การพัฒนาความสามารถคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

Main Article Content

เจนจิรา อ่อนเลิศ
วณิชชา สิทธิพล
กิตติมา บุญยศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถคิดแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Custer Random Sampling) ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง ดำเนินการทดลองจำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบและแบบประเมินความสามารถคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าทีแบบ t – test dependent


              ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ความสามารถคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3  ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก  และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การระบุปัญหา การเลือกวิธีแก้ปัญหา การปฏิบัติตามแนวทางแก้ปัญหา และการระบุผลการแก้ปัญหา อยู่ในระดับดีมาก และเมื่อเปรียบเทียบความสามารถคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทั้งภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
อ่อนเลิศ เ., สิทธิพล ว., & บุญยศ ก. (2024). การพัฒนาความสามารถคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 3(1), 780. https://doi.org/10.60101/jhet.2024.780
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมควบคุมมลพิษ. (2565). คู่มือนวัตกรรมเพื่อยกระดับองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรมควบคุมมลพิษ.

ขนิษฐา บุนนาค. (2562). แนวทางการสอนลูกให้คิดอย่างเป็นระบบด้วย Mind Map. แหล่งที่มา :https://shorturl.asia/LUhb7

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2. (2562). รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แหล่งที่มา: https://www.nesde.go.tvewt_w3c/ewt_dl link.php? rid-10104

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และวันนิสาห์ แก้วแข็งขัน. (2560). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. https://region4.anamai.moph.go.th/ knowledge/mapping/paper/view?id=94

ฉัตรพรรณ ภามี, อรุณี หรดาล, และทัศนีย์ ชาติไทย. (2566). การจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารปัญญาปณิธาร, 8(2), 85-98.

ชลาธิป สมาหิโต. (2560). รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานและการใช้ผังกราฟิก เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยในเขตภาคตะวันออก ภาคตะวันตก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐกฤตา ไทยวงษ์ (2562). การศึกษาผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเชิงออกแบบที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา)

นภาภรณ์ เจียมทอง และเปรมพล วิบูลย์เจริญสุข (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8 (4), 572-586.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2563). 100 บทเรียนเลี้ยงลูกเจนอัลฟ่า. อมรินทร์คิดส์ อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชซึ่ง.

วาทินี บรรจง. (2561). นักออกแบบตัวน้อย: การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการคิด เชิงออกแบบ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46 (2), 330-347.

วัชรินทร์ กลีบกลาง และ สุณี บุญพิทักษ์. (2562). การส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยโดยเทคนิคการสอนสตอรี่ไลน์ในการสร้างสถานการณ์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2/2 โรงเรียนอนุบาลคลองลาน. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม วันที่ 21-22 มีนาคม 2562. (น. 153-161).

มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

สมปอง ดีลี และ วิโรจน์ อินทนนท์. (2563). การวิเคราะห์แนวคิดและหลักการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาของกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตามแนวคิดปฏิบัตินิยมของจอห์น ดิวอี้. วารสารปณิธาน:วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 16(1), 1–29.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 14). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Brown,T. (2009). Change by Design. Harper Collins.

Henriksen, D., Richardson, C., & Mehta, R. (2017). Design thinking: A creative approach to educational problems of practice. Thinking Skills and Creativity, 26, 140-153. doi: https://doi.org/10.1016/j.tsc.2017.10.001