มะโนกิจ ร., & สิงห์แก้ว เ. . . (2022). คุณภาพทางกายภาพ เคมี และประสาทสัมผัสของเครื่องดื่มกุหลาบเสริมรากบัวหลวงแบบสดและแบบอบแห้ง . วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 1(1), 8–21. สืบค้น จาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JHET/article/view/288
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). บัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี ศูนย์ข้อมูลกลางทาง วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก http://pathumthanitourist.com/th/site_content/item/190-2015-aug-24-02-56-41

จริยา เดชกุญชร. (2547). เครื่องดื่มและน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์เพชรการเรือน.

ณัฐพร ศรีเดช. (2561). เครื่องดื่มสมุนไพรเสริมรากบัวหลวง. แผนงานพิเศษด้านอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ณัฐณิชา ทวีมาก. (2560). ชากุหลาบกระเจี๊ยบ, สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก https://krua.co/recipes/ 1952/ชากุหลาบกระเจี๊ยบ

ณัฐธินี ทรายแก้ว. (2562). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากกลีบกุหลาบ. โครงการวิจัยคณะวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ สาขาสหวิทยาการ เขตพื้นที่เชียงใหม่, เชียงใหม่.

monkeytan. (2559). ชานมกุหลาบ ชาของคนธาตุหนักกลิ่นหอมสุด ๆ, สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก http://food.mthai.com/ dessert/122407.html

นิรนาม. (2559). ชากุหลาบ (ร้อน), สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก http://www.ChaTraMue/posts/ชงยังไงให้ฟิน-กินแล้วสบายตัวแจกสูตรชากุหลาบ-mild-ถ่ายน้อย-อ่อนโยนของแท้-จากชาตรามือ/1567146220010858

(2554). บัว…พืชเป็นยาและอาหาร. วารสารไทยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 23เมษายน 2561, จาก http://www.thaikasetsart.com/บัว-พืชเป็นยาและอาหาร/

ปันนา อนุสสร. (2549). เครื่องดื่มแนวอายุรเวท. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์เวลาดี.

สุรัตน์วดี วงค์คลัง, เลอลักษณ์ เสถียรรัตน์และอรุณพร อิฐรัตน์. (2557). การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของบัวหลวง (Antioxidant Activity of Nelumbo nucifera Gareth Extract). วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 45(2)(พิเศษ): 673-676

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2562). บัวหลวง. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก www.rspg.or.th.

รัตนาภรณ์ มะโนกิจ. (ม.ป.ป.). การวัดค่าสี เครื่องวัดค่าความหวาน. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการควบคุมคุณภาพอาหารอุตสาหกรรม. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

วราภรณ์ กิจชัยนุกุล. (ม.ป.ป.). แนวทางการตรวจสอบความถูกต้องของ pH meter เพื่อการวัด pH-value ในตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก http://www.dss.go.th/images/bpt/pHmeter-waraporn.pdf

bluemocha. (2562). ชากุหลาบน้ำผึ้งมะนาวโซดา, สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก http://www.bluemocha coffee/post/-ชากุหลาบน้ำผึ้งมะนาวโซดา-สูตรสำหรับแก้ว-160z-ส่วนผสม-น้ำชาดิบชากุหลาบ-60ml-น้ำผึ้ง/ 964531960383082

(2560). สูตรชากุหลาบน้ำผึ้งมะนาว, สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก https://www. bluemochatea.com/ 2018/05/10/สูตรชากุหลาบน้ําผึ้งมะนาว/hongbrewverychic.2560. Hibiscus Rose Ice Tea./https://www. facebook.com/pchongbrewverychic/photos/2-ชากุหลาบกระเจี๊ยบhibiscus-rose-ice-tea/19140908888 68694

Boonpisuttinant, K., Manosroi, A., Rahmat, D. & Manosroi, J.. (2012). Enhancement of In Vitro Anti- Proliferative Activity and Intestinal Membrane Permeation of Thai Medicinal Plant Extracts Selected from the MANOSROI II Database by Loading in Chitosan-Thioglycolic Acid (TGA) Nanoparticles. Advanced science letters, 17(1), 206-216.

Ebrahimzadeh MA, Pourmorad F and Bekhradnia AR. (2008). Iron chelating activity screening, phenol and flavonoid content of some medicinal plants from Iran. Afr. J. Biotechnol., (32), 43-49.

Fan J., Xie Y., Xue J., and Liu R.. (2013). The effect of Beauveria brongniartii and its secondary metabolites on the detoxification enzymes of the pine caterpillar, Dendrolimus tabulaeformis. J. Insect Sci. (13), 44.

Kim., J. K., J. H. Noh, S. Lee, J. S. Choi, H. Suh, H. Y. Chung, Y.O. Song and C. Lee. (2002). The First Total Synthesis of 2,3,6-Tribromo-4,5-dihydroxybenzyl Methyl Ether (TDB) and Its Antioxidant Activity. Bull. Korean Chem. Soc., 23(5), 661-662.

Mohan, V. Balamurugan, S.T. Salini, R. Rekha. (2012). Metal ion chelating activity and hydrogen peroxide scavenging activity of medicinal plant Kalanchoe pinnata. J. Chem. Pharm. Res., 4(1), 197-202

Sharma, O.P. and Bhat, T.K., (2009), DPPH antioxidant assay revisited, Food Chem. (113), 1202-1205.