ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุลูสพาร์ทส์ที่มีผลต่อพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

วรรณวิภา คำเมือง
ศุภมาศ ลิ้มวัฒนพงศ์
พรศิริ แสนตุ้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 และเปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุลูสพาร์ทส์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนอายุระหว่าง 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ห้องอนุบาล 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี จำนวน 35 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้แบบแผนการทดลอง One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุลูสพาร์ทส์ จำนวน 24 แผน แบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าคะแนนเฉลี่ย และการทดสอบค่าทีแบบ t – test Dependent


ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนการทดลอง มีพฤติกรรมความร่วมมือ รายด้านทุกด้าน และโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลอง พฤติกรรมความร่วมมือรายด้านทุกด้าน และโดยรวมอยู่ในระดับดี และ 2. หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุลูสพาร์ทส์ พบว่า นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีพฤติกรรมความร่วมมือรายด้านทุกด้าน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
คำเมือง ว. ., ลิ้มวัฒนพงศ์ ศ. ., & แสนตุ้ม พ. (2024). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้วัสดุลูสพาร์ทส์ที่มีผลต่อพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 3(2), 25–36. https://doi.org/10.60101/jhet.2024.927
บท
บทความวิจัย

References

กรณ์ชพัฒน์ ดำรงค์ไชย. (25 พฤศจิกายน 2557). ความร่วมมือ. https://kaipopok.wordpress.com/2014/11/252/ความร่วมมือ/

กัญญณัฐ พลอยกระจ่าง ราชันย์ บุญธิมา และ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2557). พฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด

กิจกรรมการปั้นแบบกลุ่ม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 85-93.

กุลชาติ พันธุวรกุล. (2563). การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยวัสดุเหลือใช้เพื่อส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(1), 130-145.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2550). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊คส์.

ณัฐกมล ระภานุสิทธิ์, อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์ และมานะ ปิยะวัณเวช (2566) ผลของการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(4), 101-114

ณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ (2563). การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. Journal of Modern Learning Development, 5(2), 40-54.

ณัฐรุจา ท่าโทม (2565) ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา

ดรุณี เปลื้องทุกข์, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทรและปัทมาวดี เล่ห์มงคล (2566) ผลการจัดกิจกรรมกระดานที่มีต่อทักษะการทํางานร่วมกันของเด็กปฐมวัย. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(8), 84-96.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนิษฐา แจ่มอุทัย, สุพจน์ เกิดสุวรรณ์, และทองปาน บุญกุศล. (2564). ทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการเล่านิทาน. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104),165-173

ธนันญา ธีระธนานนท์ ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร และปัทมาวดี เล่ห์มงคล (2566). ผลการจัดกิจกรรมการเล่นสื่อวัสดุปลายเปิดที่มีต่อทักษะความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย. Journal of Inclusive and Innovative Education, 7(2), 75-89.

พิไลพร สุภาพันธ์และ ชุติกานต์ เอี่ยวเล็ก (2564) ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแบบกลุ่มที่มีผลต่อพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัย รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1

ไพรินทร์ บุหลัน, พวงพิศ เรืองศิริกุล, และ ชวนชม เครือเขียว. (2564). ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมด้านความร่วมมือโดยใช้ กิจกรรมสร้างสรรค์งานประดิษฐ์เศษวัสดุชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(4), 32-42

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม็ค.

วราลี โกศัย. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(2), 88-101.

วัชรีย์ ร่วมคิด, ปวีณา เที่ยงพรม, และ ธนาพูน วงค์ษา (2566). ผลของการใช้กิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ผลของการใช้กิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(4), 128-142.

สายชน วงสานน. (2547). การพัฒนาพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด

Aussie Childcare Network. (2022). Benefits Of Creative Arts For Children In Early Childhood Services. Retrieved from https://aussiechildcarenetwork.com.au/

Duncan, J., Martin, S., & Haughey, S. (2018). Loose parts play: A toolkit. Scotland's Play Strategy.

Eisner, E. W. (2002). The arts and the creation of mind. Yale University Press.

Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (2009). An educational psychology success story: Social interdependence theory and cooperative learning. Educational Researcher, 38(5), 365-379.

Loose Parts Nature Play. (2023). Building creativity one leaf and bolt at a time!. Retrieved from https://loosepartsnatureplay.org

Nicholson, S. (1972). The theory of loose parts: An important principle for design methodology. Studies in Design Education Craft & Technology, 4(2), 5-14.

Novak Djokovic Foundation. (2023). The Importance of Creative Arts in Early Childhood Education. Retrieved from https://novakdjokovicfoundation.org/