เกี่ยวกับวารสาร

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน (Science and Technology to Community)

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มีเป้าหมายและขอบเขต (Aim and  Scope) ที่รับตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนได้แก่
1) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ได้แก่
     - ชีววิทยา                                - จุลชีววิทยา
     - ชีวเคมี                                   - เทคโนโลยีการอาหาร
     - พืชศาสตร์                             - สัตวศาสตร์
     - ปฐพีวิทยา                             - โรคพืช
     - กีฏวิทยา                               - วาริชศาสตร์
     - การส่งเสริมการเกษตร          - เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และสิ่งแวดล้อม
2) วิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่
     - เคมี                       - ฟิสิกส์              - ดาราศาสตร์
     - วัสดุศาสตร์            - คณิตศาสตร์     - เทคโนโลยีสารสนเทศ
     - วิศวกรรมศาสตร์     - เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 
     - วิทยาศาสตร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 
3) วิทยาศาสตร์สุขภาพ  ได้แก่
     - การสร้างเสริมสุขภาพ          - การพัฒนาสุขภาพชุมชน
     - อนามัยสิ่งแวดล้อม              - อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 
     - สารสนเทศทางสุขภาพ        - วิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น

ISSN 2822-132X (Print)
ISSN 2822-1338 (Online)

รูปแบบของวารสาร
1. กำหนดออก ปีละ 6 ฉบับ ฉบับละ 5 บทความ
     ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์
     ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน
     ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน
     ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม
     ฉบับที่ 5 กันยายน– ตุลาคม
     ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม
2. บทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ และจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านต่อเรื่อง  โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind Peer Review)
3. ประเภทบทความ
    - บทความวิจัย
    - บทความวิชาการ
4. นโยบายด้านค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งบทความ (เนื่องจากได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)

การเตรียมต้นฉบับบทความ  มีรายละเอียดดังนี้

Download Format ของวารสาร  

รูปแบบการพิมพ์

  1. ตัวอักษร :  ใช้ตัวอักษร  Th Sarabun PSK 

ชื่อบทความภาษาไทยใช้อักษรตัวหนา  ขนาด  20 pt  ชิดซ้าย

ชื่อบทความภาษาอังกฤษอักษรธรรมดาขนาด  ขนาด  20 pt  ชิดซ้าย

ชื่อผู้เขียน  (ทั้งไทยและอังกฤษ)  ใช้อักษรตัวหนา  ขนาด  18 pt  ชิดขวา

หน่วยงานผู้เขียน  (ทั้งไทยและอังกฤษ)  ใช้อักษรธรรมดา ขนาด  16 pt  ชิดขวา

E-Mail และเบอร์โทร ใช้อักษรธรรมดา ขนาด  16 pt  ชิดขวา

หัวข้อหลักใช้อักษรตัวหนา  ขนาด  18 pt 

เนื้อเรื่องใช้อักษรตัวปกติ  ขนาด  16 pt 

  1. การตั้งค่าหน้ากระดาษ :  บนและซ้าย  ขนาด  1  นิ้ว  ล่างและขวาง  ขนาด  1  นิ้ว
  2. ความยาวของเนื้อหา :  ไม่เกิน  15  หน้า  รวมตารางรูปภาพ  และเอกสารอ้างอิง
  3. รูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษในเนื้อเรื่องภาษาไทย :
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ คำขึ้นต้นให้ใช้อักษรตัวใหญ่ และใช้ตัวอักษรเอียง เช่น Uglena acus
  • ชื่อเฉพาะให้ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ทุกคำ เช่น Berdmann, Lemmermann
  • ภาษาอังกฤษทั้งในและนอกวงเล็บให้ใช้ตัวเล็ก เช่น Random complete block design
  • ตัวย่อให้ใช้อักษรตัวใหญ่ทั้งหมด และควรมีคำเต็มบอกไว้ในการใช้ครั้งแรก เช่น (Random complete block design: RCBD)

