การประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมแบบจำลองเสื้อผ้าสามมิติด้วยวิธีการเพิ่มฟังก์ชั่นทางกายภาพของผ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการใช้โปรแกรมสามมิติใน บริษัท วี.ที. การ์เม้นท์ จำกัด แผนกแพทเทิร์น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเชิงปริมาณและคุณภาพสูงสุด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดของโปรแกรม Vstitcher เพื่อพัฒนาคู่มือการใช้โปรแกรม Vstitcher อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อคู่มือจากผู้ใช้โปรแกรม Vstitcher ในบริษัทฯ วิธีการวิจัยคือ คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนในบริษัทฯ จำนวน 4 คน เพื่อทดลองใช้คู่มือเทคนิคการใช้โปรแกรม และการประเมินความพึงพอใจต่อคู่มือการใช้โปแกรม เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มการป้อนค่า Physic 3 รูปแบบ คือ 1. การเพิ่มความยืดหยุ่นของผ้าให้เหมาะสมกับประเภทเสื้อผ้า 2. การเพิ่มความฟูฟ่อง และ 3. การเพิ่มผิวสัมผัสของผ้า ได้ผลคือ วิธีการเพิ่มค่า Physic แบบที่ 1 ( = 4) แบบที่ 2 ( = 4.3) แบบที่ 3 ( = 4.08) สรุปการตรวจสอบความพึงพอใจวิธีการเพิ่มค่า Physic อยู่ในระดับดี ซึ่งค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 4.13 ผลลัพธ์ที่ได้คือการส่งงานของแผนกแพทเทิร์นได้ตามแผน และบริษัทฯ สามารถลดเวลาและต้นทุนการผลิต เพิ่มกำไรอย่างยั่งยืน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ณรงค์ชัย อัครเศรณี. (2552). การออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนิต เอี่ยมสะอาด. (2561). การประยุกต์ใช้แบบจำลอง 3 มิติเสมือนจริงในอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 12(3), 10-18.
เอกชัย เกื้อเผ่า. (2560). การวาดแผนภาพวัสดุด้วยโปรแกรม CAD. สืบค้นจาก https://www.thaicadcenter.com/cad-drawing-material.html
สมชาย บุญศิริ. (2558). ระบบผลิตอัตโนมัติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สิงห์แก้ว กิจวัฒนา, เพชรานันท์ บุญสิงห์, และอำไพศรี คูอารี. (2553). การประยุกต์ใช้ CAD/CAM ในอุตสาหกรรมการผลิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนีรัตน์ ไพรวรรณ และวรดี ศรีธนะวร. (2561). เศรษฐกิจและธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
วรวิทย์ ไชยเผือก. (2562). การใช้โปรแกรม CAD เพื่อการวางแผนผลิต. วารสารวิศวกรรมการผลิต, 25(2), 87-94.
Lean manufacturing, (2011), Lean manufacturing บริษัท วี.ที. การ์เม้นท์ จำกัด. https://www.vtgarment.com/wpcontent/uploads/2016/06/Innomag-magazine-April-May-2012-.pdf. เข้าถึงเมื่อ. 20 กุมภาพันธ์ 2567.