สมุนไพรชงจากเปลือกกล้วยหอมทองผสมอังคัก

Main Article Content

ธีรพล อัศวเลิศปัญญา
ณัฐพล ศรเดช
กฤษวสันต์พงษ์ พวงขจร
ธีรพล อัศวเลิศปัญญา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนของเปลือกกล้วยหอมทองต่ออังคักในอัตราส่วน 100:0, 75:25, 50:50 และ 25:75 ที่มีต่อประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สี ความชื้น ปริมาณน้ำอิสระ (aw) และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของสมุนไพรชงจากเปลือกกล้วยหอมทองผสมอังคัก พบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมอัตราส่วนของเปลือกกล้วยหอมทองต่ออังคัก คือ 50:50 เนื่องจากปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของทุกสูตรไม่แตกต่างกัน (p>0.05) และประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสูตรที่ผสมอังคักร้อยละ 50 และ 75 ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) การเพิ่มอัตราส่วนของอังคักส่งผลให้คะแนนคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่น รสชาติและความชอบโดยรวมลดลงโดยคะแนนความชอบของคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสทุกด้านของสมุนไพรชงที่ผลิตจากเปลือกกล้วยหอมทองผสมอังคักที่อัตราส่วน 50:50 สูงกว่า 25:75

Article Details

How to Cite
อัศวเลิศปัญญา ธ. ., ศรเดช ณ. ., พวงขจร ก. ., & อัศวเลิศปัญญา ธ. . (2023). สมุนไพรชงจากเปลือกกล้วยหอมทองผสมอังคัก. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 2(2), 545. https://doi.org/10.60101/jhet.2023.545
บท
บทความวิชาการ

References

เกตุการ ดาจันทา อุทัยวรรณ ฉัตรธง และหทัยทิพย์ ร้องคำ. (2562). ค่าสีรงควัตถุและคุณภาพการต้านออกซิเดชันของข้าวแดง (อัง

คัก) ที่หมักจากข้าวต่างสายพันธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 47, น.468-477.

ทศพร นามโฮง. (2544). การใช้ข้าวแดงเพื่อปรับปรุงสีในไส้กรอกอิมัลชัน. คณะวิชาเทคโนโลยีการอาหามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช

มงคลสุวรรณภูมิ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นันท์ชนก นันทะไชย อินทิรา ลิจันทร์พร และปาลิดา ตั้งอนุรัตน์. (2556). ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของชาชงจากเปลือก

ส้มโอ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ .มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เนตรนภา เมยกลาง. (2557). ปริมาณรวมของสารต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอลิก และวิตามินซีในผักและ สมุนไพร. ก้าวทัน

โลกวิทยาศาสตร์, 8, น.41-48.

พัชรีวัลย์ ปั้นเหน่งเพชร. (2543). การศึกษาฤทธิ์ของกล้วยในการป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาว. รายงาน

ผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรประภา ชุนถนอม รัตนา อินทเกตุ นิภาพร อามัสสา และสุดารัตน์ สกุลคู. (2554). ชาดอกมะม่วงหิมพานต์แต่งกลิ่นรส. รายงาน

การวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

สุนันทา คะเนนอก. 2556. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาเปลือกกล้วยน้ำว้าเพื่อสุขภาพ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา:

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2546). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง สมุนไพรรวมแห้งชงดื่ม มผช. 996/2556.

สุภาวดี อินทร์เขียว. 2545. การใช้สารสีโมแนสคัส (อังคัก) ทดแทนไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกรมควันและกุนเชียง. วิทยานิพนธ์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

AOAC. (2000). Official method of analysis of analysis of AOAC international, 17th ed., Gaitherburg, Maryland.

Chairote, E., Chairote, G. and Lumyong, S. (2009). Red yeast rice prepared from Thai glutinous rice and the

antioxidant activities. Chiang Mai Journal of Science. 36, pp.42-49.

Kaminski, W. and Kudra, T. (2000). Equilibrium moisture relations for foods and biomaterials. In Drying Technology

in Agriculture and Food Sciences; Mujumdar, A.S., Ed.; Science Publishers, Inc.: Enf ield, NH, pp.1–34.

Kim, S. Y., Kim, Y. S., Kim, Y. S., Kim, J. M. and Suh, H. J. (2008). The application of monascal rice in rice beverage

preparation. LWT- Food Science and Technology, 41, pp.1204-1209.

Kraboun, K., Kongbangkerd, T., Rojsuntornkitti, K. and Phanumong, P. (2019). Factors and advances on fermentation

of Monascus sp. for pigments and monacolin K production: a review. International Food Research

Journal, 26, pp.751-761.

Subagio, A., Morita, N. and Sawada, S. (1996). Carotenoids and their fatty-acid esters in banana peel. Journal of

Nutritional Science and Vitaminology, 42, pp.553-566.

Yang, J. H., Tseng, Y. H., Chang, H. L., Lee, Y. L. and Mau, J. L. (2004). Storage stability of monascal adlay. Food

Chemistry, 90, pp.303-309.