การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ OTOP ในการผลิตงานประดิษฐ์หัตกรรมกระดาษก้านบัวหลวงและการสร้างช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนหมู่บ้านพรพิมานอำเภอธัญบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณในการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ผู้ประกอบการสินค้าโอทอป หมู่บ้านพรพิมาน อำเภอธัญบุรี และการใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการใช้แบบสอบถามเชิงลึกและการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกและการจัดสัมมนากลุ่มย่อย เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกด้านความรู้ประสบการณ์การผลิตสินค้าโอทอป และความรู้ทางการทำธุรกิจ การจัดจำหน่ายสินค้าโอทอป เพื่อออกแบบการจัดการอบรมการประดิษฐ์สินค้าโอทอปจากกระดาษก้านบัวหลวง การออกแบบและการประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ การอบรมการจัดการธุรกิจ การวางแผนธุรกิจและการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับสินค้าโอทอปงานประดิษฐ์กระดาษก้านบัวหลวงและอื่น ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนหมู่บ้านพรพิมาน อำเภอธัญบุรี
ประชากรที่ใช้ในการดำเนินการทำวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาการประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากกระดาษก้านบัวหลวง จำนวน 45 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย () ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จากข้อมูลพบว่า มีผู้มีระดับการศึกษามากกว่า ระดับปริญญาตรี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 22.0 และมีผู้มีระดับการศึกษาน้อยกว่า ระดับปริญญาตรี จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 78.0 ปัญหาและความต้องการการพัฒนาศักยภาพการจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการมีผลวิจัยแสดง การเลือกความต้องอบรมพัฒนาความรู้ 3 หัวข้อหลักดังนี้ อันดับ 1 ต้องการอบรมพัฒนาการตลาดและการสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย ร้อยละ 51.11 โดยผู้ประกอบการจำนวน 45 คน มีความต้องการอบรม มีค่าคะแนนเฉลี่ย ( ± S.D.) = 4.44 ±0.59 , อันดับ 2 การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP ร้อยละ 31.11 มีค่าคะแนนเฉลี่ย ( ± S.D.) = 3.62 ± 0.78 , อันดับ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ร้อยละ 17.78 มีค่าคะแนนเฉลี่ย ( ± S.D.) = 3.24 ± 0.65
จากข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์และจัดการอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถทางการจัดการธุรกิจ การทำการตลาดสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย ได้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ ชุมชนหมู่บ้านพรพิมาน สามารถผลิตงานประดิษฐ์กระดาษก้านบัวหลวง สามารถจัดการบริหารชุมชนในการทำธุรกิจ และการสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย โดยมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มผู้วิจัยเป็นที่ปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กมล ชัยวัฒน์.(2552). การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กมลชนก พิณชัย. (2556). รายงานวิจัยปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของ OTOP จังหวัดเชียงใหม่: ศึกษาเปรียบเทียบกับ OVOP จังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2554). วิธีเขียนแผนการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ :บริษัทเอ็กซเปอร์เนท จำกัด.
คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. (2562). รายงานวิจัยผลการดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ปี
กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน.
ชาตรี ตะโจปะรัง. ( 2561). แนวทางการส่งเสริมการขายสินค้าโอทอปบนตลาดออนไลน์ เชิงพุทธในจังหวัดอุดรธานี. (กศิพัฎญ์ ทองแกม,
ผู้สัมภาษณ์)
คมจักร กำธรพสินี.( 2560). ทำการตลาดออนไลน์แบบแบรนด์ใหญ่ ที่ไม่เคยมีใครบอกคุณ. ปทุมธานี: บริษัท ไอแอมเดอะเบสท์ จำกัด.
ฐิติรัตน์ คุณรัตนาภรณ์. (2550). การบริหารช่องทางการตลาด (Marketing Channel Management ). (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ช่อระกา.
ณัฐวศา สุทธิธาดา. (2563). การตลาดออนไลน์ ( Online Marketing). (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิตตี้กรุ๊ป.
ยุพิน พิทยาวัฒนชัย. (2551). การจัดการช่องทางการตลาด. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รวิพร คูเจริญไพศาล. (2549). การกระจายช่องทางการตลาดและโลจิสติกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริ ภู่พงษ์วัฒนา. (2549). การจัดการช่องทางการตลาด. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไชแท็กซ์.
สุวิทย์ นามบุญเรือง. (2560). การบริหารช่องทางการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุดาดวงเรืองรุจิระ. (2550). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ประกายพรึก
อนุรัตน์ สายทอง และคณะ. (2550). รายงานวิจัย โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในกิจกรรมส่งเสริมงานวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ระดับชุมชน น้าทอพื้นบ้านทุกภูมิภาค และ อาหารแปรรูป 4 เครือข่ายผลิตภัณฑ์ในภาคกลาง กรณีศึกษา : ผ้าย้อมคราม หมู่ที่ 4 บ้านหนองหงส์ สกลนคร. สถาบันราชภัฏสกลนคร.
อัญชัญ จงเจริญ. (2555). รายงานวิจัยรูปแบบและมาตรฐานการจัดการธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าโอทอปและของฝากชุมชน กรณีศึกษา จังหวัดระยอง. สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
Alexander O. & Yves P, (2010). Business Model Generation. New York: Weslearn Co.,Ltd. Kotler , P. & Keller, K.L. (2006). Marketing Management (12th ed.) New Jersey: Pearson Prentice Hall.