ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีสมาธิ ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

ปัญญาพร น้อยจาก
วณิชชา สิทธิพล

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีสมาธิของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3  ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบีคอนเฮาส์แย้มสอาดรังสิต จังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติ และแบบประเมินพฤติกรรมการมีสมาธิของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3  ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย Wilcoxon matched pairs signed rank test


              ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการมีสมาธิของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3  ก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี 2) หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3  มีระดับพฤติกรรมการมีสมาธิสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
น้อยจาก ป. ., & สิทธิพล ว. . (2022). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีสมาธิ ของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 . วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 1(1), 70–79. สืบค้น จาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/JHET/article/view/294
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-. เบสบุ๊คส์.

ฐิติยา สุ่นศรี. (2561).กิจกรรมฝึกสมาธิสำหรับเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก https://www.youngciety.com/author/plailom.html.

ปิ่นทอง นันทะลาด. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พิสุดา วีระกิจ. (2563). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4 ปี. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(7), 76-86.

มณีรัตน์ ภูทะวัง. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อฝึกสมาธิเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วชิรา ธานีรัตน์ นิธิพัฒน์ เมฆขจร และกันตวรรณ มีสมสาร. (2564). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสมองด้านการใส่ใจจดจ่อของเด็กปฐมวัย ชั้นปีที่ 3โรงเรียนอนุบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 1-8.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสถาบัน RLG. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. สืบค้นจาก https://คู่มือ_พัฒนาทักษะสมอง_EF_สำหรับครูปฐมวัย%20(1).pdf

สุริยเดว ทรีปาตี. (2561). โรคสมาธิสั้น.สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/269356.