จริยธรรมในการตีพิมพ์
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Author)
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดจากการทำวิจัย ไม่บิดเบื่อนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
3. ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของต้นฉบับในทุกกรณี
4. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานวิจัยของผู้อื่น หากมีการนำเสนอผลงานเหล่านี้มาใช้ในผลงานตนเองจะต้องอ้างอิง และทำการอ้างอิงท้ายบทความ
5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องมีส่วนในการดำเนินงานาวิจัยจริง และมีความเห็นชอบในการส่งบทความจากผู้ร่วมนิพนธ์ (ถ้ามี)
6. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนดและต้องมั่นใจว่ารายละเอียดทุกส่วนในบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารถูกต้อง และต้องมั่นใจว่ารายละเอียดทุกส่วนในบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารถูกต้อง และเป็นไปตามหลักจริยธรรมที่ได้รับการยอมรับ
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ และตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ
2. บรรณาธิการวารสารต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านความซ้ำซ้อน หรือการคัดลอกผลงานผู้อื่น(Plagiarism)โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือ หากตรวจสอบบทความซ้ำซ้อนหรือการคัดลอกผลงานบรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจงเพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ”การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
3. บรรณาธิการวารสารต้องตัดสินใจเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้วโดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร
4. บรรณาธิการวารสารต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
5. บรรณาธิการวารสารต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจในบทความ บรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้งโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้นิพนธ์
6. บรรณาธิการวารสารต้องไม่มีผลประโยชน์กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมบริหาร บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการขั้นตอนต่างๆของวารสารอย่างเคร่งครัดและโปร่งใส
7. บรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณา แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างขั้นตอนการประเมิน
2. ผู้ประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดส่วนตัว
3. ผู้ประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน และเมื่อตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
4. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานวิชาการที่รับประเมินอย่างแท้จริง
5. ผู้ประเมินบทความตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมินเป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบทันที
6. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารกำหนด