ผลของการใช้สารฟอกขาวในเถาฟักทองสำหรับขึ้นรูปผลิตภัณฑ์งานจักสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของเถาฟักทองและกระบวนการปรับสภาพที่เหมาะสม และทดสอบคุณสมบัติทางเคมี กายภาพของเชือกจากเถาฟักทองสำหรับใช้ในงานจักสาน โดยปัจจัยที่ทำการศึกษาคือ ชนิดของเถาฟักทองโดยแปรเป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย เถาฟักทองสด และเถาฟักทองแห้ง ทำการศึกษาระยะเวลาในการแช่สารฟอกขาว โดยแปรเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 0 , 4 และ 8 ชั่วโมง ในอัตราส่วนสารฟอกขาวต่อน้ำ 1:1 ทำการวางแผนทดลองแฟกทอเรียลแบบสุ่มสมบูรณ์ จะได้ทั้งหมด 6 สิ่งทดลอง ผลการทดลองพบว่า เถาฟักทองแห้งที่แช่สารฟอกขาวเป็นระยะเวลา 4 ชั่วโมง มีคุณลักษณะดีที่สุด โดยมีค่าความชื้น ร้อยละ 28.93 + 1.10 มีค่าความต้านทานแรงดึงเท่ากับ 74.87 + 1.67 มีค่าความสว่าง (L*) เท่ากับ 79.45 + 0.04 ค่าสี (a*) เท่ากับ 1.35 + 0.03 และมีค่าสี (b*) เท่ากับ 1.34 + 0.03 ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับนำเข้าสู่กระบวนการปรับสภาพด้วยกลีเซอรีน ซึ่งปัจจัยที่ทำการศึกษาคือ ระยะเวลาในการแช่กลีเซอรีน แปรเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1 วัน, 2 วัน และ 3 วัน ผลการวิจัยพบว่า สิ่งทดลองที่แช่ด้วยกลีเซอรีนเป็นระยะเวลา 3 วัน มีคุณลักษณะดีที่สุดเหมาะสำหรับนำไปใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์งานจักสานต่อไป โดยมีค่าความต้านทานแรงดึงเท่ากับ 95.85 + 0.34 นิวตัน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
โครงการหลวง. (2533). คู่มือส่งเสริมการปลูกพืชผักบนที่สูงในประเทศไทย. เชียงใหม่: ดารารัตน์การพิมพ์.
จินตนา กิจเจริญวงศ์ และยุพเรศ เอื้อตรงจิตต์. (2558). การประเมินการได้รับสัมผัสของซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการบริโภคผักและ
ผลไม้แห้งนำเข้าจากต่างประเทศของคนไทย พ.ศ. 2548-2557. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 57(1), 58-68.
โชติอนันต์ อินทุใสตระกูล. (2551). สมุนไพรไทย สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. 160 หน้า.
พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์ และ ราชัน แพ่งประเสริฐ. (2560, 15 - 16 มิถุนายน). เชือกกล้วยฟั่น จากหัตถกรรม สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 : Wisdom to the Future : ภูมิปัญญาสู่อนาคต”. (น.437-445). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2548). วัตถุเจือปนในอาหาร. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565, จาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1955/sulfites-ซัลไฟต์?fbclid=IwAR1RyhzHOLo2-IMhPxjw9nntPONPEE_D0AIxbBnHqNg3Mu9p6RGULe6B5BU.
วาสนา สายมา. (2564). การศึกษาและพัฒนารูปแบบงานจักสานไม้ไผ่ลวดลายดั้งเดิม เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบตกแต่งกรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุ บ้านกิ่วแลป่าเป้า อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 119–133. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251021.
สุวัฒน์ สิงห์เทพ, สุภา จุฬคุปต์ และ สุทัศนีย์ บุญโญภาส. (2558). การพัฒนาเชือกผักบุ้งสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 35. (น.2071-2079). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
อุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์, ปิยมาสฐ์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ และสุธาทิพย์ ไชยวงศ์. (2564). ผลของฟักทองบดแห้งต่อประสิทธิภาพการผลิตไข่ไก่และสีของไข่แดงในสูตรอาหาร ไก่ไข่ปลดระวาง. วารสารแก่นเกษตร, ฉบับพิเศษ(1), 64 - 67.
Kapook. (2564, 5 พฤษภาคม). ฟักทอง เทคนิคปลูกฟักทองง่าย ๆ ได้ผลผลิตดีงาม. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก https://home.kapook.com/view238302.html.
Murkovic, M., U. Mulleder, and Neunteufl, H. (2002). Carotenoid content in different varieties of pumpkins. Journal of Food Composition Analysis, 15: 633–638.
WordPress. (2559, 6 ตุลาคม). ภูมิปัญญาไทย…การจักสาน. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566, จาก https://project43687.wordpress.com/ความเป็นมาของเครื่องจั/