การจัดประสบการณ์เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดแสงสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนชายและนักเรียนหญิงอายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดแสงสรรค์ อำเภอธัญบุรี จัดหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20-30 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบแผนการศึกษาแบบ One Group Pretest – Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.80 และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.26 -0.72 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.22-0.67 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) แบบข้อมูลลักษณะเกี่ยวเนื่องกัน (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากได้รับจากการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและรายด้าน ซึ่งแสดงว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส าหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพ : เบรน - เบสบุคส์.
ปณิชา มโนสิทธิยากร. (2553). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชลาธิป สมาหิโต. (2558). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัย.วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม – สิงหาคม 2558. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เชวง ซ้อนบุญ. 2554. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH- 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่
กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจวรรณ ขุนทวี. (2557). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
พร้อมพรรณ อุดมสิน. 2538. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วรรณี วัจนสวัสดิ์. 2552. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิมล ติรกานันท์. 2551. การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การ ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาวิณี ลายบัว. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องการพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2560. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2560. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด
อัมพร ม้าคะนอง. (2546). คณิตศาสตร์: การสอบและการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ จุฬาสงกรณ์มหาวิทยาลัย.