การพัฒนาผลิตภัณฑ์โมเสกธรรมชาติจากเปลือกฝักมะรุมเพื่องานประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์โมเสกธรรมชาติจากเปลือกฝักมะรุม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพเปลือกฝักมะรุมให้เป็นโมเสกธรรมชาติ เพื่อประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากโมเสกธรรมชาติ และสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากโมเสกธรรมชาติ วิธีดำเนินการวิจัย โดยการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับนุ่มเปลือกฝักมะรุม ปัจจัยที่ทำการศึกษามี 2 ปัจจัย คือ ชนิดของสารแช่ปรับนุ่มฝักมะรุม แปรเป็น 2 ชนิด คือ สารนุ่มประจุบวก และกลีเซอรีน ระยะเวลาในการแช่ โดยแปรเป็น 3 ระดับ คือ 1, 3 และ 5 วัน ทำการวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD ทดสอบสมบัติทางกายภาพ 5 ด้าน คือ ความต้านแรงดึง ความชื้น การวัดค่าสี การทดสอบความมันวาว และการทดสอบความหนา จากนั้นประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากโมเสกธรรมชาติ และสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากโมเสกธรรมชาติจำนวน 100 คน
ผลการวิจัย พบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการปรับนุ่มเปลือกฝักมะรุมคือ การใช้สารนุ่มประจุบวก และระยะเวลาในการแช่ 1 วัน ทำให้เปลือกฝักมะรุม มีค่าความต้านแรงดึง 4.15 N ค่าความชื้นน้อยที่สุด 3.21% ค่าความสว่าง (L*) สูงที่สุด 79.29% ค่าสีแดงและสีเขียว (a*) ปรากฏสีแดงน้อยที่สุด 4.01 ค่าสีเหลืองและสีน้ำเงิน (b*) ปรากฏสีเหลือง 31.62 ค่าความต่างสี (Delta E) สูงสุด 9.84 ค่าความหนาน้อยที่สุด 1.89 mm/inch ค่าความมันวาวสูงที่สุด 2.43 เปลือกฝักมะรุมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบและผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์โมเสกธรรมชาติจากเปลือกฝักมะรุมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช. (2560). ประโยชน์ผักพื้นบ้าน : ภูมิปัญญาไทย. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2563, จาก
https://www.technologychaoban.com/มะรุมผักพื้นบ้าน.
ปฐม โสมวงศ์. (2552). คุณค่าทางอาหารและทางยาของสมุนไพรมะรุม, ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัช
พฤกษศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณพร อินทร์ก้อนวงค์. (2555). การใช้เนื้อฝักมะรุมและใบมะรุมผงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เค้กเพื่อสุขภาพ.
[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พรชัย บุญญิกา. (2559). การตกแต่งสำเร็จสะท้อนน้ำกระดาษจากเปลือกโสนหางไก่สำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์.
[วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุภา จุฬคุปต์. (2553). การพัฒนาใบบัวอัดแห้งสำหรับใช้ในงานประดิษฐ์. รายงานการวิจัย.
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุวัฒน์ สิงห์เทพ. (2557). การพัฒนาเชือกผักบุ้งสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์. [วิทยานิพนธ์
ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิวารักษ์ สหัสรังสี. (2553). สารลดแรงตึงผิว สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563. จาก
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2553/2620/7/274419_ch1.pdf, (2563, กรกฎาคม).
กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2551). มยผ. 1221-51 ถึง มยผ. 1227-51 มาตรฐานการทดสอบไม้.
สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร, น.24.
อุกฤต มากศรทรง, (2562). คุณสมบัติของสารสกัด และโปรตีนไฮโดรไลเซทจากมะรุมต่อความสามารถใน
การต้านออกซิเดชัน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วริศชนม์ นิลนนท์, กุลพร พุทธมี, จิรพร สวัสดิการ, คมสัน มุ่ยสี และประมวล ศรีกาหลง, (2564). “การ
พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากเส้นใยเปลือกทุเรียนแบบฟอกขาวและไม่ฟอกขาว,” วารสารวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 40, นน. 422-429, พฤศจิกายน-ธันวาคม 2564.