การพัฒนา การพัฒนาต้นแบบพวงหรีดประยุกต์

Main Article Content

จุฬาภรณ์ ศรีเมืองไหม
วัชรากร จันทร์ดี
เจนจิรา สุนสาย
จารุพัฒน์ วรรณประเสริฐ
รัฐ ชมภูพาน
วินัย ตาระเวช
เสริมศรี สงเนียม
อรพินท์ สุขยศ
วิจิตร สนหอม
วรรณภา โรจน์สุวณิชกร
สมศักดิ์ ศิริขันธ์

บทคัดย่อ

  การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์พวงหรีดประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบและพัฒนาต้นแบบพวงหรีดประยุกต์
และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อพวงหรีดประยุกต์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ควบคู่กับการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ลูกค้าที่มาใช้บริการกับทางบริษัท ละมุน ฟลาวเวอร์ แอนด์ การ์เด้น จำกัด โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน จากนั้นได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบพวงหรีดประยุกต์ด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง จำนวน 2 ตอน วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบพวงหรีดประยุกต์ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบต้นแบบพวงหรีดประยุต์จำนวน 3 รูปแบบตามรูปทรงเลขาคณิต ได้แก่ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปวงกลม และรูปวงรี ในแต่ละรูปทรงจะมีโครงสร้าง 2 ชิ้น คือ โครงสร้างของตัวหรีดที่มีไว้สำหรับจัดดอกไม้ และส่วนฐานเพื่อรองรับน้ำหนักของโครงสร้างและดอกไม้ ซึ่งในแต่ละรูปทรงจะมีขนาดที่เท่ากัน ดังนี้ โครงสร้างตัวหรีดมีขนาดขนาดกว้าง 50 x 120 เซนติเมตร ฐานมีขนาดขนาดกว้าง 30 x 70 เซนติเมตร การจัดดอกไม้พวงหรีดประยุกต์แบบที่ 1 ใช้ทฤษฎีของสีตรงข้ามซึ่งจะใช้ทั้งสีโทนร้อนและสีโทนเย็น สีโทนร้อนได้แก่ สีส้ม และสีโทนเย็นได้แก่ สีเขียว การจัดดอกไม้พวงหรีดประยุกต์แบบที่ 2 ใช้กลุ่มสีสัมพันธ์ ได้แก่ สีชมพูและสีม่วง การจัดดอกไม้พวงหรีดประยุกต์แบบที่ 3 ใช้สีโทนเย็นในกลุ่มสีน้ำเงินและสีเขียว และจากการตอบแบบสอบถามความของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 30 - 39 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาโท ประกอบอาชีพรับราชการ/ พนักงานลูกจ้างของรัฐ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 40,000 บาท จากการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบพวงหรีดประยุกต์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อพวงหรีดประยุกต์ ทั้ง 3 รูปแบบ พบว่า พวงหรีดประยุกต์รูปแบบที่ 3 ได้รับคะแนนความพึงพอใจโดยรวมมากที่สุด รองลงมามีความพึงพอใจโดยรวมระดับมากได้แก่ พวงหรีดประยุกต์รูปแบบที่ 1 และพวงหรีดประยุกต์รูปแบบที่ 2    


 

Article Details

How to Cite
ศรีเมืองไหม จ., จันทร์ดี ว. ., สุนสาย เ. ., วรรณประเสริฐ จ. ., ชมภูพาน ร. ., ตาระเวช ว. ., สงเนียม เ. ., สุขยศ อ. ., สนหอม ว. ., โรจน์สุวณิชกร ว. ., & ศิริขันธ์ ส. . (2023). การพัฒนา การพัฒนาต้นแบบพวงหรีดประยุกต์ . วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 2(2), 643. https://doi.org/10.60101/jhet.2023.643
บท
บทความวิชาการ

References

ฉันพชร นิลกำแหง. (2557). ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ในพิธีฌาปนกิจของพุทธศาสนิกชน: ศึกษาข้อมูลในเรื่อง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อในพิธีกรรมฌาปนกิจและวิถีการออกแบบตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์.

รุจิราภา งามสระคู. (2561). บทความงานวิจัยเรื่อง โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาต้นแบบพวงหรีดเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพมหานคร. ประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561).

วัสดุแนะนำ : ไม้ MDF BOARD (Medium Density FiberBoard) กับคุณสมบัติที่น่ารู้ก่อนจะนำเอาไปใช้งาน. https://www.wazzadu.com/article/1209

สุธาทิพย์ รุสิตานนท์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อพวงหรีดพัดลมของผู้บริโภคในเขตกระงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสถียรโกเศศ. (2452). ประเพณีเนื่องในการตาย. พิธีทางศาสนาและพิธีกรรมเกี่ยวกับศพ. กรุงเทพฯ.

อรวรรณ พรหมศร. (2566). บทความงานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการซื้อพวงหรีดดอกไม้ในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Pitasawad, K. (1993). The adoption of the use the cloth wreaths by the people in Bangkok metropolis. Master of Arts (Environment). Mahidol University. (In Thai).