การศึกษารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัย ในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการศึกษาด้วยตนเองร่วมกับการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ(Coaching and Mentoring) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่มีต่อการใช้คู่มือปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการศึกษาด้วยตนเองร่วมกับการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ(Coaching and Mentoring) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากครูผู้สอนระดับปฐมวัยในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 36 คน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยที่มีกระบวนการทำงานเป็นวงจรแบบขดลวด ตามแนวคิดที่เสนอโดย Kemmis ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผนหลังจากที่วิเคราะห์และกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการแก้ไข (Planning) การปฏิบัติการตามแผนที่กำหนด (Action) การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ (Observation) การสะท้อนผลหลังจากการปฏิบัติงาน และการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานต่อไป (Reflection) วงรอบการวิจัยปฏิบัติการนี้เรียกย่อ ๆ ว่า PAOR นำมาเป็นขั้นตอนของการวิจัย โดยดำเนินการเป็น 2 วงรอบ โดยใช้รูปแบบการพัฒนา คือ การศึกษาด้วยตนเอง ร่วมกับการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ(Coaching and Mentoring) โดยดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องตลอด ปีการศึกษา 2564 ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการหาประสิทธิภาพของคู่มือปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัย พบว่า คู่มือปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.63/85.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
- ผลการพัฒนาครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการศึกษาด้วยตนเองและการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ(Coaching and Mentoring) พบว่า ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนระดับปฐมวัยเรื่องปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยและการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ(Coaching and Mentoring) พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลการประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยของครูผู้สอนระดับปฐมวัย ในวงรอบที่ 1 พบว่า 3.1) ผลการประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในวงรอบที่ 1 พบว่า ความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยของครูผู้สอนระดับปฐมวัย ในวงรอบที่ 1 ส่วนใหญ่มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75.00 3.2) ผลการประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยของครูผู้สอนระดับปฐมวัย ในวงรอบที่ 2 พบว่า ความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยของครูผู้สอนระดับปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในวงรอบที่ 2 ส่วนใหญ่มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 83.33
- ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยพบว่า ครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยรวมในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การนิเทศแบบให้คำชี้แนะช่วยให้มีความมั่นใจในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การศึกษาด้วยตนเองทำให้ผู้ศึกษาเกิดความรู้สึกมีอิสระอย่างเต็มที่ในการเรียนด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
นันธิชา ทาภักดี. (2558). รายงานการพัฒนาจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ปริญญา ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิลา มณีอินทร์. (2556). การศึกษาและรายงานเรื่อง ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้น
พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้.
บัณฑิตวิทยาลัย สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงายผลการติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานสถาน
พัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวาน
กราฟฟิค จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552). การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ :
สาระเด็ก.
สุจิราภรณ์ ม่วงเงิน. (2561). การศึกษาการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบโครงการที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยนเรศวร 2561
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เอราวรรณ ศรีจักร. (2550). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรม
การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ, ปริญญานิพนธ์ กศ.ม(การศึกษาปฐมวัย), กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.