การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทย : ขนมทองเอกเสริมแป้งลูกเดือย

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ สิงห์แก้ว
วาสนา ใจร้าย
ชนิกานต์ มอญพูด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณแป้งลูกเดือยที่เหมาะในการผลิตขนมทองเอก โดยการศึกษาสูตรพื้นฐาน 3 สูตร ได้แก่สูตรที่ 1 ประกอบด้วย แป้งสาลีอเนกประสงค์ 100 กรัม แป้งเท้ายายม่อม 10 กรัม  หัวกะทิ 230 กรัม  น้ำตาลทรายขาว 160 กรัม  ไข่ไก่เฉพาะไข่แดง 150 กรัม  สีเหลืองผสมอาหาร 5 กรัม  สูตรที่ 2 ประกอบด้วย แป้งสาลีอเนกประสงค์ 100 กรัม  หัวกะทิ 250 กรัม  น้ำตาลทรายขาว 160 กรัม  ไข่ไก่เฉพาะไข่แดง 150 กรัม  สูตรที่ 3 ประกอบด้วย แป้งสาลีอเนกประสงค์ 90 กรัม หัวกะทิ 220 กรัม  น้ำตาลทรายขาว 170 กรัม  ไข่ไก่เฉพาะไข่แดง 200 กรัม จากนั้นนำมาประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส (9-point hedonics  scale test) ใช้ผู้ทดสอบจำนวน 50 คน ซึ่งสูตรที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยการยอมรับความชอบจากผู้ทดสอบมากที่สุด คือ 7.45 หมายถึงชอบระดับมาก จึงนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขนมทองเอกเสริมแป้งลูกเดือย โดยมีปริมาณแป้งลูกเดือย 5 ระดับ คือ ร้อยละ 20 (20 กรัม), ร้อยละ 40 (40 กรัม), ร้อยละ 60 (60 กรัม), ร้อยละ 80 (80 กรัม) และ ร้อยละ 100 (100 กรัม) ตามลำดับ เมื่อนำมาประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p < 0.05) ผู้ทดสอบให้การยอมรับปริมาณแป้งลูกเดือยร้อยละ 80 มากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยความชอบอยู่ในช่วงชอบมาก จากนั้นนำมาวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ พบว่า ค่าสี L* (ค่าความสว่าง), a* (ค่าสีแดง) และ b* (ค่าสีเหลือง) เท่ากับ 46.39, 13.81 และ 37.29 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
สิงห์แก้ว เ. ., ใจร้าย ว. ., & มอญพูด ช. . . (2023). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทย : ขนมทองเอกเสริมแป้งลูกเดือย. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 2(2), 624. https://doi.org/10.60101/jhet.2023.624
บท
บทความวิชาการ

References

กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์แสงแดด. (ม.ป.ป.). ลูกเดือย กินอร่อย ทรงคุณค่ามหาศาลต่อร่างกาย. https://krua.co/food_story/job-tear-benefits.

ดินาร์ บุญธรรม และ วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์. (23 กุมภาพันธ์ 2557). ขนมทองเอก ขนมสัมปันนี. http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/ขนมทองเอก-ขนมสัมปันนี/

นิรนาม. (5 กรกฎาคม 2563). ลูกเดือย สรรพคุณและประโยชน์ของลูกเดือย 36 ข้อ. https://medthai.com/ลูกเดือย/.

พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม. (2547). อาหารไทย. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ไพโรจน์ วิริยจารี. (2561). การประเมินทางประสาทสัมผัส(Sensory Evaluation). พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : สาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โรงพยาบาลวิชัยยุทธ. (13 พฤศจิกายน 2563). ประโยชน์ของลูกเดือย ธัญพืชดีต่อสุขภาพ. https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/ประโยชน์ของลูกเดือย/.

ศรีสมร คงพันธุ์ และมณี สุวรรณผ่อง. (2535). ตำราอาหารคาว-หวาน เล่มที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์แสงแดด.

สิริมนต์ ชายเกตุ, พรเพ็ญ มรกตจินดา และวีณา ทองรอด. (2560). การพัฒนาขนมไทยเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษาขนมทองเอก. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(2). 261-270. file:///C:/Users/Admin/ Downloads/9416-Article%20Text-24862-27799-10-20180114.pdf.

สุนันทา ทองทา. (ม.ป.ป.). คุณสมบัติของคัพภะ รำ และแป้งลูกเดือยเพื่ออาหารสุขภาพ. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/6210/2/Fulltext.pdf

สุนทร ตรีนันทวัน. (24 สิงหาคม 2553). ธัญพืช : ลูกเดือย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

กระทรวงศึกษาธิการ. https://www.scimath.org/article-biology/item/530-millet.

อารีรัตน์ เนินนาม. (3 ตุลาคม 2560). ขนมทองเอก. https://cookpad.com/th/recipes/2883291.