การออกแบบเสื้อผ้าจากผ้าพิมพ์ลวดลายด้วยพืชพรรณไม้

Main Article Content

วราภรณ์ บันเล็งลอย
กัญญาณัฐ ทรวงถูก
พรพิริยา ลาดหนองขุ่น

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพิมพ์ลายผ้าด้วยพืชพรรณไม้ การออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยผ้าพิมพ์ลายพืชพรรณไม้ ทำการสำรวจความพึงพอใจต่อการออกแบบเสื้อผ้าด้วยผ้าพิมพ์ลายพืชพรรณไม้โดยกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้สนใจผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าย้อมสีธรรมชาติจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการออกแบบเสื้อผ้าด้วยผ้าพิมพ์ลายพืชพรรณไม้ ผลการศึกษาด้านกระบวนการพิมพ์ลายผ้าด้วยพืชพรรณไม้ พบว่ามี 2 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ ขั้นแรกเตรียมผ้าและใบไม้  ขั้นที่สองการพิมพ์ลายธรรมชาติด้วยพรรณไม้ ผลการออกแบบเสื้อผ้า แนวนิวนอมอลจากผ้าพิมพ์ลายพืชพรรณไม้ ได้ 1 คอลเลคชั่น จำนวน 5 ชุด   ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเสื้อผ้าจากผ้าพิมพ์ลายพืชพรรณไม้ 1 คอลเลคชั่น พบว่าด้านการออกแบบแฟชั่นความทันสมัยความเหมาะสม  มีค่าเฉลี่ย 4.81 ด้านโครงสร้างและการตัดต่อลวดลายของชุดมีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.72  ด้านเหมาะสมของวัสดุตกแต่งชุด มีค่าเฉลี่ย 4.70  ด้านประโยชน์นำไปใช้สวมใส่ได้จริง มีค่าเฉลี่ย 4.68 และด้านความเหมาะสมในการนำผ้าพิมพ์ลายพรรณไม้มาแปรรูป มีค่าเฉลี่ย 4.60  ทั้ง 5 ด้านมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

How to Cite
บันเล็งลอย ว. ., ทรวงถูก ก. ., & ลาดหนองขุ่น พ. . (2022). การออกแบบเสื้อผ้าจากผ้าพิมพ์ลวดลายด้วยพืชพรรณไม้. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 1(1), 32–42. สืบค้น จาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JHET/article/view/290
บท
บทความวิจัย

References

กัลยดา ชุ่มอินทรจักร. (2564). ผ้าพิมพ์สีจากธรรมชาติ สร้างรายได้ และมูลค่าจากธรรมชาติ ศาสตร์และศิลป์. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565, จาก https://www.technologychaoban.com

กาญจนา วงศ์กระจ่าง และปณิธาน สุระยศ. (2560). การศึกษาผลของวิธีการสกัดและชนิดมอร์แดนท์ต่อคุณภาพของสีย้อม และการศึกษาสารในสีย้อมดอกดาวเรือง. วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 9 ( 10 ), น. 31 – 44. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565, จาก https://www.tci-thaijo.org.

จุลีพร อัมรารัมย์. (2464). ID01-ศิลปะผ้าย้อมพิมพ์ลายจากเทคนิคการนึ่ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564, จาก http://u2t.bru.ac.th/idtech/id01

ชุติมา เดชศรี และประภัสสร วิเศษประภา. (มปป).การตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์รักษ์โลกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993223.pdf

มนัส จันทร์พวง และคณะ. (2563) การพัฒนาผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากใบสัก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8 (1), น. 250 – 262. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565, จาก https://so02.tci-thaijo.org › article › download

ลีพร อัมรารัมย์. (2464). ID01-ศิลปะผ้าย้อมพิมพ์ลายจากเทคนิคการนึ่ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564, จาก http://u2t.bru.ac.th/idtech/id01

ทิพาพร พิมพิสุทธิ์. (2564). กล่างถึงใน กัลยดา ชุ่มอินทรจักร. (2564). ผ้าพิมพ์สีจากธรรมชาติ สร้างรายได้ และมูลค่าจากธรรมชาติ ศาสตร์และศิลป์. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565, จาก https://www.technologychaoban.com

สิริกาญน์ แก้วทอง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน นศ.ม.,มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี

สุรพันธ์ แสงสุวรรณ์. (2561). เครื่องนุ่งห่ม. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2565, จาก https://readthecloud.co/entrepreneur- rissara/

นิรนาม. (มปป). สินค้ารักษ์โลกในสหรัฐอเมริกา. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2565, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993223.pdf