ผลของการใช้สีย้อมจากกากกาแฟสำหรับย้อมตอกไม้ไผ่ในงานหัตถกรรม

Main Article Content

จิรายุช ดุนขุนทด
สุรารักษ์ คลองสามสิบ
วินัย ตาระเวช
โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้สีย้อมจากกากกาแฟสำหรับย้อมตอกไม้ไผ่ในงานหัตถกรรม โดยเริ่มจากการศึกษาการสกัดสีย้อมจากกากกาแฟ ซึ่งปัจจัยที่ทำการศึกษาทดลอง ประกอบด้วย ชนิดของกากกาแฟแปรเป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย กากกาแฟสด และกากกาแฟแคปซูล และศึกษาปริมาณของกากกาแฟ แปรเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย 200 และ 400 กรัม ต่อปริมาณน้ำ 1,000 มิลลิลิตร จะได้ทั้งหมด 4 สิ่งทดลอง แล้วนำมาวิเคราะห์ค่าสีด้วยระบบ L* a* b* ผลการทดลองพบวา กากกาแฟสด ในปริมาณ 400 กรัมต่อน้ำ 1,000 มิลลิลิตร มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการย้อมสีตอกไม้ไผ่มากที่สุด โดยพบว่ามีค่าความสว่าง (L*) เท่ากับ 62.29 + 0.22 ค่า a* เท่ากับ -2.44 + 0.06 และค่า b* เท่ากับ -5.85 + 0.06 หลังจากนั้นนำมาทดสอบการย้อมสีกับตอกไม้ไผ่โดยปัจจัยที่ทำการศึกษา คือ ชนิดของสารช่วยติด แปรเป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย สารส้ม และเกลือแกง และศึกษาระยะเวลาในการแช่สารช่วยติด แปรเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย 12 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง จะได้ทั้งหมด 4 สิ่งทดลอง เมื่อนำมาทดสอบค่าสี พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารส้มเป็นสารช่วยติดและใช้ระยะเวลาในการแช่สาร 24 ชั่วโมง มีคุณสมบัติในด้านของสีผลิตภัณฑ์ดีที่สุด โดยมีค่า L* เท่ากับ 74.02 + 0.50 ค่า a* เท่ากับ 5.04 + 0.35 และค่า b* เท่ากับ 5.99 + 0.36 ซึ่งมีความเหมาะสมในการนำไปต่อยอดในผลิตภัณฑ์งานจักสานได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
ดุนขุนทด จ. ., คลองสามสิบ ส. ., ตาระเวช ว., & วิศาลศักดิ์กุล โ. . (2024). ผลของการใช้สีย้อมจากกากกาแฟสำหรับย้อมตอกไม้ไผ่ในงานหัตถกรรม. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 3(1), 792. https://doi.org/10.60101/jhet.2024.792
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กองอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีการวัดสี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลนิกา เหลือบจำเริญ. (2553). องค์ประกอบศิลป์ (Composition Art). ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์ บจก.

ขนิษฐา เจริญลาภ, ปทุมทิพย์ ต้นทับทิมทอง, เขมชาติ สุรกุล, โสมวดี ฤทธิโชติ, ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์ และกมลภัทร์ รักสวน. (2555). สิ่งทอสร้างสรรค์ด้วยสีย้อมธรรมชาติจากวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร. สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

นรเทพ โปธิเป็ง,ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม, รัตนพล มงคลรัตนาสิทธิ์. (2563). สมบัติความคงทนของสีและสมบัติทางกายภาพของผ้าฝ้ายที่พิมพ์ซิลค์สกรีนด้วยสีดินแดง. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ, 14(2). https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/240673

วิริยะประกันภัย. (2566, 7 มีนาคม). เคล็ดลับสุขภาพดี:กลิ่นกาแฟ กับประโยชน์สุดฟิน. https://vinsure.viriyah.co.th/blog/coffee-aroma

ศศิธร โนนสังข์ และ สุดาพร ตังควนิช. (2555). การพัฒนาสมบัติของเส้นไหมด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ย้อมด้วยสีธรรมชาติแบบผงจากใบสาบเสือ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (น. 393 – 400).

ศิวพร แก่นจันทร์, และปิยะพร คามภีรภาพพันธ์. (2557). การย้อมผ้าไหมด้วยสีจากกากกาแฟโดยใช้สารสกัดจากเปลือกทับทิมเป็นสารช่วยติด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

Wolaita Sodo University, P. O. Box 128. 2014. A critical review on feed value of coffee waste for livestock feeding. World Journal of Biology and Biological Sciences, 2(5): 072-086