การพัฒนาผลิตภัณฑ์โคมไฟไทยจากลูกปัดมโนราห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์โคมไฟไทยจากลูกปัดมโนราห์ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อออกแบบและพัฒนาโคมไฟลูกปัดมโนราห์ 2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อโคมไฟไทยจากลูกปัดมโนราห์ การศึกษาการนำลูกปัดมโนราห์มาใช้ในการประดิษฐ์ ผลงานโคมไฟไทยจากลูกปัดมโนราห์ โดยกระบวนการออกแบบภาพร่าง Sketch design จำนวน 3 รูปแบบ ปัจจัยที่ใช้ในการออกแบบโดยนำหลักการการออกแบบไปทำแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ผลสำรวจแบบสอบถามผู้ที่มีความต้องการในแบบร่างใดมากที่สุด นำมาประดิษฐ์ผลงานโคมไฟไทยจากลูกปัดมโนรา ห์และสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 32 คน ผลการดำเนินงานวิจัย พบว่า แบบร่างโคมไฟไทยจากลูกปัดมโนราห์ ที่ออกแบบขึ้น จำนวน 3 รูปแบบ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกคือ แบบร่างที่1 ที่มีแนวคิด ได้รับแรงรับดาลใจมาจากรูปทรงของโคมจีน ที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ซึ่งจะมีการดัดแปลงให้มีความคล้ายกับโคมเต็งลั้ง หรือโคมจีน ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องชี้นำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้มองเห็น เคหะสถานที่ห้อยโคมจีน และบ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของความสุขความเจริญ ความร่ำรวย และยังหมายถึงแสงสว่าง ให้กับผู้ที่อยู่อาศัย ผลงานชิ้นนี้ สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนมีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจ และบุคคลที่มีความชื่นชอบในงานไทย ตระหนักถึงคุณค่าของงานไทยในสมัยก่อนและผลัดดันให้เกิดอาชีพให้กับคนในชุมชน โดยการนำลูกปัดโนราห์มาประยุกต์กับงานไทย เกิดผลงานที่แปลกใหม่ ผู้ออกแบบได้ถ่ายทอดถึงวัฒนธรรมในชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อาศัย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กิตติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ชัย อุดมศักดิ์ สาริบุตร และทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. 2558. การศึกษาและพัฒนาของที่ระลึก จากเครื่องแขวนไทย.วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2558
ปิยรัตน์ รอดแก้ว และเกษร บริรักษ์.2558.เครื่องแขวนประยุกต์จากลูกปัดด้วยลวดลายชุดมโนราห์.การบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
พิทย์ภัสร์ เชี่ยวชลาคม.2555.การศึกษาเครื่องแขวนดอกไม้สดเพื่อออกแบบตกแต่งภายในศูนย์นันทนาการของผู้สูงอายุ.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
มณีรัตน์ จันทนะผะลิน.2528. หนังสือชุดมรดกไทย เล่มที่ 4 เครื่องแขวนไทย ดอกไม้สด .วิชาศิลปประดิษฐ์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์, คณะวิชาวิทยาศาสตร์, มทวิทยาลัยครูสวนดุสิต.กรุงเทพ : อมรินทร์การพิมพ์
มณีรัตน์ จันทนะผะลิน.2528.เครื่องแขวนไทยดอกไม่สด.สาขาศิลปประดิษฐ์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนดุสิต.
มณีรัตน์ จันทนะผะลิน.2552.วิจิตรการกรองพวงมาลัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
วัฒนะ จูฑะวิภาต. 2527, การออกแบบ, กรุงเทพฯ : สารมวลชน วุฒิ วัฒนสิน องค์ประกอบศิลป์ พิมพ์ครั้งที่ 2, imprint, สงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัย.
อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์ พีรพงษ์ หนูแดง พัสวี ศรีษะมน และชนาพร จันทร์สมัคร.2561.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดโคมไฟจักสานจากใบลาน.วารสารราชพฤกษ์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 256) 139-148