ความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของสถานประกอบการที่ส่งผลต่อความคาดหวังในคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานประกอบการที่เคยรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในปีการศึกษา 2563 – 2564 จำนวน 117 แห่ง ๆ ละ 1 คน รวมทั้งหมด 117 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent samples t-test, One-way ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยใช้ LSD
ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานประกอบการมีความคาดหวังต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.06) เมื่อพิจารณารายด้าน มีความคาดหวังอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (μ= 4.23) ด้านความรู้ (μ= 4.11) ด้านคุณธรรมจริยธรรม (μ= 4.09) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (μ= 3.99) ด้านทักษะทางปัญญา (μ= 3.88) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคาดหวัง พบว่า เพศ มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่แตกต่างกัน ตำแหน่งงานและประเภทสถานประกอบการต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญาแตกต่างกัน ส่วนขนาดของสถานประกอบการต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบแตกต่างกัน และประเภทสถานประกอบการต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ฉัตรปวีณ์ ฉัฐเมธาสิทธิ์. (2557). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบความคาดหวังในบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในฐานะพันธมิตรธุรกิจของผู้บริหารระดับต้นใน 5 ธุรกิจในบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). วารสารปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 49-61.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ประภาพร ชั้นงาม. (2559). ความคาดหวังและความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการบัญชี บธ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร.
พัชรินทร์ จึงประวัติ. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานในทัศนะของผู้บริหารสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2(1), 11-21.
รวินันท์ การะเกษ. (2556). ความคิดเห็นของสถานประกอบการที่มีต่อศักยภาพของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วรรณศร จันทโสลิด. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วท.ม., มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.
เศรษฐา อ้นอารี, ทิฆัมพร พันลึกเดช, พุฒิธร จิรายุส, ศุภชัย วาสนานนท์ และดลฤดี วาสนานนท์. (2564). ปัจจัยความคาดหวังส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 281-292.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. สำนักพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.