การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเสริมกล้วยหอมทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการเสริมกล้วยหอมทองที่เหมาะสมในการผลิตไอศกรีม โดยศึกษาสูตรพื้นฐาน 3 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ประกอบด้วย วิปปิ้งครีม 250 กรัม น้ำตาลทราย 61.10 กรัม แบะแซ 75 กรัม นมสด 168.70 กรัม ไข่แดง 24 กรัม เกลือ 0.40 กรัม กลิ่นวานิลา 1.50 กรัม และนมผง 40 กรัม สูตรที่ 2 ประกอบด้วย นมสด 281.25 กรัม น้ำตาลทราย 65 กรัม ไข่แดง 17 กรัม ไข่ขาว 33 กรัม แป้งสาลีอเนกประสงค์ 6 กรัม และน้ำเปล่า 0.25 กรัม สูตรที่ 3 ประกอบด้วย วิปปิ้งครีม 250 กรัม น้ำตาลทราย 160 กรัม นมสด 562.50 กรัม ไข่แดง 51 กรัม เกลือ 0.4 กรัม กลิ่นวานิลา 3.30 กรัม และน้ำเปล่า 112.50 กรัม จากนั้น ทำการทดสอบด้านประสาทสัมผัส (9-point hedonic scale test) ใช้ผู้ทดสอบจำนวน 50 คน ซึ่งสูตรที่ 1 ได้รับคะแนนความชอบจากผู้ทดสอบมากที่สุด จึงนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกล้วยหอมทอง ใช้ปริมาณกล้วยหอมทอง 3 ระดับ คือ 200, 400 และ 600 กรัม ตามลำดับ โดยสูตรที่เหมาะสม คือ สูตรที่มีการเสริมปริมาณกล้วย 200 กรัม นำมาวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ คุณภาพทางแคมี และการทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่า มีค่าสี L* (ค่าความสว่าง), a* (ค่าสีแดง) และค่า b* (ค่าสีเหลือง) เท่ากับ 87.55, 1.54, 15.91 ตามลำดับ ลักษณะเนื้อสัมผัส ค่าการขึ้นฟู และอัตราการละลาย เท่ากับ 0.42 kgf/mm ร้อยละ 18.08 และ 5.55 กรัม/นาที ตามลำดับ และจากการทดสอบทางประสาทสัมผัสผู้ทดสอบให้คะแนนความชอบอยู่ในช่วงชอบปานกลางถึงชอบมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กนกพร ลีลาวิโรจน์สกุล. (2545). ผลของกะทิที่ผ่านความร้อนต่อคุณสมบัติของไอศกรีมกะทิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คิมิโกะ ไอบารากิ. (2559). อร่อยง่ายๆ กับเบเกอรี่ไขมันต่ำ. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ แม่บ้าน.
ช่อฟ้า กลิ่นจันทร์ พูลทรัพย์ แก้วทองคำ นัฐตวัน ล้วนลอย และ วิรัชยา อินทะกันฑ์ (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกล้วยน้ำว้า. การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร, 1119-1125.
นันทวรรณ ฉวีวรรณ์. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมดอกโสน อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
เบญจมาศ ศิลาย้อย. (2538). กล้วย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปฐมพร เช้าเจริญ. (2548). ผลของการใช้แป้งบุกเป็นสารคงตัวในไอศกรีม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. (2564, 20 มีนาคม). กล้วย. http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2058/banana
ไพโรจน์ วิริยจารี. (2545). การประเมินทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation). พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่
: คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี. (2563, 20 มีนาคม). กล้วยหอม.
https://www.opsmoac.go.th/pathumthani-dwl-files-421391791163
อังคณา ศุภกิจวณิชโชค. (2558). Easy Ice Cream ไอศกรีมไม่ใช้เครื่อง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ Cuisine อมรินร์พริ๊นติง.
Arbuckle, W. S. (1986). Ice Cream. The Avi Publishing Company, Inc. London.
Guinard, J.X., Zoumas-Morse, C., Mori, L., Uatoni, B., Panyam, D. and Kilara, A. (1997). Sugar and fat effects on sensory properties of ice cream. Journal of Food Science, 62(5), 1087-1094. https://doi.org/10.1111/j.1365-2621.1997.tb15044.x
Hamzah, M., Shaik, M.I. and Sarbon, N.M. (2021). Effect of fish protein hydrolysate on physicochemical properties and oxidative stability of shortfin scad (Decapterus macrosoma) emulsion sausage. Food Research, 5(3), 225-235. doi:10.26656/fr.2017.5(3).354
Varnam, A. H. and Sutherland, J.P. (1994). Milk and Milk Products: Technology, Chemistry and Microbiology, Chapman & Hall.