การเรียงลำดับเนื้อหา  

  1. ชื่อเรื่อง (Title) : ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษเฉพาะตัวอักษรแรกของชื่อเรื่องเท่านั้นที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital letter)  นอกนั้นใช้ตัวพิมพ์เล็ก  ยกเว้นชื่อเฉพาะ
  2. ชื่อผู้วิจัย : ระบุชื่อ สกุล ของผู้วิจัยหลักและผู้ร่วมวิจัย โดยระบุสถานที่ทำงานหรือหน่วยงานที่สังกัดและอีเมล ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเบอร์โทรศัพท์
  3. บทคัดย่อ (Abstract) : (ภาษาไทยก่อนและตามด้วยภาษาอังกฤษ, กรณีเป็นบทความภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย) เป็นการสรุปสาระสำคัญ  ประเภทวิจัย  วัตถุประสงค์  วิธีดำเนินการวิจัย  สรุปผลการวิจัยที่กระชับและชัดเจน และองค์ความรู้ใหม่ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งสิ่งที่จะส่งผลต่อสังคม ชุมชนท้องถิ่น  ระบุตัวเลขสถิติที่สำคัญ  ใช้ภาษารัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์และเป็นร้อยแก้ว  ไม่แบ่งเป็นข้อๆ โดยบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษขนาด A4 และให้ระบุคำสำคัญ (Keywords) ไว้ท้ายบทคัดย่อในแต่ละภาษา
  4. บทนำ (Introduction) : ให้เขียนอธิบายความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่ได้รับ
  5. ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) : อธิบายถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองและอธิบายวิธีการศึกษาทดลอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
  6. ผลการวิจัย (Results) : การเขียนเสนอผลการศึกษาควรกระชับและแสดงการวิจัยถึงผลที่ชัดเจน หากมีตาราง กราฟ หรือรูปภาพให้มีเนื้อหาหรือวิธีการอธิบายประกอบ
  7. การอภิปรายผล (Discussions) : การเขียนอภิปรายผลการศึกษา เป็นการชี้แจงผลการวิจัยว่าตรงตามวัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่ อย่างไร ด้วยเหตุผลใด เปรียบเทียบหรือตีความเพื่อเน้นความสำคัญของงานและสรุปให้เข้าใจง่ายที่สุด
  8. บทสรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Suggestions) : ให้เขียนสรุปสาระสำคัญของผลงานวิจัยว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยเน้นถึงปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญ ตลอดจนข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
  9. องค์ความรู้ใหม่และผลที่เกิดต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่น (New knowledge and the effects on society local and communities) : ให้เขียนสรุปองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นและผลที่เกิดต่อสังคม ชุมชน ท้องถิ่น
  10. กิตติกรรมประกาศหรือคำขอบคุณ (Acknowledgement) : อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ โดยเป็นการแสดงความขอบคุณผู้ช่วยเหลือในงานวิจัยแต่ไม่ได้เป็นผู้ร่วมในงานวิจัย
  11. เอกสารอ้างอิง ควรมีไม่ต่ำกว่า 10 รายการ และควรเป็นปัจจุบันให้มากที่สุด

การอ้างอิงแบบแทรกปนไปกับเนื้อหา : เนื้อหาบทความใช้ระบบการอ้างอิงแบบนามปี  (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์)  ตัวอย่างเช่น  ....ลมุล  รัตตากร (2529)  ได้กำหนดคุณสมบัติของ………

 

รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิง

การเขียนเอกสารอ้างอิงให้เรียงเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการที่อ้างอิง โดยเรียงลำดับแบบพจนานุกรม และให้เรียงภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ มีรูปแบบการเขียนแบบ  APA 6 ประยุกต์(American Psychological Association) ดังนี้

  1. หนังสือ

ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

สีลาภรณ์ บัวสาย. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

Courtney, T. K. (1965).  Physical Fitness and Dynamic Health. New York: McGrew-Hill Inc.

  1. วารสาร (อางอิงวารสารที่มีความทันสมัย/เปนปจจุบันมากที่สุด)

ชื่อ สกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าเริ่มต้น-เลขหน้าสิ้นสุด.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2531). การปฏิรูปหลักสูตรมหาวิทยาลัยในประเทศที่กำลังพัฒนา. อุดมศึกษา, 13 (34), 14-20.

Elmastas, M., O. lsildak, I. Turkekal and N. Temar. (2007). Determination of antioxidant activity and antioxidant compounds inwild edible mashroom. Food Composition and analysis, 20(1), 337-345.

  1. วิทยานิพนธ์ (หากเรื่องนั้นมีบทความในวารสารให้ใช้การอ้างอิงจากวารสาร)

ชื่อ  สกุล. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าแบบอิสระ. (ระดับวิทยานิพนธ์ / การค้นคว้าแบบอิสระ คณะ).  สถาบันการศึกษา. จังหวัด.

ยุรีพรรณ  แสนใจยา. (2545). แนวทางการพัฒนาไร่ชาสุวิฬุห์ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงรายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  บัณฑิตวิทยาลัย).  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

  1. เอกสารวิชาการอื่นๆ

ชื่อ สกุล ผู้เขียนหรือหน่วยงาน. (ปีที่พิมพ์).  ชื่อเรื่องหรือชื่อหนังสือ. ประเภทของเอกสาร. สถาบันหรือหน่วยงานที่จัดพิมพ์. สถานที่พิมพ์.

คณะกรรมการอำนวยการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย. (2549). คู่มือคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร.

  1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อางอิงเฉพาะขอมูลที่ทันสมัย/เป็นปัจจุบัน เช่น สถิติจํานวนประชากร เปนตน)

ชื่อ  สกุล.  (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. สืบค้นจาก ชื่อ website      

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร 2562. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014

 

การส่งต้นฉบับ

จัดส่งต้นฉบับที่พิมพ์ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสาร

ที่เว็บไซต์  https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/index

 

การประเมินบทความต้นฉบับ  

ต้นฉบับจะต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ  ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสังกัดของเจ้าของบทความ และจากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านต่อเรื่อง  โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind peer review)  วารสารจะเป็นผู้สรรหา เพื่อรับการประเมิน กรณีมีการแก้ไขวารสารจะส่งผลการอ่านประเมินคืนผู้เขียนให้เพิ่มเติม แก้ไข หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี

 

หมายเหตุ

  1. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
  3. นโยบายด้านค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งบทความ (เนื่องจากได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)