การเพิ่มมูลค่าเสื้อผ้ามือสองด้วยแนวคิดดีคอนสตรัคชั่น (Deconstruction)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การเพิ่มมูลค่าเสื้อผ้ามือสองด้วยแนวคิดดีคอนสตรัคชั่น (Deconstruction) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบเสื้อผ้ามือสองโดยใช้แนวคิดดีคอนสตรัคชั่น เพื่อเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืนในอุตสาหกรรมแฟชั่น
ผลการออกแบบการนำเสื้อผ้ามือสองกลับมาเพิ่มมูลค่าด้วยแนวคิดดีคอนสตรัคชั่น สามารถสรุปแนวคิดดีคอนสตรัคชั่น ในแนวทางการนำไปใช้กับการออกแบบเสื้อผ้า จึงหมายถึง การนำเสื้อผ้ากลับมาคลี่โครงสร้างใหม่ แล้วทำการประกอบสร้างใหม่ด้วยแนวคิดใหม่ของนักออกแบบแฟชั่น เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถให้เกิดการใช้งานเสื้อผ้าชิ้นใหม่ตามความต้องการ โดยการใช้เทคนิคตามความถนัด ถือเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะอีกแขนงที่สะท้อนอัตลักษณ์ของศิลปินบนผืนผ้าได้อย่างเฉพาะตัว จนกลายเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าที่สามารถนำเสนอบนร่างกายของผู้คนได้ สำหรับการศึกษาแบรนด์เสื้อผ้าที่มีแนวคิด Deconstruction จำนวน 5 แบรนด์ คือ COMME des GARÇONS, Yohji Yamamoto, Andreas Kronthaler for Vivienne Westwood, Dry Clean Only, และ La Rocca พบว่า ทั้ง 5 แบรนด์ มีแนวทางการผลิตเสื้อผ้าที่เหมือนกันโดยประกอบด้วยแนวคิดการรื้อสร้าง แนวคิดตัดปะ และแนวคิดเอากลับมาทำใหม่ ผู้วิจัยจึงสรุปแนวคิดด้วยการทำ Moodboard และได้สร้างสรรค์ผลงานโดยในการศึกษาและออกแบบในครั้งนี้ ได้จัดทำเสื้อผ้า 1 คอลเลคชั่น จำนวน 6 ชุด นำภาพการออกแบบเสื้อผ้าจากผ้ายีนส์มือสอง จำนวน 6 ชุด โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 5 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตัดเย็บจำนวน 3 คน และด้านการออกแบบจำนวน 2 คน โดยทั้ง 6 ชุด ผ่านการประเมินในระดับดี สามารถผลิตเป็นเสื้อผ้าได้ จึงนำผ้ายีนส์มาทำการตัดเย็บ มีขั้นตอนการตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวน 7 ขั้นตอน คือ 1) ร่างแบบ 2) เลือกผ้ายีนส์มือสอง 3) ทำความสะอาดและตากให้แห้ง 4) ตัดผ้ายีนส์และวางแบบตัดต่อผ้า 5) เย็บผ้าตาม 6) ลองชุดกับนางแบบ 7) ถ่ายแบบ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
จิดาภา บุญเมือง. (2566, 29 สิงหาคม). Fashion 101: Deconstruction เมื่อการ “รื้อถอน” กลายเป็นศิลปะในโลกแห่งแฟชั่น.
Fashion 101: Deconstruction...เมื่อการ “รื้อถอน” กลายเป็นศิลปะในโลกแห่งแฟชั่น! - L'Officiel Thailand (lofficielthailand.com)
จี๊ด เมืองสิริขวัญ. (2564, 14 มีนาคม). COMME des GARÇONS. เมื่อแบรนด์ขบถในโลกแฟชั่นจากฝั่งตะวันออกปฏิวัติโลกแฟชั่นตะวันตก.
https://adaymagazine.com/comme-des-garcons/
ชวิศา เชยจรรยา และวิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์. (2564). แฟชั่นยั่งยืน: การรับรู้และวิถีปฏิบัติจากประเทศไทย. วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 15(1), 81-106.
ชุติภาส อุดมสุด. (2560). การศึกษาทัศนคติของกลุ่มชายรักชาย (เกย์) ที่มีผลต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมเพื่อการส่งเสริมสถานะทางสังคม, การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ฐาปนี ทรัพยสาร. (2562, 18 เมษายน). Heartmade by Hands.
La Rocca แบรนด์ที่คืนชีพเสื้อผ้าใกล้ตายจนมาแรงขนาดชาวต่างชาติบินตรงมาซื้อโดยเฉพาะ - The Cloud (readthecloud.co)
ณัฐภูมิ ผิวอ่อน และจิรัชญา วันจันทร์. (2565). การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี ด้วยแรงบันดาลใจจากร่องรอยของโรคด่างขาว. วารสาร ศิลปกรรมสาร, 15(1), 1-17.
บรรณวิทิต จิตชู. (2560). การออกแบบเครื่องตกแต่งกายจากเสื้อผ้ามือสอง แนวคิดสตรีทแฟชั่น (Street Fashion). [ศิลปนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ภานุ แสง-ชูโต. (2561). การรื้อสร้างภาพยนตร์ศิลปะ: หน่วยความทรงจำวัยเด็กของฉัน. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
รังสรรค์ นัยพรมศ. (2562). การเมืองวัฒนธรรมกับการรื้อสร้างวรรณศิลป์ในวรรณคดีลาว. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ราวิน รุ่งสว่าง และศิวรี อรัญนารรถ. (2564). การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นจากนวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า สำหรับกลุ่มแอนโดรจีนัสเมล (Androgynous Male). วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 8(1), 59-80.
ศินีนาถ ศรีบุรัมย์. (2563, 23 เมษายน). ปรัชญาปฎิรูปนิยม (Recondtructionism). https://www.gotoknow.org/posts/677142
สุรเกียรติ รัตนอำนวยศิริ. (2565). ทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง สู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัย. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 25(2), 51-69.
Bunka Fashion School. (มปป.). Yohji Yamamoto.
https://www.bunkafashion.com/yohji-yamamoto/
Ida Marie Sandvik and Wendy Stubbs. (2019). Circular fashion supply chain through textile-to-textile recycling. Journal of fashion marketing and management. 23(3). 366-381.
Kaikobad, N. K., Bhuiyan, M. Z. A., Sultana, F., & Rahman, M. (2015). Fast fashion: Marketing, recycling and environmental issues. International Journal of Humanities and Social Science Invention, 4(7), 28-33.
Najmul Kadir Kaikobad, Md. Zafar Alam Bhuiyan, Farhana Sultana and Mahmudur Rahman. (2015). Fast fashion: marketing, recycling and environmental issues. International Journal of humanities and social science invention, 4(7). 28-33.
Nirvana. (2562). Deconstruction แนวคิดสร้างความแตกต่าง แห่งสถาปัตยกรรม.
Deconstruction แนวคิดสร้างความแตกต่าง แห่งสถาปัตยกรรม | Nirvana Daii (nirvanadevelopment.co.th)
Siam center. (2024). Dry Clean Only.
https://www.siamcenter.co.th/trendupdate/Dry-Clean-Only--A-Rebellious-Mind-with-Unique-Design/215
Thada. (2559, 19 กุมภาพันธ์) Yohji Yamamoto ดีไซเนอร์ที่ได้แรงบันดาลมาจากความสูญเสีย และโศกเศร้า
https://www.unlockmen.com/yohji-yamamoto/
XueYang. (2024). Sustainable Strategy Management of Waste Textile Circular Economic in Fashion Brand Ganzhou Jiangxi the People’s Republic of Chian. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี (Online), 10(2). 144-160.